คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในคดีบังคับคดี & ข้อห้ามฟ้องซ้ำเมื่อคดีเดิมยังไม่สิ้นสุด
การที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านในคดีก่อนก็เพราะจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีก่อนนำคำสั่งศาลไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อจำเลย เป็นการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะมีความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ทั้งถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอเข้าไปในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และคดีก่อนโจทก์ไม่ได้ร้องคัดค้านเข้าไปในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกสามารถและพิสูจน์ในชั้นบังคับคดีได้ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันโจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) โดยไม่ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่
คำร้องขอของโจทก์ในคดีก่อนเป็นคำฟ้อง และแม้ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ แต่โจทก์ก็ยังฎีกาคัดค้านต่อศาลฎีกาคดีก่อนจึงยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ซึ่งคดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจำเลยเป็นบริวารของผู้เช่า ซึ่งมีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือของจำเลย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน/ฟ้องซ้ำ: ข้อพิพาทต่างคราวกัน แม้ทรัพย์สินบางส่วนเป็นของเดิม ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามยอมแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้นเพราะเป็นมูลคดีพิพาทเดียวกันอันเกิดจากการรับซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองคดีเหมือนกัน และคดีดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ก่อนคดีนี้ และขณะฟ้องคดีนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกจากนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาธนบุรีเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 813/2536 ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 360,000 บาท แก่โจทก์คดีนี้ด้วย และศาลอาญาธนบุรีอนุญาตให้โจทก์คดีนี้ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ในที่สุดศาลอาญาธนบุรีได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงถือได้ว่าศาลอาญาธนบุรีได้มีคำพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีในส่วนแพ่งสิ้นสุดเด็ดขาดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำนั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่น อันเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 (2) ซึ่งจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมยี่ห้อจูกิ 12 เครื่อง จักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 4 เครื่อง และเครื่องตัดผ้าอุตสาหกรรม 2 เครื่อง ของโจทก์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลย ซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้าของโจทก์อีก2 เครื่อง ที่พนักงานสอบสวนยึดได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่จำเลยได้ติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวน ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 ภายหลังจากศาลอาญาธนบุรีพิพากษายกฟ้องแล้ว จักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า ในคดีนี้กับจักรพ้งอุตสาหกรรมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น เป็นทรัพย์ต่างรายกัน ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 แล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 2 เครื่อง ในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางนั้นเป็นของโจทก์ แต่จำเลยยังติดต่อขอรับเอาจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวไปจากพนักงานสอบสวน เป็นการกระทำต่างคราวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 ของศาลอาญาธนบุรี ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, อายุความประกันภัย, และเขตอำนาจศาล
เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่า ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถยนต์บรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายแล้ว แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของลูกจ้างตนตามฟ้อง กรณีหาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี เพื่อใช้ค่าทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน อันเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันภัย จำเลยร่วมจึงยกอายุความละเมิดมาใช้ไม่ได้ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้ เพราะเพิ่งทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 3มิได้เป็นผู้รับประกันภัยรายนี้และขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยที่แท้จริงการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ตัดอำนาจศาลแพ่งในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งเช่นเดียวกันเข้ามาในคดีตัดสินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, อายุความประกันภัย, และอำนาจศาล
เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่า ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถยนต์บรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายแล้ว แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของลูกจ้างตนตามฟ้อง กรณีหาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี เพื่อใช้ค่าทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน อันเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันภัย จำเลยร่วมจึงยกอายุความละเมิดมาใช้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้ เพราะเพิ่งทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้เป็นผู้รับประกันภัยรายนี้และขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยที่แท้จริงการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ตัดอำนาจศาลแพ่งในอันที่จะพิจารณา และชี้ขาดตัดสินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(2)
*และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งเช่นเดียวกันเข้ามาในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาฟ้องคดี: ถิ่นที่อยู่หลายแห่ง โจทก์เลือกยื่นฟ้องได้ หากยังไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาจริง
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดนนทบุรี โดยระบุในคำฟ้องว่าจำเลยอยู่ที่บ้านมีเลขที่หลังหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ต่อมาในระหว่างการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโจทก์ขอแก้ที่อยู่ของจำเลยเป็นบ้านมีเลขที่หลังหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งจำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้านแต่มีพฤติการณ์แสดงว่าบ้านมีเลขที่ในจังหวัดนนทบุรีตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้อง อาจเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยอีกแห่งหนึ่งนอกจากที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโจทก์จะถือเอาถิ่นที่อยู่แห่งหนึ่งแห่งใดเป็นภูมิลำเนาเพื่อยื่นฟ้องจำเลยก็ได้ กรณีควรฟังข้อเท็จจริงก่อน ที่ศาลจังหวัดนนทบุรีสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพิษณุโลกจึงเป็นการไม่ชอบ