พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัว และการยินยอมโดยปริยายต่อการนำเงินจากการขายทรัพย์สินไปใช้เลี้ยงดูบุตร
โจทก์ยกที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลง ให้แก่จําเลย มิใช่ให้จําเลยถือครองที่ดินแทนโจทก์ และตามสำเนาโฉนดที่ดินระบุว่า โจทก์ได้รับที่ดินโฉนดเลขที่ 30376 ดังกล่าวมาโดยการรับโอนมรดก ที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จําเลยโดยไม่ได้ระบุว่า ให้เป็นสินสมรส ที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของจําเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) และ 1474 (2) จําเลยย่อมเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินดังกล่าวได้เอง ตามมาตรา 1473 ดังนั้น การที่จําเลยจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัท ผ. ไปในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 นิติกรรมการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยไม่จําต้องพิจารณาว่า โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการขายที่ดินของจําเลยหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์ได้จดทะเบียนให้ที่ดินดังกล่าวแก่จําเลยในระหว่างสมรส อันเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกล้างเสียในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ก็ตาม แต่เมื่อจําเลยได้ขายที่ดินไปเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ประกอบกับหลังจากปี 2559 โจทก็ไม่ได้ส่งค่าเลี้ยงดูบุตรให้แก่จําเลย เนื่องจากจําเลยผิดข้อตกลงเรื่องหย่า และโจทก์คิดว่าจําเลยมีเงินส่งเสียบุตร เพราะจําเลยขายที่ดินที่โจทก์ยกให้ไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ตกลงยินยอมโดยปริยายให้นําเงินที่ได้จากการขายที่ดินเป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูจําเลยและบุตรของโจทก์ เฉพาะอย่างยิ่งบุตรโจทก์กําลังศึกษาอยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงไม่เป็นกรณีที่โจทก์จะฟ้องขอให้จําเลยคืนเงินที่ได้รับจากการขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10159/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: การติดตามสินสมรสส่วนของโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับ
ตามบันทึกข้อตกลงการหย่าและแบ่งสินสมรส ฝ่ายชายให้บุตรทั้งสองอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของฝ่ายหญิงเพียงผู้เดียว ฝ่ายชายจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสินสมรสทั้งหมดที่ได้ยกให้แก่บุตรทั้งสอง สินสมรสที่มีชื่อฝ่ายชายถือกรรมสิทธิ์ผู้เดียว ฝ่ายชายก็จะโอนเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อฝ่ายหญิงเป็นผู้ครอบครองแทนบุตรทั้งสอง ในส่วนสินสมรสใดซึ่งหากตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้แล้ว ฝ่ายชายตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองคนต่อไปในทันที ก็หมายถึง สินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายชายเท่านั้น หาได้มีข้อความระบุถึงสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังแล้วฝ่ายหญิงตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองแต่อย่างใดไม่ และไม่ได้หมายถึงสินสมรสของทั้งสองฝ่ายดังเช่นที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงที่มีรายละเอียดของสินสมรสที่คู่สัญญาทั้งสองตกลงยกให้แก่บุตรทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงในส่วนที่เป็นสินสมรสของฝ่ายชายคือจำเลยที่ 1 ได้นำไปให้จำเลยที่ 2 แล้ว คงเหลือสินสมรสส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งไม่ได้ตกอยู่ในบังคับข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาสินสมรสส่วนนี้มาเป็นของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14005/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ไม่สามารถฟ้องขอใส่ชื่อร่วมได้
ตามหนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่า ผู้ให้ยอมยกที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับโดยเด็ดขาดนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป เป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเพราะเป็นสามีภริยา แม้หนังสือดังกล่าวจะไม่ได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว แต่การที่โจทก์ยกที่ดิน 8 แปลง ดังกล่าวให้จำเลยก็เพื่อตอบแทนการที่จำเลยยอมยุติปัญหาที่โจทก์ไปมีภริยาอีกคนหนึ่ง จึงแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่า โจทก์ได้ให้เป็นสินส่วนตัวของภริยาเด็ดขาดแล้ว ประกอบกับพฤติการณ์ที่ภายหลังจำเลยและครอบครัวจำเลยได้ใช้ประโยชน์โดยอาศัยอยู่บนที่ดินดังกล่าวเรื่อยมาและมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นเพิ่มเติมโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีการโต้แย้งแต่อย่างใด ที่ดิน 8 แปลง นี้ไม่ใช่สินสมรส โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วย
การที่จำเลยและครอบครัวของจำเลยร่วมดำเนินกิจการของร้าน ม. เพื่อกระทำกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างร่วมกันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งมีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน โดยมีสมาชิกในครอบครัวของจำเลยทุกคนเป็นหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 การที่โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวจะขอใส่ชื่อร่วมในโฉนดที่ดิน 87 แปลง ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น เท่ากับเป็นการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนซึ่งไม่อาจกระทำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1040 เมื่อกรณีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญมิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอใส่ชื่อร่วมได้
การที่จำเลยและครอบครัวของจำเลยร่วมดำเนินกิจการของร้าน ม. เพื่อกระทำกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างร่วมกันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งมีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน โดยมีสมาชิกในครอบครัวของจำเลยทุกคนเป็นหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 การที่โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวจะขอใส่ชื่อร่วมในโฉนดที่ดิน 87 แปลง ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น เท่ากับเป็นการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนซึ่งไม่อาจกระทำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1040 เมื่อกรณีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญมิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอใส่ชื่อร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสใหม่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เดิมผู้ร้องเคยสมรสกับจำเลยที่ 3 ต่อมาเมื่อปี 2535 ผู้ร้องหย่ากับจำเลยที่ 3 และได้ตกลงสัญญาในการหย่าให้ที่ดินพิพาทตกแก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยที่ 3 ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้อง โจทก์ให้การต่อสู้คดี โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้อง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 84 (3) เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนสมรสกันในปี 2527 ต่อมาปี 2534 ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแม้จะใส่ชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวก็ตาม ที่ดินพิพาทก็เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (2) ซึ่งเมื่อทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวอยู่แล้ว แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องนับแต่เวลาจดทะเบียนหย่า และเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสกับจำเลยที่ 3 ใหม่ ในปี 2549 จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ไม่ได้ ผู้ร้องมีสิทธิขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินที่เป็นมรดกส่วนตัว แม้เป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส สิทธิในทรัพย์สินนั้นยังคงเป็นของทายาท
โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำยึดบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าบ้านเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องแต่ผู้เดียว มิใช่สินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง แม้ตามคำร้องขอจะมิได้อ้างว่าเป็นบ้านที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับพี่น้องตามที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างมาในฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้างถึงที่มาเพื่อแสดงให้เห็นว่าบ้านดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธินำยึดนั่นเอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในฎีกาได้ เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในประเด็นตามคำร้อง มิใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
บ้านที่โจทก์นำยึดออกขายทอดตลาดซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับทายาทอื่นของ ล. สิทธิของผู้ร้องในบ้านจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) มิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดได้ และผู้ร้องในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ตามมาตรา 1359 จึงมีอำนาจร้องขัดทรัพย์
บ้านที่โจทก์นำยึดออกขายทอดตลาดซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับทายาทอื่นของ ล. สิทธิของผู้ร้องในบ้านจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) มิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดได้ และผู้ร้องในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ตามมาตรา 1359 จึงมีอำนาจร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สินสมรส, สินส่วนตัว, การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน, และการชำระหนี้ร่วมกัน
ป.พ.พ. มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่าไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยแล้ว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นนอกจากที่โจทก์ระบุในคำฟ้องก็ตามทั้งนี้เพื่อให้ปัญหาการแบ่งสินสมรสเป็นอันยุติไปพร้อมกับการสิ้นสุดแห่งการสมรส
โจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้และแยกกันอยู่ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2536 ตลอดมาจนถึงวันฟ้องหย่าแต่การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยหาสิ้นสุดลงไม่ สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังดำรงคงอยู่ตลอดเวลาและจำเลยมีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากจำเลยใช้จ่ายเงินตราสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้จำเลยชดใช้ โดยตั้งประเด็นให้ชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไปโดยเฉพาะเจาะจงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1534 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำนวนเงินสินสมรสในบัญชีเงินฝากที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันให้ถือตามที่มีอยู่ในวันฟ้อง จึงชอบแล้ว
รายได้จากร้านเสริมสวยจำนวน 1,000,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการจะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องแบ่งคืนแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมจำนวนนี้คืนจากผู้ยืมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องเงินจำนวนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์นำเอาเงิน 1,000,000 บาทมาคำนวณหักกลบลบหนี้ในการแบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์จำเลยคนละกึ่งหนึ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์จึงไม่ชอบกรณีมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการบังคับเอากับสินสมรสที่จัดแบ่งแล้วอย่างไร จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 ต้องถือว่ารายได้จากร้านเสริมสวย ยังไม่สามารถนำมาคิดคำนวณแบ่งสินสมรสเพราะยังไม่ได้รับชำระคืนจากผู้ยืม
เงิน 100,000 บาท ของจำเลยเมื่อนำมารวมกับเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านแล้ว ย่อมเปลี่ยนเป็นที่ดินและบ้านที่ซื้อมาจึงไม่มีเงินที่ต้องคืนให้จำเลยหรือโจทก์อีก
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว 200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวย จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ 2 ต่อ 1
ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่เป็นจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 วรรคท้าย ว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วยที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
เงินฝากในบัญชีธนาคารมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วยโดยระคนปนกันจนไม่อาจจำแนกได้ว่าแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใดจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินในบัญชีนี้เป็นสินสมรส ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนเงินในบัญชีดังกล่าวมาเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เงินฝากในบัญชีใหม่นี้จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งเช่นเดียวกันด้วย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินฝากในบัญชีเงินฝากทั้งสองฉบับคงมีเงินเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียวจำนวนเงิน 211,562.61 บาท อันเป็นเงินสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีการถอนออกไปบางส่วนหลังวันฟ้องเพื่อผ่อนชำระค่าซื้อบ้าน ที่ดินรถยนต์และคอนโดมิเนียม คงเหลือเงินในบัญชีเพียง 39,169.08 บาท เท่านั้น จำเลยมิได้โต้แย้งว่าเงินที่ถูกถอนออกไปนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องอย่างใด เมื่อเงินฝากในบัญชีดังกล่าวเป็นสินสมรสและการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงยังคงมีสิทธิจัดการสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยโดยการถอนเงินจากธนาคารแม้หลังจากฟ้องคดีนี้แล้วได้ จึงต้องถือตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงตามที่โจทก์แถลงและจำเลยยอมรับโดยไม่โต้แย้งคัดค้านจะย้อนหลังไปถือเอาจำนวนเงินที่เคยมีอยู่จริงมิได้
โจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้และแยกกันอยู่ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2536 ตลอดมาจนถึงวันฟ้องหย่าแต่การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยหาสิ้นสุดลงไม่ สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังดำรงคงอยู่ตลอดเวลาและจำเลยมีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากจำเลยใช้จ่ายเงินตราสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้จำเลยชดใช้ โดยตั้งประเด็นให้ชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไปโดยเฉพาะเจาะจงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1534 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำนวนเงินสินสมรสในบัญชีเงินฝากที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันให้ถือตามที่มีอยู่ในวันฟ้อง จึงชอบแล้ว
รายได้จากร้านเสริมสวยจำนวน 1,000,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการจะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องแบ่งคืนแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมจำนวนนี้คืนจากผู้ยืมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องเงินจำนวนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์นำเอาเงิน 1,000,000 บาทมาคำนวณหักกลบลบหนี้ในการแบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์จำเลยคนละกึ่งหนึ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์จึงไม่ชอบกรณีมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการบังคับเอากับสินสมรสที่จัดแบ่งแล้วอย่างไร จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 ต้องถือว่ารายได้จากร้านเสริมสวย ยังไม่สามารถนำมาคิดคำนวณแบ่งสินสมรสเพราะยังไม่ได้รับชำระคืนจากผู้ยืม
เงิน 100,000 บาท ของจำเลยเมื่อนำมารวมกับเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านแล้ว ย่อมเปลี่ยนเป็นที่ดินและบ้านที่ซื้อมาจึงไม่มีเงินที่ต้องคืนให้จำเลยหรือโจทก์อีก
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว 200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวย จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ 2 ต่อ 1
ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่เป็นจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 วรรคท้าย ว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วยที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
เงินฝากในบัญชีธนาคารมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วยโดยระคนปนกันจนไม่อาจจำแนกได้ว่าแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใดจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินในบัญชีนี้เป็นสินสมรส ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนเงินในบัญชีดังกล่าวมาเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เงินฝากในบัญชีใหม่นี้จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งเช่นเดียวกันด้วย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินฝากในบัญชีเงินฝากทั้งสองฉบับคงมีเงินเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียวจำนวนเงิน 211,562.61 บาท อันเป็นเงินสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีการถอนออกไปบางส่วนหลังวันฟ้องเพื่อผ่อนชำระค่าซื้อบ้าน ที่ดินรถยนต์และคอนโดมิเนียม คงเหลือเงินในบัญชีเพียง 39,169.08 บาท เท่านั้น จำเลยมิได้โต้แย้งว่าเงินที่ถูกถอนออกไปนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องอย่างใด เมื่อเงินฝากในบัญชีดังกล่าวเป็นสินสมรสและการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงยังคงมีสิทธิจัดการสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยโดยการถอนเงินจากธนาคารแม้หลังจากฟ้องคดีนี้แล้วได้ จึงต้องถือตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงตามที่โจทก์แถลงและจำเลยยอมรับโดยไม่โต้แย้งคัดค้านจะย้อนหลังไปถือเอาจำนวนเงินที่เคยมีอยู่จริงมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากทรัพย์มรดกและการโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ช. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141 ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช. ได้หย่าขาดจากกันประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช. ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับจะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ช. ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส การที่ ช. นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช. ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมในสมรสและการยึดทรัพย์สินส่วนตัว: สิทธิภริยาที่ได้รับการคุ้มครอง
จำเลยที่ 2 สามีของผู้ร้องได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ.แก่โจทก์ โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังและให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ร้องเอง ถือได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรส ผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา282 วรรคท้าย โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้อง โจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการค้ำประกันในสมรส และการยึดทรัพย์สินส่วนตัว
จำเลยที่2สามีของผู้ร้องได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัทบ. แก่โจทก์โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังและให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ร้องเองถือได้ว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรสผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา282วรรคท้ายโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์แม้หนี้ที่จำเลยที่2เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องโจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรสตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่ย้อนหลังบังคับกับทรัพย์สินที่ได้มาภายใต้กฎหมายเดิม
ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 6 รายการ เป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม การพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา เมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับ ร. ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับมีมาตรา 1471 บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัว และมาตรา 1474บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือและพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็นสินสมรส จึงเป็นสินสมรส อันแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งบรรพ 5 เดิมก็ตาม ก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดก เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม จึงจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1471 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่ เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสเจ้ามรดกคงมีส่วนแต่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้