พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความในคดีละเมิดเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ ศาลพิจารณาว่าวันเริ่มต้นทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายของอายุความ
เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 เมื่อนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ ศาลหยุดทำการ ซึ่งตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง: ผลกระทบต่อโจทก์และจำเลย, การรับอุทธรณ์เฉพาะประเด็นกฎหมาย
ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งที่จะต้องเข้าลักษณะทั่วไปตามป.วิ.พ.มาตรา 55 คือ ตามฟ้องนั้นมีสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งโต้แย้งกันอยู่พร้อมบริบูรณ์แล้วจึงจะฟ้องร้องกันได้
ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม มิได้บังคับให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การ แต่เป็นบทบัญญัติให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะเห็นสมควร แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้กระทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้โจทก์กลายเป็นลูกหนี้ ดังนั้น การฟ้องคดีของโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2)ก็เป็นผลเฉพาะโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย จำเลยฟ้องแย้งเมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงเหตุแห่งการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
อุทธรณ์ของจำเลยมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาเรื่องอายุความซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงต้องยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายดังกล่าวโดยไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นการชอบด้วยวิธีพิจารณาความตามกฎหมายแล้ว
ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม มิได้บังคับให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การ แต่เป็นบทบัญญัติให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะเห็นสมควร แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้กระทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้โจทก์กลายเป็นลูกหนี้ ดังนั้น การฟ้องคดีของโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2)ก็เป็นผลเฉพาะโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย จำเลยฟ้องแย้งเมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงเหตุแห่งการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
อุทธรณ์ของจำเลยมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาเรื่องอายุความซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงต้องยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายดังกล่าวโดยไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นการชอบด้วยวิธีพิจารณาความตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดและการรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากผู้รับจ้าง
แม้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 6 และที่ 7 ตอกเสาเข็มในการก่อสร้างภัตตาคาร แต่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 มิได้ปล่อยให้จำเลยที่ 6 และที่ 7 ตอกเสาเข็มไปตามแบบแปลนโดยลำพัง จำเลยที่ 1 ให้ ก. เป็นวิศวกรผู้ควบคุมดูแลการตอกเสาเข็มทั้งหมด ก. จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เมื่อ ก. เห็นแล้วว่าการตอกเสาเข็มของจำเลยที่ 6 และที่ 7 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่มิได้สั่งห้ามหรือให้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานเพื่อมิให้โจทก์ต้องเสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำด้วย
อายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความว่าต้องรู้ครบทั้งสองประการ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์พบความเสียหายของรั้วและบ้านของโจทก์กับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 จำเลยที่ 1 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่าความเสียหายเกิดก่อนเดือนธันวาคม 2533 แต่มิได้ฎีกาโต้เถียงเรื่องที่โจทก์รู้ตัวว่าผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2534 คดีจึงไม่ขาดอายุความ
อายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความว่าต้องรู้ครบทั้งสองประการ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์พบความเสียหายของรั้วและบ้านของโจทก์กับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 จำเลยที่ 1 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่าความเสียหายเกิดก่อนเดือนธันวาคม 2533 แต่มิได้ฎีกาโต้เถียงเรื่องที่โจทก์รู้ตัวว่าผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2534 คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและประกันภัยแยกกันได้ การฟ้องจำเลยในฐานะผู้ละเมิดขาดอายุความไม่กระทบอายุความฟ้องจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัย
จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง แสดงว่าอายุความฟ้องจำเลยทั้งสองสามารถแยกออกจากกันได้อีกทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้นฉะนั้น การฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลละเมิดจึงขาดอายุความ 1 ปีย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องให้จำเลยที่ 2รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบทำให้เริ่มนับอายุความ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกชนกับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ซึ่ง ป. เป็นผู้ขับเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายและ ป. ได้รับบาดเจ็บ ป. รู้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันเกิดเหตุแล้ว โจทก์เป็นภริยาของ ป. และอยู่บ้านเดียวกันเชื่อได้ว่าโจทก์จะต้องรู้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์อย่างช้าก็ในช่วงที่ ป. รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี 1 เดือนเศษ จึงต้องฟังว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้1 ปีเศษแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้
การที่จำเลยนำค่ารักษาพยาบาลไปชำระให้แก่ ป. เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อ ป. และเมื่อมิใช่หนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงหาทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ไม่
เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้
การที่จำเลยนำค่ารักษาพยาบาลไปชำระให้แก่ ป. เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อ ป. และเมื่อมิใช่หนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงหาทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: การรับสภาพหนี้ต่อผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้นที่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกชนกับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ซึ่ง ป.เป็นผู้ขับ เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายและ ป.ได้รับบาดเจ็บ ป.รู้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันเกิดเหตุแล้ว โจทก์เป็นภริยาของ ป.และอยู่บ้านเดียวกันเชื่อได้ว่าโจทก์จะต้องรู้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์อย่างช้าก็ในช่วงที่ ป.รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี 1 เดือนเศษ จึงต้องฟังว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้1 ปีเศษแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1)ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้
การที่จำเลยนำค่ารักษาพยาบาลไปชำระให้แก่ ป. เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อ ป. และเมื่อมิใช่หนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงหาทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1)ไม่
เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1)ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้
การที่จำเลยนำค่ารักษาพยาบาลไปชำระให้แก่ ป. เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อ ป. และเมื่อมิใช่หนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงหาทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การพิจารณาประเภทคดีและระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องโต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาปรับเข้ากับตัวบทกฎหมาย โดยไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง แต่เป็น ฎีกาในข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยครอบครองหรือยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ แล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ดังกล่าวคืนดังที่โจทก์ฎีกาไม่ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นับแต่เวลาที่จำเลยกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องตามเจ้าของรถจริงหรือไม่
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ พ.เจ้าของรถยนต์ไม่ใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย และข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย พ. เจ้าของรถยนต์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาและถือไม่ได้ว่า พนักงานอัยการฟ้องคดีแทน พ.แม้พ. จะเป็นโจทก์ ฟ้องคดีเองก็ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองต้องใช้อายุความ 1 ปี เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.ได้ซ่อมรถยนต์ให้พ. ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่ พ. มีอยู่ในมูลหนี้ต่อ จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิ ของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปีเช่นกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด และการกระทำละเมิดนั้นเป็นความผิดอาญาด้วยดังนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดจากการกระทำโดยประมาท: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา และอายุความ 1 ปี
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 152 เจ้าของรถยนต์ที่จำเลยขับชนได้รับความเสียหายย่อมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 56, 152 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนเจ้าของรถยนต์ดังนี้ การที่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้ พ.ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้ พ.ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยซ่อมรถแล้วฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ต้องใช้อายุความ 1 ปี
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 56,152 เจ้าของรถยนต์ที่จำเลยขับชนได้รับ ความเสียหายย่อมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56,152 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนเจ้าของรถยนต์ ดังนี้ การที่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จากพ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้พ.ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของพ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของพ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด