พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งปริมาณการผลิตล่าช้าถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้า แม้ไม่มีผลเสียต่อราชการ
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าควบคุมแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาส (3 เดือน) ต่อเลขาธิการภายในเดือนแรกของไตรมาส(3 เดือน) ถัดไป ย่อมหมายถึงว่าผู้ผลิตสินค้าควบคุมมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแจ้งปริมาณการผลิตภายในเวลาที่กำหนด การที่จำเลยจัดทำแบบแจ้งปริมาณการผลิตเสร็จเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 แล้วไม่ยื่นแบบแจ้งต่อเลขาธิการคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดภายในวันที่ 30 เมษายน 2528 จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มาตรา 43
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าฯ การยกเลิกรายละเอียดหลักเกณฑ์ความผิด ไม่ทำให้ความผิดสำเร็จก่อนหน้านั้นพ้นผิด
การกระทำที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 43คือ การฝ่าฝืนประกาศที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดใช้อำนาจประกาศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 เมื่อคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดอาศัยอำนาจตามมาตรา 24(3)(4)(5) ออกประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528แล้ว จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนประกาศดังกล่าว ย่อมมีความผิดตามมาตรา 43 ส่วนประกาศดังกล่าวข้อ 5 เป็นการกำหนดรายละเอียดของการกระทำที่จะถือว่าอย่างไรเป็นการฝ่าฝืน ซึ่งเป็นการกำหนดรายละเอียดในส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ของความผิด ไม่ใช่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์แห่งความผิดตามมาตรา 43 การที่ต่อมาได้มีประกาศฉบับที่ 101 พ.ศ. 2529 ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศดังกล่าวจึงเป็นการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิด ไม่ใช่เป็นการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าประกาศฉบับที่ 101 เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำที่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.ราคาสินค้าฯ การออกประกาศแก้ไขหลักเกณฑ์ความผิดไม่ยกเลิกความผิดที่กระทำสำเร็จแล้ว
การกระทำที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 43 คือการฝ่าฝืนประกาศที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดใช้อำนาจประกาศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ประกาศดังกล่าวเป็นการกำหนดรายละเอียดของการกระทำที่ถือว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการฝ่าฝืน อันเป็นการกำหนดรายละเอียดในส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ของความผิด มิใช่กำหนดหลักเกณฑ์แห่งความผิดตามมาตรา 43 เมื่อคณะกรรมการฯ ออกประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528แล้ว จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนความในข้อ 5 ของประกาศนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 43 แม้ต่อมามีประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528ก็เป็นเพียงการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดมิใช่เป็นการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำที่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยที่ 2จึงมิใช่ผู้ที่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายบทเดียว กรณีปิดทับราคาควบคุมสินค้าและจำหน่ายเกินราคา ศาลไม่เห็นพ้องกับการริบของกลาง
การที่จำเลยปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตาม กฎหมายที่สินค้าควบคุมเพื่อไม่ให้ราคาที่พิมพ์ไว้ปรากฏ และจำหน่ายสินค้าควบคุมนั้นไปตาม ราคาที่ปิดทับซึ่ง สูงกว่าราคาควบคุม เป็นการกระทำโดย มีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียว กันและต่อเนื่องกัน ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายฉบับ เดียว กัน มีบท ลงโทษบทเดียว กัน เป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว น้ำมันหล่อลื่นอันเป็นสินค้าควบคุมที่จำเลยจำหน่ายไปเกินกว่าราคาควบคุมมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33(1) เพราะความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางตาม มาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฯ ปัญหาเรื่องริบของกลางเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบของกลางในคดีฝ่าฝืนกฎหมายกำหนดราคาสินค้า: ต้องเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือได้มาจากการกระทำผิด
จำเลยมีน้ำตาลทรายปริมาณเกิน 1,000 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองโดยมิได้ยื่นคำขอและรับอนุญาตจากเลขาธิการหรือประธานกรรมการส่วนจังหวัด อันเป็นการฝ่าฝืน ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฯลฯแต่น้ำตาลทรายดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิด ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522 มาตรา 40 เป็นเรื่องให้อำนาจศาลอันเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับ และเงินรางวัลแก่ผู้จับ จาก เงินสุทธิค่าขายของกลางที่ศาลมีคำสั่งริบไว้แล้ว จึงมิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลสั่งริบของกลาง
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522 มาตรา 40 เป็นเรื่องให้อำนาจศาลอันเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับ และเงินรางวัลแก่ผู้จับ จาก เงินสุทธิค่าขายของกลางที่ศาลมีคำสั่งริบไว้แล้ว จึงมิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลสั่งริบของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิด พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าฯ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการมีน้ำตาลทรายเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด ไม่เข้าข่ายทรัพย์สินที่ใช้หรือได้มาจากการกระทำผิด จึงไม่มีอำนาจริบ
จำเลยมีน้ำตาลทรายปริมาณเกิน 1,000 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองโดยมิได้ยื่นคำขอและรับอนุญาตจากเลขาธิการหรือประธานกรรมการส่วนจังหวัด อันเป็นการฝ่าฝืน ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้า และป้องกันการผูกขาด ฯลฯ แต่น้ำตาลทรายดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิด ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522 มาตรา 40 เป็นเรื่องให้อำนาจศาลอันเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับ และเงินรางวัลแก่ผู้จับ จากเงินสุทธิค่าขายของกลางที่ศาลมีคำสั่งริบไว้แล้ว จึงมิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลสั่งริบของกลาง
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522 มาตรา 40 เป็นเรื่องให้อำนาจศาลอันเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับ และเงินรางวัลแก่ผู้จับ จากเงินสุทธิค่าขายของกลางที่ศาลมีคำสั่งริบไว้แล้ว จึงมิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลสั่งริบของกลาง