พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรสตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่ย้อนหลังบังคับกับทรัพย์สินที่ได้มาภายใต้กฎหมายเดิม
ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 6 รายการ เป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม การพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา เมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับ ร. ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับมีมาตรา 1471 บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัว และมาตรา 1474บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือและพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็นสินสมรส จึงเป็นสินสมรส อันแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งบรรพ 5 เดิมก็ตาม ก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดก เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม จึงจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1471 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่ เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสเจ้ามรดกคงมีส่วนแต่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนโอน
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี 2525เป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 เดิม เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯ และไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ดังนั้น สามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 มาตรา 1468 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อน หากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล โจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1475
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากไม่ได้รับความยินยอมถือว่าขาดความสามารถในการฟ้อง
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี2525เป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา99เดิมเมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ซึ่งมาตรา7บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯและไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ดังนั้นสามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477มาตรา1468การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนหากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลโจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1475 โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56วรรคสองก่อนแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จจึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าตามหลักกฎหมายอิสลาม: ข้อตกลงการแบ่งและสถานะสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นหย่าและสินสมรสบางรายการยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คงมีประเด็นชั้นฎีกาเพียงว่ามีข้อตกลงแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยอย่างไร บ้านและรถยนต์กระบะเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคดีที่พิพาทกันเรื่องสิทธิในครอบครัว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,500 บาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสและจดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมกันหลังสมรส
จำเลยฟ้องแย้งให้แบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์แบ่งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยเป็นการนอกเหนือคำฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทด้วยเงินของโจทก์ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลย หลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้มีการจดทะเบียนลงชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่โจทก์มีเจตนาให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสต้องแบ่งกันระหว่างโจทก์และจำเลยคนละส่วน ดังนั้นจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในสี่ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากมรดกและทรัพย์สินที่ได้จากการขายมรดก แม้มีการหย่าขาด กรรมสิทธิ์ในสินสมรสยังคงอยู่
ผู้ร้องได้รับมรดกจากบิดาระหว่างสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มรดกที่ได้จึงเป็นสินสมรส การที่ผู้ร้องนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์มรดกดังกล่าวไปซื้อที่ดินพิพาทภายหลังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 แม้ต่อมาจะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก็หากระทบกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ในที่ดินพิพาทใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ต้องมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้จึงมีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาได้ช่วยกันประกอบอาชีพทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มทวีขึ้นซึ่งโจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน โจทก์จำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคนละกึ่งหนึ่ง เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ในทรัพย์สินร่วมกับจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิแบ่งทรัพย์สินนั้นจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ซื้อมาในระหว่างสมรส และการโอนให้คู่สมรสเป็นสินสมรส
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนด โจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การโอนขายที่ดินที่ได้มาจากการประมูลระหว่างสมรส และผลของการโอนต่อ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1 เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนดโจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์ผู้รับจำนองไม่ทราบถึงการที่ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของและไม่ได้ยินยอมให้นำที่พิพาทส่วนของผู้ร้องเข้าร่วมจำนองด้วยเนื่องจาก ป.ผู้จำนองมิได้แจ้งให้ทราบ การจำนองจึงสมบูรณ์และมีผลผูกพันทรัพย์จำนองทั้งหมดทุกส่วน เมื่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของป.ถูกโจทก์ฟ้องบังคับจำนองและศาลพิพากษาให้บังคับตามสัญญาจำนองได้แล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ส่วนการที่ ป.นำทรัพย์ส่วนของผู้ร้องเข้าร่วมจำนอง โดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้ร้องนั้นหากเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไร ผู้ร้องก็ชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่ ป. หรือทายาทของป. เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะมาร้องขอกันส่วนให้บังคับคดีมีผลผิดไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่