คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดีตามข้อตกลงคู่ความ และการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์) เหนือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เดิมศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีไว้แล้วต่อมาคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่า ขอสละประเด็นในชั้นชี้สองสถานทั้งหมด และติดใจขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามคำแถลงที่ศาลชั้นต้นจดไว้นั้น ดังนี้ หมายความว่า ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นในชั้นชี้สองสถานคู่ความขอสละ หาได้หมายความรวมถึงข้อเท็จจริงข้อกฎหมายที่ปรากฏในคำฟ้อง คำให้การที่ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งโจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธถือว่าจำเลยยอมรับแล้วตามกฎหมายไม่ ศาลจึงย่อมนำมารับฟังและวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน
เมื่อหุ้นพิพาทที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็น หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129
ในการวินิจฉัยคดีศาลต้องนำกฎหมายมาปรับแก่คดีให้ตรงตามรูปคดีที่พิพาทกัน ไม่จำต้องพิพากษาไปตามคำแถลงของคู่ความหรือตามความประสงค์ของคู่ความ เมื่อฟังว่าเป็นเรื่องพิพาทกันตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันเป็นกฎหมายพิเศษก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่ แม้จะเป็นความประสงค์ของคู่ความหรือคู่ความแถลงขอก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น: สิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ส่งมอบใบหุ้นตามกำหนด และผลของการประพฤติผิดสัญญาของตัวแทน
ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 35 ผู้ที่เข้าเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์จำต้องยินยอมผูกพันตนเองตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกประการ ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้สั่งซื้อหุ้นมิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ต้องใช้ข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นจะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขาย ยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนซื้อขายหุ้น: สัญญาไม่ได้ยึดถือระเบียบตลาดหลักทรัพย์เป็นสาระสำคัญ แม้ไม่ปฏิบัติตามก็ไม่กระทบต่อการซื้อขาย
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยโจทก์ได้ประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปในการซื้อหุ้นและเงินค่าบำเหน็จในการซื้อขายส่วนจำเลยจะได้ประโยชน์หากขายหุ้นได้กำไรวัตถุประสงค์อันแท้จริงของโจทก์จำเลยจึงเป็นการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงมากกว่าประสงค์ที่จะให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงอันจะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129จึงถือได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้ยึดถือเอาระเบียบข้อบังคับและกฎหมายในเรื่องตลาดหลักทรัพย์มาเป็นสาระสำคัญในสัญญาดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายในเรื่องตลาดหลักทรัพย์ก็หาทำให้หุ้นที่โจทก์ซื้อไว้ตามคำสั่งของจำเลยมิใช่หุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนซื้อขายหุ้น: วัตถุประสงค์การเก็งกำไร ไม่ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยโจทก์ได้ประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปในการซื้อหุ้นและเงินค่าบำเหน็จในการซื้อขาย ส่วนจำเลยจะได้ประโยชน์หากขายหุ้นได้กำไร วัตถุประสงค์อันแท้จริงของโจทก์จำเลยจึงเป็นการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงมากกว่าประสงค์ที่จะให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง อันจะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงถือได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้ยึดถือเอาระเบียบข้อบังคับและกฎหมายในเรื่องตลาดหลักทรัพย์มาเป็นสาระสำคัญในสัญญา ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายในเรื่องตลาดหลักทรัพย์ ก็หาทำให้หุ้นที่โจทก์ซื้อไว้ตามคำสั่งของจำเลยมิใช่หุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นโดยตัวแทนตามสัญญา และสิทธิในการบังคับหลักประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่ทำให้การที่จำเลยนำหุ้น ของโจทก์ออกขายเป็นการไม่ชอบไว้ 2 ประการคือจำเลยบังอาจขายหุ้นของโจทก์ให้แก่บริษัทในเครือของจำเลยไปโดยพลการ ไม่ได้รับความยินยอมและอนุญาตจากโจทก์ประการหนึ่ง และนำหุ้นของโจทก์ที่จำนำไว้แก่จำเลยออกขายโดยไม่แจ้งบังคับจำนำเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 764 การขายจึงเป็นโมฆะอีกประการหนึ่ง เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มิได้จำนำหุ้นไว้แก่จำเลย การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้อธิบายให้กระจ่างเพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยนำหุ้นของโจทก์ไปจำนำไว้แก่จำเลยแล้ว จำเลยนำหุ้นของโจทก์ออกขายเป็นการไม่ชอบจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จะยกขึ้นฎีกามิได้
คำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เอกสารหมาย ล.1 ตอนต้นมีความว่าโจทก์ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ เพื่อซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อจัดการขายหลักทรัพย์แทนโจทก์ในการทำการดังกล่าวนี้ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ทางโทรศัพท์หรือทางหนังสือ ซึ่งจะแจ้งหรือส่งให้เป็นคราวๆ แต่ความในหน้า 2 วรรคสามตอนท้ายมีว่า '............... และในกรณีที่ข้าพเจ้า / เราไม่ชำระเงินให้ท่านภายในระยะเวลาที่ท่านกำหนดหรือข้าพเจ้า / เราไม่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นให้ครบถึงร้อยละ 30 ตามเงื่อนไขในวรรคก่อน ข้าพเจ้า /เรายินยอมให้ท่านปิดบัญชีได้ทันทีและยอมให้ท่านนำหลักทรัพย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า / เราที่ท่านซื้อไว้แทนออกขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเอาเงินสุทธิที่ได้มาชำระหนี้ที่ค้างอยู่ ...........' ดังนี้ การขายหุ้นของโจทก์ตามข้อความในหน้า 2 วรรคสามตอนท้ายของเอกสารหมาย ล.1 เป็นกรณีที่จำเลยกระทำได้เองตามอำนาจในสัญญาหาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ดังกรณีในหน้า 1 ตอนต้นอันเป็นเรื่องกระทำแทนไม่
แม้เมื่อจำเลยขายหุ้นของโจทก์ไปแล้วได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือมีข้อความว่าถ้าหากจำเลยไม่ได้รับการคัดค้านจากโจทก์ภายใน 3 วัน จำเลยจะถือว่ารายการที่แจ้งไปยังโจทก์ถูกต้องสมบูรณ์ก็ตาม แต่มิได้หมายความว่า หากโจทก์คัดค้านแล้วต้องถือว่ารายการที่แจ้งไปยังโจทก์ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ การที่โจทก์ได้แจ้งคัดค้านไปยังจำเลยภายในกำหนดว่าจำเลยไม่มีสิทธินำหุ้นของโจทก์ออกขายจึงหามีผลในการกระทำของจำเลยซึ่งชอบอยู่แล้วกลับกลายเป็นไม่ชอบไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นตามคำสั่ง: การพิสูจน์การซื้อหุ้นตรงตามคำสั่ง และการจัดสรรหุ้นที่ไม่ผูกติดกับหมายเลขหุ้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นที่สั่งซื้อ จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์มิได้สั่งซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลย ณ วันที่สั่งซื้อหุ้นที่นำมาฟ้องโจทก์ซื้อภายหลังวันที่จำเลยสั่งซื้อ เมื่อหุ้นที่โจทก์ซื้อ ณ วันที่จำเลยสั่งซื้อ ตรงตามคำสั่ง ส่วนลูกหุ้นที่เกินเป็นการซื้อจากบริษัทเจ้าของหุ้นมิใช่ซื้อจากตลาดหลักทรัพย์ แสดงว่าโจทก์ได้ซื้อหุ้นที่นำมาฟ้องตรงตามคำสั่งของจำเลย ณ วันสั่งซื้อ และเป็นการซื้อหุ้นโดยทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย
บริษัทหลักทรัพย์โจทก์อาจซื้อหุ้นเพื่อลูกค้าหลายรายซึ่งสั่งซื้อหุ้นบริษัทเดียวกันและมีราคาเดียวกันได้ และตามระเบียบจะต้องมีการจัดสรรหุ้น ดังนั้นหมายเลขหุ้นที่ลูกค้าสั่งซื้อจึงไม่แน่นอนแล้วแต่การจัดสรรว่าลูกค้าที่สั่งซื้อหุ้นแต่ละรายจะได้หุ้นหมายเลขอะไร
เมื่อรับแจ้งจากโจทก์ว่าซื้อหุ้นให้แล้ว จำเลยมีสิทธิสั่งขายหุ้นได้ไม่เคยเกิดปัญหาว่าสั่งแล้วโจทก์ส่งมอบใบหุ้นให้ผู้ซื้อไม่ได้ เมื่อซื้อหุ้นได้แล้ว ถ้าจำเลยไม่นำเงินไปชำระใน 4 วัน จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12.5 ต่อปีแต่ถ้าสั่งขายภายใน 4 วัน ก็ไม่ต้องชำระเงินเพราะโจทก์จะนำมาหักกลบลบกัน ถ้ามีกำไร โจทก์ก็จะจ่ายส่วนที่เป็นกำไรให้จำเลย ถ้าขาดทุนจำเลยก็จะต้องนำส่วนที่ขาดทุนไปชำระให้แก่โจทก์ไม่เคยปรากฏในทางปฏิบัติว่าการสั่งซื้อขายหุ้นจะต้องแจ้งหมายเลขหุ้นที่ซื้อหรือขายแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายหน้าซื้อขายหุ้น: สิทธิเรียกร้องค่าหุ้นและดอกเบี้ยเมื่อผู้สั่งซื้อผิดนัดชำระ
โจทก์เป็นบริษัทหลักทรัพย์และเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ส่วนจำเลยมิใช่บริษัทหลักทรัพย์ และมิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์โจทก์จึงมีสิทธิทำการเป็นนายหน้าของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาตรา 20 วรรคสอง โดยต้องอยู่ในข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งออกตามความใน มาตรา 15(8)แห่ง พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อโจทก์ซื้อหุ้น ตามคำสั่ง ของจำเลยและได้ชำระราคาให้สมาชิกผู้ขายไปตามข้อบังคับ ของตลาดหลักทรัพย์ โจทก์จึงชอบที่จะเรียกเงินจำนวนที่ชำระแทนไปจากจำเลยพร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด ส่วนอัตราดอกเบี้ยเมื่อโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลง กำหนดไว้โดยนิติกรรม ต้องถืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
of 3