พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ชดใช้
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกไป ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเป็นเหตุ ให้ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกไปเกี่ยวสายเคเบิลโทรศัพท์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2536โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2536 หนังสือดังกล่าวลงนามโดย ส.หัวหน้ากองบำรุงรักษาที่ 1 ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย มีข้อความว่า จำเลยที่ 1กระทำละเมิดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าเสียหาย 243,230 บาทไปชำระ หากไม่ชำระโจทก์จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ จะถึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าส. ได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้แทนโจทก์โดยชอบ และถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าที่สุดในวันที่ 30 สิงหาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2537 พ้นกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: เริ่มนับเมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องชดใช้
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกไปเกี่ยวสายเคเบิลโทรศัพท์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2536โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม2536 หนังสือดังกล่าวลงนามโดย ส.หัวหน้ากองบำรุงรักษาที่ 1 ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าเสียหาย 243,230 บาท ไปชำระ หากไม่ชำระโจทก์จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ส.ได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้แทนโจทก์โดยชอบ และถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าที่สุดในวันที่ 30 สิงหาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30 กันยายน 2537 พ้นกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นสำคัญ
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกไปในทางการ ที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ตู้คอนเทนเนอร์ ที่บรรทุกไปเกี่ยวสายเคเบิลโทรศัพท์ของโจทก์ได้รับความเสียหายต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2536 โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกให้ จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายลงวันที่ 30 สิงหาคม 2536 หนังสือดังกล่าวลงนามโดยส. หัวหน้ากองบำรุงรักษาที่ 1 ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย มีข้อความ ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิด และให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าเสียหายไปชำระ หากไม่ชำระโจทก์จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป แสดงอยู่ ในตัวว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ส. ได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้แทนโจทก์โดยชอบ และถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าที่สุด ในวันที่ 30 สิงหาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30กันยายน 2537 พ้นกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดทางการแพทย์: ความประมาทเลินเล่อของแพทย์, ค่าเสียหาย, และอายุความ
จำเลยที่ 2 ทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปทำการผ่าตัดแก้ไขที่คลินิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึง ให้แพทย์อื่นทำการรักษาต่อ แม้ตัวโจทก์และนายแพทย์ ด. ผู้ทำการรักษาโจทก์ต่อจากจำเลยที่ 2 จะไม่สามารถ นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัด และรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ ผ่าตัด จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและ พฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่ นายแพทย์ ด. ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมา มีข้อบกพร่องจึงต้องแก้ไขและแสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัด และไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ ถึงขั้นตอนการรักษา ระยะเวลา และกรรมวิธีในการดำเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความ ประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ พฤติการณ์ที่โจทก์ติดต่อรักษากับจำเลยที่ 2 ที่คลินิกและตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลจำเลยที่ 1โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 จำนวน 70,000 บาทให้จำเลยที่ 1 จำนวน 30,000 บาท ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นนายจ้างหรือตัวการที่ต้องร่วมรับผิด ในส่วนของค่าเสียหายนอกจากส่วนที่มีใบเสร็จแม้โจทก์จะมีอาการเครียด อยู่ก่อนได้รับการผ่าตัดจาก จำเลยที่ 2 แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิมความเครียด ของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิด และแม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดงว่าได้เสียเงินไปเป็นจำนวนเท่าใดแน่นอน แต่น่าเชื่อว่าโจทก์ ต้องรักษาจริง ศาลเห็นสมควรกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้ สำหรับค่าเสียหายอื่นนั้นเมื่อปรากฏว่าหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึง ไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อื่นอันมิใช่ตัวเงิน เหตุละเมิดเกิดวันที่ 12 เมษายน 2537 ต้องฟ้อง ภายใน 1 ปี ครบกำหนดตรงกับวันหยุดสงกรานต์วันที่ 12 ถึง 14 เมษายน วันที่ 15 และ 16 เมษายน 2538 เป็นวันเสาร์อาทิตย์ ราชการหยุดทำการ โจทก์ยื่นฟ้อง วันเปิดทำการวันที่ 17 เมษายน 2537 ได้ คดีไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด และละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
แม้คำว่า "เจ้าสาว" จะเป็นคำสามัญ แต่จำเลยเอาชื่อคำว่า "เจ้าสาว" มาใช้โดยจงใจให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าร้านของจำเลยคือร้านของโจทก์หรือเป็นสาขาหรือเกี่ยวข้องกับร้านของโจทก์ การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันแม้มิได้อยู่ในทำเลละแวกเดียวกันลูกค้าที่นิยมในชื่อเสียงของร้านโจทก์อาจจะเข้าใจผิดไปตัดเย็บหรือซื้อชุดวิวาห์จากร้านของจำเลยอันเป็นการแย่งลูกค้าจากโจทก์ไปส่วนหนึ่งและหากร้านจำเลยตัดเย็บชุดวิวาห์มีคุณภาพไม่ดีหรือประกอบกิจการไม่เป็นที่พอใจแก่ลูกค้าก็อาจกระทบต่อชื่อเสียงของร้านโจทก์ให้ต้องเสื่อมเสียไปด้วยย่อมส่งผลต่อรายได้ของโจทก์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิในการใช้นามที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 และเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยระงับการกระทำดังกล่าวได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำคำว่า "เจ้าสาว" ซึ่งเป็นชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายสินค้าของจำเลย โดยไม่มีสิทธิและเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์นั้น ตราบใดที่จำเลยยังคงใช้คำดังกล่าวอยู่จนถึงวันฟ้อง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องตลอดมา โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยระงับการกระทำนั้นอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7324-7325/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากละเมิดของลูกน้อง และการคำนวณอายุความคดีละเมิด
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดำรงตำแหน่งในระดับผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่กองของกลางและของตกค้าง มีหน้าที่สอดส่องดูแล ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงมิใช่เจ้าหน้าที่ผู้ลงมือปฏิบัติในการเก็บรักษาของกลางโดยตรง หากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มิได้ทำละเมิดหรือร่วมกับบุคคลอื่นทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เสียเอง หรือมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้คนร้ายลักลอบเอาของมีค่าซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยที่เกิดเหตุไปได้แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดไม่ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และเป็นผู้ลงมือปฏิบัติในการเก็บรักษาของกลางโดยตรงได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้คนร้ายลักลอบเอาของมีค่าในตู้นิรภัยของโจทก์ไป จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและประมาทเลินเล่อ ปล่อยปละละเลย ไม่ได้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์ จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 448 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน..." โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคล มีอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทน ความประสงค์ของโจทก์ย่อมแสดงออกโดยอธิบดีของโจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่อธิบดีของโจทก์ลงนามทราบผลสรุปรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง เมื่อนับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 448 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน..." โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคล มีอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทน ความประสงค์ของโจทก์ย่อมแสดงออกโดยอธิบดีของโจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่อธิบดีของโจทก์ลงนามทราบผลสรุปรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง เมื่อนับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทายาท, ค่าขึ้นศาล, ปัญหาความสงบเรียบร้อย
เมื่ออายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ซึ่งเป็นคุณแก่ ส.ผู้ตายจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ส.ตาย สิทธิของโจทก์ผู้ถูกกระทำละเมิดที่จะฟ้องทายาทผู้รับมรดกของ ส.จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 193/23 โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.ในวันที่ยังไม่ครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันอันเป็นวันที่ ส.ตาย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดและการฟ้องทายาท: คดีไม่ขาดอายุความหากฟ้องภายในหนึ่งปีนับจากวันตายของผู้ถูกละเมิด
เมื่ออายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 ซึ่งเป็นคุณแก่ ส. ผู้ตายจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ส. ตาย สิทธิของโจทก์ผู้ถูกกระทำละเมิดที่จะฟ้องทายาทผู้รับมรดกของ ส. จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา193/23 โจทก์ ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. ในวันที่ยังไม่ครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันอันเป็นวันที่ ส. ตาย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยกรณีรถชนจากความประมาทของผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้า และเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงชำระค่าเสียหายให้ลูกค้าไป ดังนี้เมื่อทรัพย์ที่เสียหายอยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกค้าไปตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิในความเสียหายนั้นและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกของนายจ้างผู้กระทำละเมิดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ส. และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ.ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ส. และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ.ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับช่วงสิทธิจากความเสียหายทางละเมิด และอายุความฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้า และเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับ จำเลย โจทก์จึงชำระค่าเสียหายให้ลูกค้าไป ดังนี้เมื่อทรัพย์ที่เสียหายอยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ลูกค้าไปตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิในความเสียหายนั้นและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย รถบรรทุกของนายจ้างผู้กระทำละเมิดได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของส.และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ. ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วยเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้อง ไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย รถยนต์คันที่ ส. ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย