คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณาคดีทหาร แม้ประทับฟ้องไปแล้ว หากทราบสถานะทหารก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและให้ส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องให้แก่จำเลยที่โรงเรียนพลาธิการโดยยืนยันว่าเป็นสถานที่จำเลยรับราชการทหารอยู่ จำเลยยื่นคำร้องและให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลพลเรือนด้วยเหตุจำเลยรับราชการทหาร ดังนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลชั้นต้นตั้งแต่บัดนั้นแล้วว่า จำเลยเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการจำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯมาตรา 16(1) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีจำเลยก่อนมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดหลงที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในเวลาต่อมาภายหลังนั้นเป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดพลาดให้ถูกต้องหาใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งประทับฟ้องไว้ในขณะที่ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลทหาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การระบุอาชีพจำเลยในคำฟ้องมีผลต่ออำนาจพิจารณาคดี แม้ภายหลังจะอ้างเป็นข้าราชการ
ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ระบุอาชีพของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นข้าราชการบำนาญ จำเลยทราบคำฟ้องแล้วมิได้คัดค้านโต้แย้งทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยของจำเลยอันพึงต้องกระทำ จึงถือได้ว่าจำเลยมิใช่บุคคลที่อยู่ ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิดตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(1) ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ประทับฟ้องแล้วดำเนินคดีต่อมาตามขั้นตอนแม้จะปรากฏจากฎีกา ของจำเลยในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลล่างทั้งสองซึ่งเป็นศาลพลเรือนด้วยกันก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯมาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5318/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นทหาร แต่มีพวกที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา
แม้จำเลยจะเพิ่งยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างในชั้นฎีกาว่า ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยจะต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร แต่เมื่อปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง,225
จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นนายทหารประทวนมียศสิบเอก เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(3) และโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวแม้จะมีพวกของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าอยู่นอกอำนาจศาลทหาร โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ปัญหานี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังหลบหนี โดยไม่ได้ระบุว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยไม่เคยโต้แย้งว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยอ้างในฎีกาเพียงว่า ไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่นอกอำนาจศาลทหาร หรืออีกนัยหนึ่งคือพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารซึ่งเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยปราศจากหลักฐาน รับฟังไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็จะถือว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารกับพวกของจำเลยที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน อันเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 14(1) ศาลแขวงดุสิตซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการและจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของนายทหาร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งต่อ ศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่ เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมา เป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการจำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3)ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วย ข้อยกเว้นตาม มาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ตาม มาตรา 13.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จเป็นพยานหลักฐาน ไม่ใช่คดีเกี่ยวพันกับคดีแพ่ง
การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งมาฟ้องเป็นคดีอาญา หาใช่เป็นคดีเกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3) และไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 ดังนี้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้รับคดีไว้พิจารณาหมายความว่าให้รับคดีนี้ไว้ไต่สวนมูลฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 162(1) ยังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นประทับฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จะถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งต่อศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหารลงโทษละเมิดอำนาจศาล: ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
การกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 ถึง มาตรา 33นั้น หากมีความจำเป็นจะต้องใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใด ก็เป็นอำนาจของศาลที่พิจารณาคดีนั้นที่จะใช้อำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว
การที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดอุดรธานี)ลงโทษผู้ขอประกันฐานละเมิดอำนาจศาลในการพิจารณาคดี ย่อมเป็นการลงโทษในกรณีที่ผู้ขอประกันละเมิดอำนาจศาลทหาร ไม่ใช่ละเมิดอำนาจศาลพลเรือน คำสั่งลงโทษดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งของศาลทหาร ศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์ของผู้ขอประกันไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาของทหารประจำการตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร โดยดูสถานะ ณ วันกระทำผิด
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13, 16 (3) กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า ทหารประจำการทำผิดคดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
แม้ตามคำฟ้องจะมีชื่อจำเลยว่า สิบเอกประยุทธ และทางไต่สวนมูลฟ้องจะปรากฏในคดีอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานว่า จำเลยมียศเป็นสิบเอก เป็นข้าราชการสังกัดกรมแพทย์ทหารบกก็ตาม แต่เป็นยศและหลักฐานประจำการก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏตามคำฟ้องหรือทางไต่สวนมูลฟ้องว่า ขณะกระทำผิดจำเลยยังคงเป็นทหารประจำการอยู่ ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วซึ่งถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยจึงยื่นคำร้องและแสดงหลักฐานซึ่งรับฟังได้ว่า จำเลยยังรับราชการเป็นนายทหารชั้นประทวนประจำการ จึงเป็นการที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาของทหารประจำการตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร และผลต่อการพิจารณาของศาลพลเรือน
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 13,16(3)กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า ทหารประจำการทำผิดคดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
แม้ตามคำฟ้องจะมีชื่อจำเลยว่า สิบเอกประยุทธ และทางไต่สวนมูลฟ้องจะปรากฏในคดีอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานว่าจำเลยมียศเป็นสิบเอก เป็นข้าราชการสังกัดกรมแพทย์ทหารบกก็ตาม แต่เป็นยศและหลักฐานประจำการก่อนเกิดเหตุคดีนี้เมื่อไม่ปรากฏตามคำฟ้องหรือทางไต่สวนมูลฟ้องว่า ขณะกระทำผิดจำเลยยังคงเป็นทหารประจำการอยู่ ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วซึ่งถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยจึงยื่นคำร้องและแสดงหลักฐานซึ่งรับฟังได้ว่า จำเลยยังรับราชการเป็นนายทหารชั้นประทวนประจำการ จึงเป็นการที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
of 2