คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1474

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัว และการยินยอมโดยปริยายต่อการนำเงินจากการขายทรัพย์สินไปใช้เลี้ยงดูบุตร
โจทก์ยกที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลง ให้แก่จําเลย มิใช่ให้จําเลยถือครองที่ดินแทนโจทก์ และตามสำเนาโฉนดที่ดินระบุว่า โจทก์ได้รับที่ดินโฉนดเลขที่ 30376 ดังกล่าวมาโดยการรับโอนมรดก ที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จําเลยโดยไม่ได้ระบุว่า ให้เป็นสินสมรส ที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของจําเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) และ 1474 (2) จําเลยย่อมเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินดังกล่าวได้เอง ตามมาตรา 1473 ดังนั้น การที่จําเลยจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัท ผ. ไปในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 นิติกรรมการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยไม่จําต้องพิจารณาว่า โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการขายที่ดินของจําเลยหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์ได้จดทะเบียนให้ที่ดินดังกล่าวแก่จําเลยในระหว่างสมรส อันเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกล้างเสียในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ก็ตาม แต่เมื่อจําเลยได้ขายที่ดินไปเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ประกอบกับหลังจากปี 2559 โจทก็ไม่ได้ส่งค่าเลี้ยงดูบุตรให้แก่จําเลย เนื่องจากจําเลยผิดข้อตกลงเรื่องหย่า และโจทก์คิดว่าจําเลยมีเงินส่งเสียบุตร เพราะจําเลยขายที่ดินที่โจทก์ยกให้ไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ตกลงยินยอมโดยปริยายให้นําเงินที่ได้จากการขายที่ดินเป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูจําเลยและบุตรของโจทก์ เฉพาะอย่างยิ่งบุตรโจทก์กําลังศึกษาอยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงไม่เป็นกรณีที่โจทก์จะฟ้องขอให้จําเลยคืนเงินที่ได้รับจากการขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4224/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้ภายหลังพบข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่เป็นไปตามที่ตกลง หากไม่มีเหตุเพิกถอน
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสที่โจทก์ขอแบ่ง ได้แก่ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงว่าโจทก์จำเลยร่วมกันซื้อที่ดินดังกล่าว โดยให้จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาลด้วยตนเองและยังมีทนายความโจทก์มาศาลและร่วมลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วย โจทก์มีโอกาสที่จะคัดค้านข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความได้ในขณะที่ทำสัญญาหากไม่เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ไม่คัดค้าน ย่อมแสดงว่าโจทก์พอใจในผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย เมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้วคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ในภายหลังโจทก์จะมาอ้างว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ถูกเอาเปรียบและเสียหายจากการฉ้อฉลของจำเลยในวันทำสัญญาทั้ง ๆ ที่ในสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่ได้มีเหตุทุจริตผิดกฎหมาย หรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงกันอันจะเป็นเหตุที่จะขอเพิกถอนได้ ตามมาตรา 138 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: ที่ดินที่ซื้อระหว่างสมรสเป็นสินสมรส การโอนให้บุตรหลังฟ้องเป็นทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงบังคับคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาททั้ง 9 แปลง เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โดยได้มาระหว่างสมรส จำเลยไม่ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว แต่ต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีการนำเงินของบริษัท อ. ซื้อไว้โดยใส่ชื่อจำเลยแทน เมื่อที่ดินพิพาททั้ง 9 แปลง เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474
หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว การที่จำเลยจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่บุตรก็ถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ซึ่งแม้จะเป็นบุตรของทั้งโจทก์และจำเลยเองก็เป็นเหตุที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้เห็นได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินโดยทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี
คดีนี้ โจทก์ฟ้องและมีคำขอเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่จำเลยให้การเพียงว่า เป็นทรัพย์สินของบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10159/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: การติดตามสินสมรสส่วนของโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับ
ตามบันทึกข้อตกลงการหย่าและแบ่งสินสมรส ฝ่ายชายให้บุตรทั้งสองอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของฝ่ายหญิงเพียงผู้เดียว ฝ่ายชายจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสินสมรสทั้งหมดที่ได้ยกให้แก่บุตรทั้งสอง สินสมรสที่มีชื่อฝ่ายชายถือกรรมสิทธิ์ผู้เดียว ฝ่ายชายก็จะโอนเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อฝ่ายหญิงเป็นผู้ครอบครองแทนบุตรทั้งสอง ในส่วนสินสมรสใดซึ่งหากตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้แล้ว ฝ่ายชายตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองคนต่อไปในทันที ก็หมายถึง สินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายชายเท่านั้น หาได้มีข้อความระบุถึงสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังแล้วฝ่ายหญิงตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองแต่อย่างใดไม่ และไม่ได้หมายถึงสินสมรสของทั้งสองฝ่ายดังเช่นที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงที่มีรายละเอียดของสินสมรสที่คู่สัญญาทั้งสองตกลงยกให้แก่บุตรทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงในส่วนที่เป็นสินสมรสของฝ่ายชายคือจำเลยที่ 1 ได้นำไปให้จำเลยที่ 2 แล้ว คงเหลือสินสมรสส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งไม่ได้ตกอยู่ในบังคับข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาสินสมรสส่วนนี้มาเป็นของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8803/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และการฟ้องแย้งกรณีความเสียหายจากเหตุการณ์หลังหย่า
จำเลยใช้ถ้อยคำพูดกับโจทก์ว่า "กูเบื่อผู้ชายแก่ ๆ ควยเล็ก เซ็กส์ห่วย หัวล้าน ตัวเตี้ย ๆ หน้าเหี้ยใจยังเหี้ย หัวขโมยแบบมึงเต็มที" และ "กูมีความพร้อมทุกอย่าง สาวสวยเหมาะสมกับหนุ่ม ๆ แข็งแรงฟิตเปรี๊ยะ พร้อมเริ่มต้นใหม่ ไม่มีอะไรยาก กูแต่งงานกับมึงเพื่อประชด อ. เจ็บ ก็แค่นั้น กูไม่ได้พิศวาสมึงเลย..." และส่งข้อความทางโทรศัพท์ว่า "เดี๋ยวกูจะไปนอนให้คนอื่นเอา" เป็นถ้อยคำหยาบคาย อันมีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาทเหยียดหยามโจทก์และถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนอันเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3) และ (6) ส่วนการที่โจทก์ไม่กลับบ้านนานนับสัปดาห์ ไม่ยอมหลับนอนกับจำเลย ออกจากบ้านไปแล้วไม่กลับมาอยู่ด้วยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ไม่อุปการะเลี้ยงดู จึงเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. 1516 (6) เช่นกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่ากัน โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ คดีจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คู่ความจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 247
เงินฝากในบัญชีธนาคารและสลากออมสิน นั้น โจทก์นำสืบว่า ระหว่างสมรสจำเลยนำเงินส่วนที่โจทก์มอบให้ไปเปิดบัญชีเงินฝากและซื้อสลากออมสิน ทางนำสืบจำเลยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินดังกล่าวที่อ้างว่าเป็นสินส่วนตัวของจำเลยได้มาอย่างไร จึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาจากโจทก์ที่ให้เงินมาในระหว่างเป็นสามีภริยา จึงเป็นการได้มาภายหลังจากที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่า ทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ กรณีต้องถือตามข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคท้ายว่า เงินฝากในบัญชีธนาคาร และสลากออมสินเป็นสินสมรส ชายและหญิงพึงได้ส่วนเท่ากัน โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากสินสมรสดังกล่าวกึ่งหนึ่งมีผลย้อนหลังไปจนถึงวันฟ้องหย่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 (ข) และ 1533
รถยนต์ยี่ห้อเมอร์ซีเดสเบนซ์และรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า โจทก์ซื้อมาใส่ชื่อจำเลยในใบคู่มือจดทะเบียน ก่อนจดทะเบียนสมรส จำเลยได้ครอบครองใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ยี่ห้อเมอร์ซีเดสเบนซ์ จำเลยนำสืบประกอบภาพในสื่อสังคมออนไลน์ (facebook) ที่ลงภาพเพื่อขอบคุณโจทก์ มีของใช้ส่วนตัวของจำเลยวางในรถ มีสติ๊กเกอร์ชื่อจำเลยแปะกระจกรถ โจทก์ได้แสดงความเห็นในเชิงหยอกล้อการขับรถของจำเลย และโจทก์เองก็มีรถยนต์ใช้อยู่แล้ว ถือว่าโจทก์ให้จำเลยโดยเสน่หา เป็นสินส่วนตัวจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) โจทก์ต้องคืนรถทั้งสองคันดังกล่าวที่โจทก์เอาไปให้จำเลย
เดิมจำเลยได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์เดือนละ 100,000 บาท โจทก์รับว่าไม่ได้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยก่อนฟ้องเป็นเวลา 4 เดือน เมื่อสามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 และจำเลยไม่มีหลักฐานมายืนยันรายได้ก่อนสมรสกับโจทก์ ที่ศาลล่างกำหนดให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่จำเลยเดือนละ 50,000 บาท เหมาะสมแล้ว ส่วนที่จำเลยขอค่าอุปการะเลี้ยงดูภายหลังจากหย่าไปจนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่นั้น เนื่องจากการหย่าเป็นความผิดของทั้งสองฝ่าย ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจศาลที่จะกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูส่วนนี้ให้
จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์บุกรุกเข้าไปในบ้านใช้สเปรย์ฉีดพ่นทรัพย์สินได้รับความเสียหายนั้น เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่ได้อาศัยเหตุแห่งการหย่าและการเรียกค่าทดแทนตามฟ้องเดิมเป็นมูลหนี้ แต่เป็นการกล่าวอ้างการกระทำอีกตอนหนึ่งของโจทก์อันเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างจากฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องแย้งในข้อนี้มานั้นชอบแล้ว แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะฟ้องใหม่เพื่อเรียกค่าซ่อมแซมทรัพย์สินดังกล่าวภายในอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10451/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินโดยเสน่หาเป็นสินสมรส การให้โดยเสน่หาต้องสมควรแก่ฐานานุรูปครอบครัว และการจำนองโดยผู้รับยก
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ พ. และได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2520 อันเป็นเวลาภายหลังที่บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นสินบริคณห์แต่เป็นสินสมรสตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 (5)
พ. มีทรัพย์สินเป็นที่ดินราคาเป็นหมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับที่ดินพิพาททั้งสามแปลงที่ยกให้แก่จำเลยที่ 1 บุตรของ พ. กับภริยาคนก่อนซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อย ทั้ง พ. ก็เคยยกที่ดินให้แก่บุตรทั้งสามคนที่เกิดกับโจทก์ การยกที่ดินพิพาททั้งสามแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการยกให้แก่บุตรทุกคนอย่างเสมอกันตามกำลังทรัพย์ของผู้ยกให้ จึงเป็นการยกให้โดยเสน่หาที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยาตามมาตรา 1476 (5) แม้โจทก์จะไม่ให้ความยินยอมก็ฟ้องเพิกถอนการให้โดยเสน่หาระหว่าง พ. กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเมื่อจำเลยบางส่วนไม่ได้ตั้งทนาย และฟ้องซ้อนเรื่องสินสมรส
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ตั้ง ป. เป็นทนายความให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกาได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่เคยตั้งให้ ป. เป็นทนายความมาแต่แรก ฎีกาทำเป็นฉบับเดียวลงชื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ฎีกา โดยมี ป. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ ฉะนั้น แม้ฎีกาฉบับนี้จะระบุชื่อของจำเลยที่ 2 ไว้ในฎีกาหน้าแรกว่าเป็นผู้ที่ขอยื่นฎีกาด้วยก็ตาม กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วย ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสี่ ซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เท่านั้นฎีกา
แม้โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 เรื่องขอแบ่งสินสมรสเป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 191/2553 หมู่ที่ 7 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนาง น. แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้งขอให้บังคับจำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 96/2553 หมู่ที่ 5 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แต่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้งว่ามีสิทธิครอบครอง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง แม้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดี เป็นการขอให้แบ่งที่ดินต่างแปลงกัน แต่มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยโดยการยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงเป็นสินสมรส คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องแบ่งสินสมรสที่ดินแปลงต่างกัน แต่มีมูลเหตุเดียวกัน ศาลฎีกาตัดสินว่าฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ตั้ง ป. เป็นทนายความให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกาได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่เคยตั้งให้ ป. เป็นทนายความมาแต่แรก แม้ฎีกาทำเป็นฉบับเดียวลงชื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ฎีกา โดยมี ป. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ และระบุชื่อของจำเลยที่ 2 ไว้ในฎีกาหน้าแรกว่าเป็นผู้ที่ขอยื่นฎีกาด้วยก็ตาม กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฎีกาเท่านั้น
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรื่องขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 191/2553 หมู่ที่ 7 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 79 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 96/2553 หมู่ที่ 5 (เดิมหมู่ที่ 2) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา โดยจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง แม้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดี เป็นการขอให้แบ่งที่ดินต่างแปลงกัน แต่มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องโดยการยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงเป็นสินสมรส คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสใหม่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เดิมผู้ร้องเคยสมรสกับจำเลยที่ 3 ต่อมาเมื่อปี 2535 ผู้ร้องหย่ากับจำเลยที่ 3 และได้ตกลงสัญญาในการหย่าให้ที่ดินพิพาทตกแก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยที่ 3 ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้อง โจทก์ให้การต่อสู้คดี โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้อง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 84 (3) เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนสมรสกันในปี 2527 ต่อมาปี 2534 ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแม้จะใส่ชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวก็ตาม ที่ดินพิพาทก็เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (2) ซึ่งเมื่อทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวอยู่แล้ว แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องนับแต่เวลาจดทะเบียนหย่า และเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสกับจำเลยที่ 3 ใหม่ ในปี 2549 จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ไม่ได้ ผู้ร้องมีสิทธิขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4408/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะไม่มีผลทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นของภริยาโดยชอบ
โจทก์ฟ้องระบุว่า โจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับ ป. ผู้ตาย แต่เป็นการสมรสซ้อน ต้องห้ามตามมาตรา 1452 แห่ง ป.พ.พ. เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งมีผลตามมาตรา 1498 โดยมาตรา 1498 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา" ซึ่งมีความหมายว่า โจทก์ไม่อาจอ้างประโยชน์จากการอยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. ผู้ตายเพื่อกำหนดประโยชน์หรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของ ป. ผู้ตายได้ เพราะการสมรสโมฆะไปแล้ว และในทางกลับกันการสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ผู้ตายยังมีผลสมบูรณ์ ทำให้ทรัพย์สินของ ป. ผู้ตายต้องพิจารณาไปตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. บรรพ 5 ลักษณะ 1 หมวด 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งต้องถือว่าทรัพย์สินของ ป. ผู้ตาย มีผลเป็นทรัพย์สินระหว่าง ป. ผู้ตาย สามีกับจำเลยภริยาเพียงใด ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าเป็นสินส่วนตัวของ ป. ผู้ตาย หรือสินส่วนตัวของจำเลยเพียงใด และเป็นสินสมรสระหว่าง ป. ผู้ตายกับจำเลยเพียงใด ซึ่งมาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส" ส่วนโจทก์จะมีสิทธิในทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างอยู่กินกับ ป. ผู้ตายเพียงใด ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของมาตรา 1498 วรรคสอง ที่ว่า "ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง..." ตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่า โจทก์มีทรัพย์สินใดที่โจทก์มีหรือได้มาก่อนหรือหลังสมรส ให้เป็นของโจทก์ ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง
ทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าได้ประกอบธุรกิจตั้งบริษัท ส. กิจการขาดทุนและโจทก์ปิดบริษัทแล้ว ทรัพย์สินรายการอื่น ๆ เงินฝากตามสมุดคู่ฝาก ของ ป. หนังสือรับรองหักภาษี หรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือหน่วยลงทุนโฉนดที่ดิน รายการสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นชื่อ ป. ผู้ตายทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร ทรัพย์สินตามที่กล่าวมาจึงเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสของ ป. ผู้ตายกับจำเลยทั้งสิ้น ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ในทรัพย์สินร่วมกับ ป. ผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้
ป. ผู้ตายแสดงออกต่อบุคคลภายนอก โดยระบุในสำเนาบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ป. ผู้ตายแจ้งว่า คู่สมรสคือจำเลย ป. ผู้ตายและจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาโดยชอบ มีผลให้ทรัพย์สินที่ ป. ผู้ตายได้มาในระหว่างสมรสกับจำเลยเป็นสินสมรสตามผลของมาตรา 1474 (1) การที่ ป. ผู้ตายซื้อที่ดินมาขายได้เงิน จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสระหว่าง ป. ผู้ตายกับจำเลย การที่ ป. ผู้ตายแบ่งเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงหากระทำได้ไม่ เพราะเป็นการให้โดยเสน่หาที่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามมาตรา 1476 (5) โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินตามฟ้อง
of 13