คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 169 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451-3452/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแก้ไขข้อพิพาทแรงงาน: การหยุดงาน การเจรจา และผลผูกพันทางกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงในปัญหาข้อนี้ว่า เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 ลูกจ้างโจทก์ 250 คน ถึง 300 คน รวมทั้งจำเลยร่วมทั้งหมดได้ชุมนุมกันหน้าบริษัทโจทก์โดยไม่เข้าทำงานเพราะไม่พอใจที่โจทก์จะงดจ่ายเงินโบนัสในปี 2543 ลูกจ้างโจทก์ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อโจทก์โดยมีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง 200 คนเศษ รวมทั้งจำเลยร่วมทั้งหมด มีการแต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างเข้าร่วมในการเจรจา 8 คนในวันเดียวกันได้มีการเจรจาระหว่างผู้แทนโจทก์กับผู้แทนลูกจ้าง โดยมีพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าร่วมในการเจรจาและลงชื่อด้วย การเจรจาสามารถตกลงกันได้โดยโจทก์ตกลงจะจ่ายเงินโบนัสให้ในวันที่ 10 เมษายน 2544 และวันที่ 25 ธันวาคม 2544 โจทก์จะไม่เอาความผิดแก่ลูกจ้างทุกคนที่ไม่เข้าทำงานในวันที่ 6 ธันวาคม 2543 และให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานปกติในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 ทั้งได้นำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน 2544 โจทก์ได้จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานในขณะนั้น ดังนี้ เห็นว่า เมื่อบรรดาลูกจ้างของโจทก์ 250 คน ถึง 300 คน ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง แล้วบรรดาลูกจ้างดังกล่าวกับโจทก์ได้เจรจากันจนสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันโดยที่ไม่มีข้อตกลงใดที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่อย่างใดไม่ การที่บรรดาลูกจ้างได้รวมตัวกันหยุดงานเมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องก็ดี จำนวนผู้แทนของลูกจ้างผู้เข้าร่วมในการเจรจามีจำนวนเกินกว่าเจ็ดคนก็ดี พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าดำเนินการไกล่เกลี่ยในวันเดียวกับที่บรรดาลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องก็ดีนั้น แม้จะเป็นการผิดแผกแตกต่างจากขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ก็ตาม ก็หามีผลเป็นเหตุให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายดังที่ได้วินิจฉัยแล้วต้องตกเป็นโมฆะตามที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ไม่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานคดีนี้ได้
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2543 เวลาประมาณ 6.30 นาฬิกา จำเลยร่วมทั้งหมดกับพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้และพวกคนงานอื่นได้เริ่มมารวมตัวกันบริเวณหน้าบริษัทโจทก์ด้วยความสมัครใจเพื่อรอฟังว่าเพื่อนร่วมงานที่ชุมนุมต้องการอย่างไร หากต้องการชุมนุมต่อก็พร้อมจะชุมนุมด้วย หากจะกลับเข้าทำงานก็พร้อมที่จะเข้าทำงาน มีผู้แทนเจรจาบางคนช่วยชี้แจงถึงข้อตกลงที่ทำไว้และชักจูงให้พนักงานกลับเข้าทำงาน มีพนักงานบางคนเข้าทำงาน นาง ร. ขออนุญาตฝ่ายบริหารของโจทก์และชี้แจงให้พนักงานที่ชุมนุมทราบว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ หลังจากนั้นพนักงานทั้งหมดได้ขอกลับเข้าทำงานเมื่อเวลาประมาณ 7.15 นาฬิกา จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร ระหว่างเวลา 7 นาฬิกา ถึง 7.15 นาฬิกา แต่พนักงานเหล่านี้มิได้กระทำไปโดยมีเจตนาให้นายจ้างได้รับความเสียหายและมิได้มีเจตนากระทำความผิดอาญาต่อโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง เมื่อลูกจ้างขอกลับเข้าทำงานแล้ว ฝ่ายนายจ้างจัดให้ลูกจ้างรออยู่ที่โรงอาหาร จากนั้นผู้บริหารของโจทก์ซึ่งรวมถึงกรรมการผู้จัดการได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างเหล่านี้โดยกล่าวขอให้พนักงานร่วมมือกันทำงานและลืมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเสีย โดยผู้บริหารของโจทก์พูดในลักษณะขอให้เลิกแล้วต่อกัน ให้ร่วมมือกันทำงานต่อไปโดยจะไม่นำเรื่องใด ๆ จากเหตุการณ์นี้มาเป็นข้อบาดหมางระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอีก โจทก์ได้หักค่าจ้างลูกจ้างที่ชุมนุมกันในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 และเข้าทำงานเกินไปจากเวลาทำงานปกติเท่ากับค่าจ้างคนละ 1 ชั่วโมง ซึ่งการหักค่าจ้างนี้เป็นมาตรการอย่างหนึ่งที่โจทก์ใช้แก่พนักงานที่เข้าทำงานสายอันมีลักษณะเป็นการทำโทษพนักงานที่ทำผิดข้อบังคับในการทำงาน โจทก์จึงมีการกระทำหรือพฤติการณ์ที่ไม่ติดใจเอาโทษต่อจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในสำนวนคดีนี้โดยฝ่ายโจทก์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างและหักค่าจ้างลูกจ้างคนละ 1 ชั่วโมง สำหรับการเข้าทำงานสายในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 แล้ว โจทก์ไม่ติดใจลงโทษทางวินัยอย่างอื่นแก่ลูกจ้างเหล่านี้อีก ดังนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมทั้งหมดได้จงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเมื่อโจทก์มีพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่ติดใจเอาโทษทางวินัยแก่จำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในสำนวนคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจจะนำการกระทำใดที่บรรดาจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ได้กระทำลงไปในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 มาลงโทษด้วยการเลิกจ้างบรรดาลูกจ้างดังกล่าวได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371-4451/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงานเจรจาต่อรอง และผลผูกพันข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นนายจ้างขอให้พิจารณาจัดเงินช่วยเหลือค่าดำรงชีพแก่พนักงานและจำเลยที่ 8ยืนยันความมั่นคงในเรื่องโบนัส เปอร์เซ็นต์การขึ้นเงิน อัตรากำลังคนกับปรับปรุงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลด้วยที่ประชุมใหญ่สมาชิกสหภาพแรงงาน ท. ได้ให้การรับรองและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นตัวแทนเข้าร่วมเจรจากับจำเลยที่ 8 จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 103(2)มาตรา 13 วรรคสามและมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ได้เข้าร่วมเจรจากับจำเลยที่ 8 ตามมาตรา 16 จนทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ได้ โดยเฉพาะเงินโบนัส ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายให้ไปเจรจาย่อมทำข้อตกลงเกี่ยวกับเงินโบนัสกับจำเลยที่ 8 ได้ตามมาตรา 18 โดยมิจำต้องให้ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานท. มีมติให้การรับรองอีกครั้ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับและผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท. ตามมาตรา 19 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371-4451/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงานทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยไม่ต้องผ่านมติที่ประชุมใหญ่
การที่สหภาพแรงงาน ท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 8 (นายจ้าง) ขอให้จำเลยที่ 8 พิจารณาจัดเงินช่วยเหลือค่าดำรงชีพแก่พนักงาน ให้จำเลยที่ 8 ยืนยันความมั่นคงในเรื่องโบนัส เปอร์เซ็นต์การขึ้นเงิน อัตรากำลังคน และให้ปรับปรุงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลด้วย ซึ่งในการดำเนินกิจการอันกระทบกระเทือนถึงส่วนที่เสียของสมาชิกเป็นส่วนรวมดังกล่าว ที่ประชุมใหญ่สมาชิกสหภาพแรงงานฯ ได้ให้การรับรองและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เป็นตัวแทนเข้าร่วมเจรจาต่อรองกับจำเลยที่ 8 กรณีที่กล่าวมาจึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 103 (2) มาตรา 13 วรรคสาม และมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แล้ว ดังนั้นเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ได้เข้าร่วมเจรจาต่อรองกับจำเลยที่ 8 หลายครั้งตามมาตรา 16 จนทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ได้ โดยเฉพาะเงินโบนัสจำเลยที่ 8 ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี เฉพาะงวดการจ่ายวันที่ 30 มิถุนายน 2542 อัตราเฉลี่ย 1.4 เท่าของเงินเดือนตามเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ได้รับมอบหมายให้ไปเจรจากับจำเลยที่ 8 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ในฐานะผู้แทนของสหภาพแรงงาน ท. ที่เข้าร่วมเจรจาตกลงดังกล่าวย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเกี่ยวกับเงินโบนัสอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยที่ 8 ได้ตามมาตรา 18 โดยมิจำต้องให้ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงาน ท. มีมติให้การรับรองอีกครั้ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับและผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท.ตามมาตรา 19 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 8 ได้จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ดังกล่าวไปครบถ้วนในอัตรา 1.4 เท่าของเงินเดือนตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเอกสารหมาย จ.3 แล้ว จำเลยที่ 8 จึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสตามฟ้องให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเอ็ดสำนวนอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสภาพการจ้างต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้เป็นการแก้ไขชั่วคราว และศาลฎีกาไม่อุทธรณ์ประเด็นการรับฟังพยาน
แม้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันเวลาทำงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพการจ้างเพียงชั่วคราวก็ตามแต่กรณีก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 13 มาตรา 16 และมาตรา 18 กล่าวคือจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้ อีกฝ่ายหนึ่งทราบและทั้งสองฝ่ายต้องเจรจากันภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง หากเป็นที่ตกลงกันก็ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย ทั้งต้องปิดประกาศข้อตกลงดังกล่าวและนำไปจดทะเบียนตามกฎหมายดังกล่าวด้วย จึงจะถือว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์และจำเลยรวบรัดเกินไป จำเลยจึงไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริงและส่งเอกสารประกอบได้ทั้งหมด ทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อวิธีพิจารณา สมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจการงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่ในการเจรจาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือ ลด ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลย โดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยัง คงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่เจรจาตามกฎหมายแรงงาน การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือลดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลยโดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยังคงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจผู้แทนเจรจาข้อพิพาทแรงงาน แม้ไม่มีอากรแสตมป์ก็ผูกพันจำเลยได้ หากเป็นการแจ้งชื่อผู้แทนตามกฎหมาย
การแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนของฝ่ายรับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 16 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องกระทำในรูปแบบใด เพียงแต่บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1มอบอำนาจให้ลูกจ้างจำเลยสองคนมาเป็นผู้แทนในการเจรจาตกลงกับฝ่ายเรียกร้องจึงใช้บังคับได้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ตาม
การประนอมข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯนั้นหมายถึงทั้งสองฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานอันเกิดจากการเรียกร้องของลูกจ้างดังนั้นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยมีเหตุสืบเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้น ย่อมใช้บังคับได้
ข้อบังคับของบริษัทที่ว่าต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทนั้น หมายถึงบริษัททำการเอง ไม่ใช้แก่กิจการที่ผู้แทนบริษัททำแทนบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจผู้แทนในการเจรจาข้อพิพาทแรงงาน ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ผูกพันจำเลย หากสืบเนื่องจากข้อเรียกร้อง
การแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนของฝ่ายรับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 16 นั้น กฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องกระทำในรูปแบบใด เพียงแต่บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ลูกจ้างจำเลยสองคนมาเป็นผู้แทนในการเจรจาตกลงกับฝ่ายเรียกร้องจึงใช้บังคับได้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ตาม
การประนอมข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ นั้นหมายถึงทั้งสองฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานอันเกิดจากการเรียกร้องของลูกจ้างดังนั้นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยมีเหตุสืบเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้นย่อมใช้บังคับได้
ข้อบังคับของบริษัทที่ว่าต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทนั้น หมายถึงบริษัททำการเอง ไม่ใช้แก่กิจการที่ผู้แทนบริษัททำแทนบริษัท
of 17