พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวของคู่สมรสต่างสัญชาติ และการครอบครองปรปักษ์
ว.ได้มาซึ่งที่ดินและตึกแถวพิพาทหลังจากที่ว. และจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ดินและตึกแถวพิพาทย่อมตกเป็นสินสมรสของ ว.และจำเลยเมื่อว. เป็นคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยแต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: ที่ดินรับยกจากบิดาในระหว่างสมรส หากมิได้ระบุเป็นสินสมรส ถือเป็นสินส่วนตัว
จำเลยได้ที่ดินมาโดยบิดาจำเลยยกให้ แม้จะเป็นการยกให้ในระหว่างสมรสแต่เมื่อการยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือระบุว่าให้เป็นสินสมรส ที่ดินจึงตกเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471(3) ส่วนที่มาตรา 1474 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสนั้น จะต้องเป็นกรณีที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินเป็นสินส่วนตัวโดยแจ้งชัดปราศจากข้อสงสัยแล้ว จึงไม่อาจนำอ้างมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอลงชื่อในโฉนดที่ดินที่เป็นสินสมรส และการไม่ขาดอายุความของสิทธิดังกล่าว แม้เวลาผ่านไปนาน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยและศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรส ประเด็นของคดีจึงมีว่าทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ ป.พ.พ. มาตรา 1475 กำหนดให้สามีหรือภริยาต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์ กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้จดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินสินสมรสได้ การพิจารณาว่าทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นทรัพย์สินประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา จำเลยรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยในระหว่างสมรสในขณะใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม โดยมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิมที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามมาตรา 1466 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะนั้น สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา แสดงให้เห็นว่าตราบใดที่ความเป็นสามีภริยายังมีอยู่ คู่สมรสมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนด ฉะนั้น แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 37 ปีแล้ว แต่เพิ่งนำคดีมาฟ้องก็ตามคดีก็ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบ่งมรดกที่ดิน, โรงแรม, เงินฝาก, รายได้โรงแรม ระหว่างทายาทและอดีรภัสยา โดยคำนึงถึงสัดส่วนการเป็นเจ้าของและรายได้
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน ทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภรรยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111และมาตรา 1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้ทายาทคนหนึ่งปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ทายาทคนนั้นก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โรงแรมและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสและมรดก
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1 โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: ภาระการพิสูจน์อยู่ที่ผู้อ้างว่าเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ร้องจึงมีภาระการพิสูจน์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินที่ได้รับยกให้ก่อนจดทะเบียนสมรสไม่เป็นสินสมรส
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471 (1) แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519
การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท
กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่
แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้
การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท
กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่
แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินและบ้านที่ได้รับยกให้ก่อนจดทะเบียนสมรส ไม่ใช่สินสมรส
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาแต่ก่อนมีการจดทะเบียนสมรสย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471(1) แห่ง ป.พ.พ.ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้อง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาท สินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรสกลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การนำสืบเอกสารการสมรสก่อนซื้อทรัพย์สินพิพาทพิสูจน์สถานะเป็นสินสมรสได้
การที่ผู้ร้องที่ 1 นำสืบพยานบุคคลและพยานเอกสารคือสำเนาสูติบัตร สำเนาใบสำคัญการหย่าเพื่อแสดงว่าผู้ร้องที่ 1 กับ จำเลยที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันจริงพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจดทะเบียนการหย่าให้ กับนำสืบสำเนาหนังสือยินยอมว่าในวันที่จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนซื้อและจำนองที่ดินกับบ้านนั้น ผู้ร้องที่ 1 ให้ความยินยอมแล้วดังนี้ผู้ร้องมิได้นำสืบพยานบุคคลเพียงอย่างเดียว แม้มิได้นำทะเบียนสมรสมาแสดง ก็ไม่ใช่การนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 เมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 2เกิดขึ้นก่อนวันที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาท ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นสินสมรส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การโอนมรดกและการซื้อขายทรัพย์สินระหว่างสมรส ไม่ถือเป็นสินส่วนตัว
ตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินระบุว่าผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ ตั้งบ้านพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ผู้ตาย แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเป็นส่วนตัว กรณี ดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องได้ที่ดินและบ้านพิพาทมาระหว่าง สมรสโดยการรับมรดกจากมารดาของตน ต่อมาผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดก ได้ขายที่ดินให้อ.เสร็จเด็ดขาดไปแล้วหลังจากนั้นอ. นำที่ดินไปแบ่งแยกขายให้แก่บุคคลภายนอก และโอนขายที่ดินที่เหลือ พร้อมบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง เมื่อไม่ปรากฎว่าผู้ร้องนำเงินสินส่วนตัว ไปซื้อที่ดินและบ้านพิพาทคืนมาจึงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาท เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาของจำเลยจึงมีสิทธินำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมา ชำระหนี้แก่โจทก์ได้.