พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องร้องการกำหนดรหัสประเภทกิจการและการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสมทบของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 6 และข้อ 23 ว่า สำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่า โจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ 1004"การประกอบรถยนต์" อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.6 และรหัสประเภทกิจการอื่น ๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์ โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2536 การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ 25 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 เป็นกรณีที่ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ 8 ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 1 วินิจฉัยก่อน ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ 8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่า โจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ 1004"การประกอบรถยนต์" อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.6 และรหัสประเภทกิจการอื่น ๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์ โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2536 การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ 25 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 เป็นกรณีที่ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ 8 ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 1 วินิจฉัยก่อน ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ 8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรหัสประเภทกิจการและการหมดอายุสิทธิฟ้องร้องกรณีอุทธรณ์ผลการพิจารณาของกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายน2516ข้อ6และข้อ23ว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเมื่อวันที่29เมษายน2536คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่าโจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ1004"การประกอบรถยนต์"อัตราเงินสมทบร้อยละ0.6และรหัสประเภทกิจการอื่นๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2536การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนัดแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ25ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่23กันยายน2537โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายน2516ข้อ8เป็นกรณีที่ถ้าปรากฎว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริงเมื่อไม่ปรากฎว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ8ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่1วินิจฉัยก่อนดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 พ.ศ. 2536 ได้กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ว่า (1) แอมเฟตามีน 0.500 กรัมและ (5) เมทแอมเฟตามีน 0.500 กรัม ประกอบกับพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 บัญญัติว่าให้ถือว่าวัตถุตำรับรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วยเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์จึงเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 พ.ศ. 2536 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ไว้ในครอบครองปริมาณเกิน0.500 กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทกิจการขนส่งผู้โดยสาร: การพิจารณาตามลักษณะธุรกิจที่แท้จริง แม้มีบริการอื่นประกอบ
โจทก์ทำสัญญาสัมปทานกับท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยดำเนินธุรกิจรับส่งผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยาน ซึ่งกิจการดังกล่าวต้องใช้รถยนต์และพนักงานขับ ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ตามระยะทาง กิจการของโจทก์จึงเป็นกิจการขนส่งผู้โดยสาร ไม่ใช่เป็นเพียงกิจการสำนักงานบริการ โจทก์จึงต้องจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนประเภทกิจการขนส่งรหัส 1407 ร้อยละ 1.2 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราและวิธีการเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นการทำงาน หากประสบอันตรายระหว่างนั้น นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพร เมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์
การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดเแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงาน-กลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดเแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงาน-กลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน: การบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมกีฬาถือเป็นการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของกรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตามวัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วย เมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอล เพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่งระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของกรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตามวัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วย เมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอล เพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่งระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน กรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของ กรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของ กรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง กรมแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตาม วัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วยเมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่ง ระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินโบนัสปกติไม่ถือเป็นค่าจ้างสำหรับการคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
เงินโบนัสปกติมิใช่เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงานจำเลยเรียกเก็บ จึงเป็นการเรียกเก็บ โดยมิชอบ แต่โจทก์ก็จำต้องชำระเพื่อไม่ให้ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จึงทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ได้ชำระให้จำเลย ไปตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าจำเลย เมื่อจะต้องคืนเงินดังกล่าว จึงต้องเสียดอกเบี้ย นับแต่วันที่รับเงินไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนด้วยวาจาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และสิทธิได้รับเงินทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว
โจทก์แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนด้วยวาจาขอรับเงินค่าทดแทนโดยมิได้ยื่นคำร้องตามแบบ เป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทน ฯ ข้อ 15 วรรคสอง กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 50 กำหนดตัวผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไว้ว่าถ้าไม่มีผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนจึงจะได้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคสอง มิได้หมายความว่าเมื่อผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้รับค่าทดแทนไปบางส่วนแล้วต่อมาผู้นั้นหมดสิทธิลง บุคคลตามวรรคสองเข้ารับเงินทดแทนส่วนที่เหลือต่อไปได้
สิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 50 กำหนดตัวผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไว้ว่าถ้าไม่มีผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนจึงจะได้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคสอง มิได้หมายความว่าเมื่อผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้รับค่าทดแทนไปบางส่วนแล้วต่อมาผู้นั้นหมดสิทธิลง บุคคลตามวรรคสองเข้ารับเงินทดแทนส่วนที่เหลือต่อไปได้
สิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว