พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวและสิทธิในทรัพย์สินสิ้นสุดลง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3)แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัว และคู่สมรสที่ยกให้ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในรถยนต์หลังซื้อขายและอำนาจฟ้องคดีค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์ที่ 1 ขอซื้อรถยนต์จากบริษัท ส.โดยมีข้อสัญญาไม่ให้โจทก์ที่ 1 จำหน่ายจ่ายโอนหรือให้ผู้อื่นครอบครองใช้รถยนต์คันนั้น ต่อมาโจทก์ที่ 1 ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบริษัท ส. ก็ทราบและไม่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญากับโจทก์ที่ 1 คงรับเงินค่างวดรถจากโจทก์ที่ 1 ตลอดมา เมื่อโจทก์ที่ 1 ขายรถให้โจทก์ที่ 2 แล้วก็ได้ส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ที่ 2 ใช้ประโยชน์ในรถคันดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 รับโอนรถคันพิพาทมาโดยชอบ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดทำให้รถเสียหายได้
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสและจะสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474 ก็ไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์พิพาท
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสและจะสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474 ก็ไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์แม้ไม่เป็นเอกสารฝ่ายเมือง, อายุความ, และสินสมรส
เจ้ามรดกมีเจตนาจะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองแต่ไม่ได้ไปทำต่อกรมการอำเภอ จึงไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 แต่พินัยกรรมดังกล่าวเจ้ามรดกเป็นผู้เขียนขึ้นเองทั้งฉบับ จึงมีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา 1657 หากเจ้ามรดกไม่ประสงค์ให้พินัยกรรมมีผลบังคับได้ต่อไป จะต้องเพิกถอนเสียโดยการทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจตามมาตรา 1695 แม้เจ้ามรดกจะได้พูดสั่งเสียต่อหน้าญาติผู้ใหญ่หลายคนเป็นทำนองเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่ไม่มีการบันทึกและลงลายมือชื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งตามมาตรา1656 ถึงมาตรา 1669 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม
การที่จำเลยตกลงแบ่งที่นา บ้านและยุ้งข้าวพิพาทให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมแล้ว เพิ่งกลับใจไม่ยอมโอนให้ในภายหลัง ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 แม้โจทก์จะฟ้องคดีภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วเกิน 1 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ
บ้านและยุ้งข้าวพิพาทเป็นของเจ้ามรดกมีมาก่อนแต่งงานกับจำเลยจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยกับเจ้ามรดก.
การที่จำเลยตกลงแบ่งที่นา บ้านและยุ้งข้าวพิพาทให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมแล้ว เพิ่งกลับใจไม่ยอมโอนให้ในภายหลัง ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 แม้โจทก์จะฟ้องคดีภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วเกิน 1 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ
บ้านและยุ้งข้าวพิพาทเป็นของเจ้ามรดกมีมาก่อนแต่งงานกับจำเลยจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยกับเจ้ามรดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์แต่ใช้บังคับได้ อายุความ และสินสมรส
เจ้ามรดกมีเจตนาจะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองแต่ไม่ได้ไปทำต่อกรมการอำเภอจึงไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1658แต่พินัยกรรมดังกล่าวเจ้ามรดกเป็นผู้เขียนขึ้นเองทั้งฉบับจึงมีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา1657หากเจ้ามรดกไม่ประสงค์ให้พินัยกรรมมีผลบังคับได้ต่อไปจะต้องเพิกถอนเสียโดยการทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจตามมาตรา1695แม้เจ้ามรดกจะได้พูดสั่งเสียต่อหน้าญาติผู้ใหญ่หลายคนเป็นทำนองเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดในพินัยกรรมแต่ไม่มีการบันทึกและลงลายมือชื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งตามมาตรา1656ถึงมาตรา1669จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม การที่จำเลยตกลงแบ่งที่นาบ้านและยุ้งข้าวพิพาทให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมแล้วเพิ่งกลับใจไม่ยอมโอนให้ในภายหลังย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192แม้โจทก์จะฟ้องคดีภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วเกิน1ปีคดีก็ไม่ขาดอายุความ บ้านและยุ้งข้าวพิพาทเป็นของเจ้ามรดกมีมาก่อนแต่งงานกับจำเลยจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยกับเจ้ามรดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสินสมรส: การยืมเงินเพื่อประโยชน์ครอบครัวทำให้เกิดหนี้ร่วม แม้ภริยาไม่ได้ลงชื่อในสัญญา
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จำเลยไปยืมเงินโจทก์มาเพื่ออุปการะเลี้ยงดูและเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ซึ่งเป็นหนี้ร่วมผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนในสินสมรสที่โจทก์นำยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากเงินยืมเพื่อประโยชน์ครอบครัว: สิทธิภริยาในการกันส่วนจากทรัพย์สินที่ถูกยึด
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจำเลยไปยืมเงินโจทก์มาเพื่ออุปการะเลี้ยงดูและเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นหนี้ร่วมผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนในสินสมรสที่โจทก์นำยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อนำกลับมาเป็นมรดกชำระหนี้ และความรับผิดของทายาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ต.ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตายโดยขอให้ทายาทของต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น. แม้ปรากฏว่าขณะฟ้องต. ไม่มีทรัพย์มรดก และทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่นนั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ ตกทอดได้แก่ตน. การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต.ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว.แต่ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์.แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่. หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิด ชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิม หรือมาตรา 1490 ใหม่. ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับต.แล้ว. และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง. กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต. มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่ เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อม เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้. แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อ จำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ ต. ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตาย โดยขอให้ทายาทของ ต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น แม้ปรากฏว่า ขณะฟ้อง ต. ไม่มีทรัพย์มรดกและทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่น นั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำธุรกรรมหลังมีคำพิพากษาเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี: การกระทำที่เป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลย ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องคดีนี้และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี หลังจากนั้นประมาณ6 เดือน ผู้ร้องและจำเลยจดทะเบียนหย่ากันโดยตกลงให้ทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสตกได้แก่ผู้ร้องฝ่ายเดียว เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยร่วมกันทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยถูกยึดทรัพย์มาเพื่อการบังคับคดีเป็นการกระทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบโจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทมาดำเนินการบังคับคดีเอาชำระหนี้แก่โจทก์ได้