คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1474

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากการยกที่ดินโดยไม่ระบุเป็นสินส่วนตัว แม้กฎหมายแก้ไข ก็ไม่ทำให้สินสมรสเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว
จำเลยเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อ พ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดที่พิพาท ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับส. ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471 และมาตรา1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิม ก็ไม่ ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส. จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1481.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและสินส่วนตัว: การได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส, การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้, และความรับผิดในหนี้ละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ก็ยังต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่นี้มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ส่วนที่ดินที่จำเลยได้มาในระหว่างสมรสก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏว่า บิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอนท้าย ที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย. แม้ผู้ร้องกับจำเลยจะร่วมกันกระทำหนี้ละเมิด แต่ก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้ร้องกับจำเลยไม่เกี่ยวกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรส หรือเกิดจากการงานที่ทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยา จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายฝากสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และผลกระทบต่อบุคคลภายนอกที่สุจริต
ทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการยกให้โดยเสน่หาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์นั้น หากต่อมาเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1ได้นำเอาสินสมรสนั้นไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ผู้เป็นสามี และโจทก์ก็มิได้ให้สัตยาบัน ในเรื่องอำนาจของโจทก์ที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมขายฝากนั้น ไม่พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 และมาตรา 137 วรรคสองซึ่งยกเลิกไปแล้ว แต่ต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1480 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาปรับ โดยต้องพิจารณาว่าในขณะทำนิติกรรมขายฝากจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำกัดสิทธิทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเป็นโมฆะหรือไม่ และทรัพย์สินที่จำกัดสิทธิถือเป็นมรดกหรือไม่
ศ. กับจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างเป็นสามีภรรยากันว่า ศ. จะไม่นำเอาสินบริคณห์ใด ๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีขึ้นในอนาคตไปจำหน่ายหรือทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและการศึกษาของบุตรอันเกิดจากจำเลย จะไม่เกี่ยวข้องสร้างภาระผูกพัน หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลย สัญญาดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญามีอำนาจกระทำได้ เพียงแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาทั้งการทำสัญญาจำกัดสิทธิบางอย่างในระหว่างกันเองในเรื่องทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของครอบครัวด้วยความสมัครใจและการสละทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสามีภริยาด้วยความสมัครใจ ก็ไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 และเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตาม มาตรา 1336 จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้
ทรัพย์พิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาระหว่าง ศ. กับจำเลย ระบุว่า ศ. จะไม่เข้าเกี่ยวข้องหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่า ศ. ได้สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ศ. ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดและไม่เป็นมรดกของ ศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินจากการทำมาหาได้ร่วมกันของสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ศาลถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาตั้งแต่ พ.ศ. 2485มีบุตรด้วยกัน 7 คน ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทด้วยเงินของผู้ร้องขณะที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ดังนี้ถือได้ว่าร่วมกันซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกันผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่อยู่กินก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการคำนวณสิทธิในมรดก
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า สินสมรสระหว่างนายห.และนางก.มีจำนวนเท่าใด ตกเป็นมรดกของนางก. 2 ใน 3 ส่วนคิดเป็นเงินเท่าใด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ชัดแจ้งว่า ส่วนที่ตกเป็นส่วนแบ่งของนายห.เท่ากับ 1 ใน 3 ส่วน และสามารถคำนวณออกมาเป็นจำนวนเงินได้โดยง่าย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5การแบ่งสินสมรสต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและมรดกก่อน/หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, อายุความฟ้องร้อง
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า สินสมรสระหว่างนาย ห. และนาง ก. มีจำนวนเท่าใด ตกเป็นมรดกของนาง ก. 2 ใน 3 ส่วน คิดเป็นเงินเท่าใด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ชัดแจ้งว่า ส่วนที่ตกเป็นส่วนแบ่งของนาย ห. เท่ากับ 1 ใน 3 ส่วน และสามารถคำนวณออกมาเป็นเงินได้โดยง่าย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 การแบ่งสินสมรสต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริตและขาดความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริต และอำนาจฟ้องของคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต แม้เป็นสินสมรสคู่สมรสมีอำนาจฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไรที่ไหนและเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียว กับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้วเพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่าทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าเป็นโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญา แต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 วรรคสอง
of 13