พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และขอบเขตการใช้ดุลพินิจในการฎีกา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย คดีที่จำเลยนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ และมีผู้อื่นร้องขัดทรัพย์ก็ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีร้องขัดทรัพย์ต่อไปหรือไม่ยอมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของจำเลย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การโอนที่ดินตามสิทธิเดิมชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่ จ. โดยให้ จ. ชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญา การที่ จ. ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ทั้งจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจให้แก่ จ. ไปดำเนินการโอนที่ดินก่อนศาลชั้นต้น มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงเป็นการที่ จ. ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนแล้ว คงเหลือแต่เฉพาะหน้าที่ของจำเลยที่ต้องดำเนินการโอนที่ดินให้แก่ จ. ถือว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษาที่ จ. จะรับไปเพียงฝ่ายเดียว จำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ใด ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือตามคำพิพากษาดังกล่าวอีก กรณีมิใช่สิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่พึงได้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิดังกล่าว เช่นนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 22 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านไม่คัดค้านคำร้องขอให้ถอนการยึดในคดีแพ่งและมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการโอนที่ดินให้แก่ จ. ตามสิทธิที่ จ. มีอยู่ตามคำพิพากษาของศาลจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว และกรณีดังกล่าวนี้ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 145(1) ถึง (5) จึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายเดียวที่ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขชำระหนี้จำนองโดยบุคคลภายนอก
ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินโดยให้บริษัทร. ลูกหนี้ของผู้ล้มละลายถือกรรมสิทธิ์แทน และบริษัทร. ได้นำไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ล้มละลายเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของบริษัทร. ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความทวงหนี้ให้บริษัทร. ชำระหนี้ผู้ร้องจึงขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้โดยขอผ่อนชำระหนี้จำนองนั้นเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อื่นยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองแก่ผู้ล้มละลาย เมื่อการเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าจะขัดกับเจตนาของบริษัทร. และผู้ล้มละลายแล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้แทนบริษัทร. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 และมาตรา 314 กรณีไม่ใช่เรื่องการขอประนอมหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ล้มละลายโดยเฉพาะ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัทร. แก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย ชอบที่ศาลจะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 32 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย: มติที่ประชุมเจ้าหนี้ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้
แม้การขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทของจำเลยจากจ. กับพวกผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114จะเป็นอำนาจของผู้ร้องแต่หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็เพิกถอนการโอนไม่ได้จึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินแทนการโอนที่ดินพิพาทแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา145ประกอบด้วยมาตรา41เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาลเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบและแม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง57รายแต่มีเจ้าหนี้มาประชุม15รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ. จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตามมาตรา36ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย: มติที่ประชุมเจ้าหนี้ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอนและจำเลยผู้โอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาลผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตามแต่เมื่อคดียังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา114หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็เพิกถอนการโอนไม่ได้กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000บาทแทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา145ประกอบด้วยมาตรา41การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวและเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา32ดังนี้เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาลซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความกับ จ. จึงหาเป็น ล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง57รายแต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม15รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่ ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน2,375,000บาทและได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000บาทแสดงว่า จ.รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน1,200,000บาทแล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีกโดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้4,400,000บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินและค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้เมื่อ จ.รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา36ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีล้มละลาย: มติเจ้าหนี้อนุมัติการประนีประนอมยอมความกับผู้รับโอนทรัพย์สิน และการพิจารณาประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอน และจำเลยผู้โอน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 114 แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาล ผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบี้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตาม แต่เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา 114 หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ก็เพิกถอนการโอนไม่ได้ กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000 บาท แทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลย เป็นการขอประนีประนอมยอมความ ซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 145 ประกอบด้วยมาตรา 41 การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว และเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 32 ดังนี้ เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาล ซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอม-ยอมความกับ จ. จึงหาเป็นล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่ แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง 57 ราย แต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม 15 รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่
ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน 2,375,000 บาท และได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000 บาท แสดงว่า จ. รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน 1,200,000 บาท แล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีก โดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้ 4,500,000 บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดิน และค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้ เมื่อจ. รับโอนโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย อันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 36 ได้
ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน 2,375,000 บาท และได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000 บาท แสดงว่า จ. รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน 1,200,000 บาท แล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีก โดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้ 4,500,000 บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดิน และค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้ เมื่อจ. รับโอนโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย อันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 36 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย และการไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
การขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่เพิกถอนการโอนทรัพย์สินดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไปหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการใดได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว มีแต่เฉพาะการกระทำตามมาตรา 145(1) ถึง (5)เท่านั้น แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการสละสิทธิตามมาตรา 145(3) จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้เสียก่อน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และจำกัดสิทธิของลูกหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนสัญญายกให้ระหว่างโจทก์กับ พ.และพ. ได้ขายและโอนให้จำเลยที่ 1ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนโจทก์ล้มละลาย ถือว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ผู้ล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะ และเป็นการกระทำในฐานะแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ใช่กระทำแทนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลย หรือลูกหนี้ผู้ล้มละลาย และการที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนการโอนนั้นก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เช่นกัน เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ถอนคำขอรับชำระหนี้ และศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว ดังนี้ อำนาจที่จะบังคับคดีต่อไปของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงหมดไป โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยลูกหนี้ในคดีล้มละลายไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย เพราะมิฉะนั้นเท่ากับโจทก์เป็นผู้ทำการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งหมดอำนาจไปแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3264/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเข้าว่าคดีและขอถอนอุทธรณ์ แม้มิใช่คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
เมื่อลูกหนี้ถูกผู้ชำระบัญชีร้องขอต่อศาลให้ล้มละลาย และศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจเข้าว่าคดีหรือดำเนินคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล และมีอำนาจขอให้ศาลงดการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวตลอดทั้งการขอถอนฟ้องสำหรับกรณีที่ลูกหนี้เป็นโจทก์ได้
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อลูกหนี้เป็นเหตุให้ลูกหนี้ได้รับความเสียหาย แม้ลูกหนี้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอถอนอุทธรณ์.โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการลูกหนี้
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อลูกหนี้เป็นเหตุให้ลูกหนี้ได้รับความเสียหาย แม้ลูกหนี้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอถอนอุทธรณ์.โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3264/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขอถอนอุทธรณ์ คดีละเมิดที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
เมื่อลูกหนี้ถูกผู้ชำระบัญชีร้องขอต่อศาลให้ล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจเข้าว่าคดีหรือดำเนินคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล และมีอำนาจขอให้ศาลงดการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าว ตลอดทั้งการขอถอนฟ้องสำหรับกรณีที่ลูกหนี้เป็นโจทก์ได้
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อลูกหนี้เป็นเหตุให้ลูกหนี้ได้รับความเสียหาย แม้ลูกหนี้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย ก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอถอนอุทธรณ์.โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการลูกหนี้
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อลูกหนี้เป็นเหตุให้ลูกหนี้ได้รับความเสียหาย แม้ลูกหนี้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย ก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอถอนอุทธรณ์.โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการลูกหนี้