พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินที่ถูกยักยอกในสัญญาฟื้นฟูป่า ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าศูนย์ปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ มีหน้าที่กำหนดแผนงานศูนย์ ควบคุมบังคับบัญชากำกับการมอบหมายงานในการฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวได้เบิกเงินงบประมาณของโจทก์ไปดำเนินการฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติตามแผนงานที่โจทก์กำหนด และจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ไม่ได้ปลูกสร้างสวนป่าทดแทนให้ได้ครบจำนวนตามที่โจทก์กำหนด กลับเบียดบังยักยอกเงินงบประมาณของโจทก์ไป ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินงบประมาณที่ยักยอกไปแก่โจทก์กรณีจึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1336 ไม่ใช่เรื่องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงนำอายุความตามมาตรา448 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา1336 ประกอบด้วยมาตรา 1382 และ 1383 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนทรัพย์ฝากไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้มีคดีอาญาเรื่องยักยอกแล้ว
แม้ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกและมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายด้วยก็ตาม แต่เมื่อในคำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องนั้นวินิจฉัยว่า คดีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยอาจไม่ได้เบียดบังข้าวเปลือกของโจทก์ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยเมื่อไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งด้วยหรือไม่ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเพื่อให้รับผิดเป็นคดีแพ่งจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝาก โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝาก โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: นับจากวันกระทำละเมิด หรือวันจ่ายเงินค่าเสียหาย? ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความนับจากวันกระทำละเมิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายดังกล่าวขาดอายุความ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเกินสิบปีแล้วนับถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง คดีโจทก์จึงขาดอายุความ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448ที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ผู้ถูกละเมิดได้รับเงินจากการทำละเมิดของจำเลยผู้ทำละเมิดเมื่อใด ซึ่งวันทำละเมิดนั้นย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหาย ส่วนจะได้จ่ายเงินเพราะความเสียหายนั้นเมื่อใด ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันทำละเมิดกับวันจ่ายเงินจากการทำละเมิดจึงแตกต่างกันวันจ่ายเงินจากการทำละเมิด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวัน ทำละเมิดเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินสิบปีนับจากวันทำละเมิดแล้วแม้โจทก์จะฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์ก็ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: นับจากวันทำละเมิด ไม่ใช่วันจ่ายเงินค่าเสียหาย
ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก ได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวขาดอายุความ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเกินสิบปีแล้วนับถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องคดีโจทก์จึงขาดอายุความ บทบัญญัติของ ป.พ.พ.มาตรา 448 ที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ผู้ถูกละเมิดได้จ่ายเงินจากการทำละเมิดของจำเลยผู้ทำละเมิดเมื่อใด ซึ่งวันทำละเมิดนั้นย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหาย ส่วนจะได้จ่ายเงินเพราะความเสียหายนั้นเมื่อใด ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันทำละเมิดกับวันจ่ายเงินจากการทำละเมิดจึงแตกต่างกัน วันจ่ายเงินจากการทำละเมิด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวันทำละเมิด ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินสิบปีนับจากวันทำละเมิดแล้วแม้โจทก์จะฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์ก็ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดกับการหมดอายุความ การแย่งการครอบครอง และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็นในศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่ ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย จากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย จากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและการแย่งการครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็นในศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถ ที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหายจากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการธนาคารต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการบริหารจัดการธุรกิจ หากปล่อยปละละเลยจนเกิดความเสียหายต้องรับผิด
มีการปล่อยสินเชื่อจำนวน 28 ราย โดยไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารโจทก์ การให้สินเชื่อทั้ง 28 ราย ไม่เคยนำเข้าคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อ คณะกรรมการสะสางหนี้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ต่างก็เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ต่างวาระกัน มีหน้าที่ดูแลกิจการทั้งหมดของธนาคารโจทก์ให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารที่ได้วางไว้ตลอดถึงการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ เมื่อมีการปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน การค้ำประกันและอาวัลตั๋วเงินไม่เป็นไปตามระเบียบปกติของธนาคาร มิได้เร่งรัดติดตามหนี้สิน หรือดำเนินการใด เพื่อแก้ไขหนี้ดังกล่าว เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ สำหรับจำเลยที่ 4 แม้มิใช่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แต่มีหน้าที่ดูแลด้านสินเชื่อภายในประเทศ ซึ่งได้มีการสรุปภาระหนี้สินของธนาคารโจทก์เสนอต่อจำเลยที่ 4 หลายครั้ง เพื่อให้สั่งการ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 มิได้สั่งการแต่ประการใด เป็นเหตุให้ไม่สามารถติดตามหนี้สินจากลูกหนี้ของธนาคารโจทก์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากลูกหนี้ทั้ง 28 ราย ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นบริษัทซึ่งกรรมการของโจทก์หลายคนเป็นกรรมการในบริษัทลูกหนี้หลายบริษัทหรือมิฉะนั้นเป็นเพื่อนสนิทของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และระเบียบปฏิบัติของธนาคารโจทก์ จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ป.พ.พ. มาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการบริษัทของกรรมการ ซึ่งอำนาจของกรรมการจะมีเพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 1158 ถึง 1164 ส่วนมาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งโดยมาตรา 1168 วรรคแรก บัญญัติให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ส่วนวรรคสองหมายถึงกิจการที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมากขึ้น หาได้หมายความว่า กรรมการจะต้องร่วมกันรับผิดเฉพาะกิจการ 4 ประการ ที่บัญญัติในวรรคสอง มาตรา 1168 เท่านั้นไม่ เมื่อมาตรา 1168 บัญญัติให้กรรมการทุกคนต้องมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่อง การจะเป็นกรรมการของบริษัทใด กรรมการผู้นั้นจึงต้องประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการของบริษัทนั้นด้วย มิฉะนั้นกรรมการก็ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการให้ดีได้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีความหมายตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ก. ให้สินเชื่อ ข. ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ค. ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และอาจกระทำธุรกิจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ทวิ คือธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการธนาคารพาณิชย์ หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำ เช่น การเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน การออกเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือการค้ำประกันหรือธุรกิจทำนองเดียวกันด้วย ซึ่งเมื่อมีการดำเนินการประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อไปแล้ว ก็จะต้องมีหน้าที่ติดตามประเมินผลและเร่งรัดจัดเก็บหนี้ดังกล่าวให้ได้ด้วย มิฉะนั้นก็จะทำให้การประกอบธุรกิจธนาคารมีข้อขัดข้อง และทำให้สินทรัพย์ขาดสภาพคล่อง ดังนั้น ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์จึงต้องอาศัยกรรมการผู้มีความรอบรู้ในธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย เพื่อให้เอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการของธนาคารให้ลุล่วงไปด้วยดี การที่ธุรกิจของโจทก์ประสบปัญหามาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2523 ไม่ว่าการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ในระดับไม่พอใช้จนถึงด้อยคุณภาพ จัดชั้นเป็นสูญและสงสัยจำนวนสูง การแสดงผลกำไรตั้งแต่ปี 2522 ผิดพลาดเพราะแท้จริงแล้วธุรกิจของโจทก์ขาดทุนมิใช่กำไร มีการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้บริหารมาก แม้ว่าการให้สินเชื่อดังกล่าวจะไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 12 (2) และมาตรา 12 ทวิ ก็ตาม แต่หนี้ในกลุ่มดังกล่าว หลักประกันไม่คุ้มหรือไม่มีเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 เป็นกรรมการของโจทก์ มีหน้าที่ต้องดูแลการบริหารกิจการของโจทก์มิให้เสียหาย กลับปล่อยให้มีการให้สินเชื่อโดยหลักประกันไม่คุ้ม เมื่อหนี้ถูกจัดเป็นหนี้เสียก็มิได้เร่งรัดติดตามหนี้ แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก็หาได้ดำเนินการใดเพื่อแก้ไขไม่ ดังนั้น เมื่อตามพฤติการณ์ควรจะรู้ข้อปัญหาดังกล่าว หรือโดยสามัญสำนึกของวิญญูชนผู้ประกอบการค้าเช่นนั้นควรจะพึงรู้ได้ แต่มิได้กระทำการใดเพื่อปกป้องความเสียหายอันจะเกิดแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 มิได้ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของโจทก์ จะอ้างว่าไม่รับรู้การบริหารงานของโจทก์หรือมิได้มาทำงานเป็นประจำก็ดี ไม่มีหน้าที่ก็ดี เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกับจำเลยที่ 3จำเลยที่ 5 และกรรมการธนาคารโจทก์ชุดเดิมทำสัญญาให้ความช่วยเหลือพยุงฐานะธนาคารโจทก์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2527 แสดงให้เห็นว่าโจทก์เพิ่งทราบถึงการทำละเมิดและผู้ที่จะต้องรับผิดในวันนั้น คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2528 ไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการบริษัทของกรรมการ ซึ่งอำนาจของกรรมการจะมีเพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 1158 ถึง 1164 ส่วนมาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งโดยมาตรา 1168 วรรคแรก บัญญัติให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ส่วนวรรคสองหมายถึงกิจการที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมากขึ้น หาได้หมายความว่า กรรมการจะต้องร่วมกันรับผิดเฉพาะกิจการ 4 ประการ ที่บัญญัติในวรรคสอง มาตรา 1168 เท่านั้นไม่ เมื่อมาตรา 1168 บัญญัติให้กรรมการทุกคนต้องมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่อง การจะเป็นกรรมการของบริษัทใด กรรมการผู้นั้นจึงต้องประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการของบริษัทนั้นด้วย มิฉะนั้นกรรมการก็ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการให้ดีได้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีความหมายตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ก. ให้สินเชื่อ ข. ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ค. ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และอาจกระทำธุรกิจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ทวิ คือธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการธนาคารพาณิชย์ หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำ เช่น การเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน การออกเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือการค้ำประกันหรือธุรกิจทำนองเดียวกันด้วย ซึ่งเมื่อมีการดำเนินการประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อไปแล้ว ก็จะต้องมีหน้าที่ติดตามประเมินผลและเร่งรัดจัดเก็บหนี้ดังกล่าวให้ได้ด้วย มิฉะนั้นก็จะทำให้การประกอบธุรกิจธนาคารมีข้อขัดข้อง และทำให้สินทรัพย์ขาดสภาพคล่อง ดังนั้น ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์จึงต้องอาศัยกรรมการผู้มีความรอบรู้ในธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย เพื่อให้เอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการของธนาคารให้ลุล่วงไปด้วยดี การที่ธุรกิจของโจทก์ประสบปัญหามาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2523 ไม่ว่าการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ในระดับไม่พอใช้จนถึงด้อยคุณภาพ จัดชั้นเป็นสูญและสงสัยจำนวนสูง การแสดงผลกำไรตั้งแต่ปี 2522 ผิดพลาดเพราะแท้จริงแล้วธุรกิจของโจทก์ขาดทุนมิใช่กำไร มีการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้บริหารมาก แม้ว่าการให้สินเชื่อดังกล่าวจะไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 12 (2) และมาตรา 12 ทวิ ก็ตาม แต่หนี้ในกลุ่มดังกล่าว หลักประกันไม่คุ้มหรือไม่มีเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 เป็นกรรมการของโจทก์ มีหน้าที่ต้องดูแลการบริหารกิจการของโจทก์มิให้เสียหาย กลับปล่อยให้มีการให้สินเชื่อโดยหลักประกันไม่คุ้ม เมื่อหนี้ถูกจัดเป็นหนี้เสียก็มิได้เร่งรัดติดตามหนี้ แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก็หาได้ดำเนินการใดเพื่อแก้ไขไม่ ดังนั้น เมื่อตามพฤติการณ์ควรจะรู้ข้อปัญหาดังกล่าว หรือโดยสามัญสำนึกของวิญญูชนผู้ประกอบการค้าเช่นนั้นควรจะพึงรู้ได้ แต่มิได้กระทำการใดเพื่อปกป้องความเสียหายอันจะเกิดแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 มิได้ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของโจทก์ จะอ้างว่าไม่รับรู้การบริหารงานของโจทก์หรือมิได้มาทำงานเป็นประจำก็ดี ไม่มีหน้าที่ก็ดี เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกับจำเลยที่ 3จำเลยที่ 5 และกรรมการธนาคารโจทก์ชุดเดิมทำสัญญาให้ความช่วยเหลือพยุงฐานะธนาคารโจทก์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2527 แสดงให้เห็นว่าโจทก์เพิ่งทราบถึงการทำละเมิดและผู้ที่จะต้องรับผิดในวันนั้น คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2528 ไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 10 ปี
ประเด็นในคดีอาญาและคดีนี้เป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดในการที่จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 2ผู้เอาประกันภัยเสียหาย โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสาม เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่มีอยู่ดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่ 1 จึงย่อมมีอายุความ 10 ปี เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการสร้างอ่างเก็บน้ำ - ความรับผิดของผู้สร้างและผู้ดูแล - อายุความละเมิดต่อเนื่อง
สำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กรมชลประทานจำเลยที่ 2รับผิดชอบในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพิพาท โดยงบประมาณการก่อสร้างเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าว การสร้างอ่างเก็บน้ำพิพาทแม้จะเกิดจากการริเริ่มของสภาตำบล ช. และความประสงค์ของราษฎรในพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์จากการกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งแต่ก็เกิดผลกระทบต่อราษฎรบางส่วน เพราะทำให้เกิดน้ำท่วมที่ดินของราษฎรด้วย ทางราชการไม่มีเงินสำหรับชดเชยความเสียหายที่ไม่สามารถประกอบอาชีพทำนาและทำไร่ได้ตามปกติ จึงให้จำเลยที่ 1 ตกลงกับราษฎรให้สละที่ดินเสียก่อนจึง ดำเนินการก่อสร้าง จำเลยที่ 2 ได้แจ้งถึงผลกระทบที่จะเกิด หลังก่อสร้างเสร็จให้จำเลยที่ 1 ทราบและให้จำเลยที่ 1 แก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎร ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการ สร้างอ่างเก็บน้ำ หากแก้ไขไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 เสนอให้ระงับ โครงการ แต่จำเลยที่ 1 ยืนยันให้จำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อไป อ้างว่าได้แก้ไขปัญหาเสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำต่อไปจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนผิด ในงานที่ทำ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ที่ดินของโจทก์ถูกน้ำท่วมตลอดมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงวันฟ้อง เป็นการละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันฟ้องโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2533 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การรังวัดออกโฉนด, อายุความ, เขตหวงห้าม และอำนาจของนิคมสหกรณ์
อายุความ 1 ปี เกี่ยวกับการละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448วรรคหนึ่ง ใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดแต่คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด หากแต่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ดำเนินการให้โจทก์โดยปราศจากข้ออ้างตามกฎหมายโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะสิทธิฟ้องร้องของโจทก์ย่อมมีอยู่ตลอดไปตราบเท่าที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ดำเนินการรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินของรัฐ รัฐย่อมไม่มีอำนาจนำไปจัดตั้งเป็นนิคมตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 6หรือให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จำเลยที่ 5 มีอำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจกรรมและการจัดทำสิ่งก่อสร้างอันเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมของนิคมตามมาตรา 14 ได้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เพราะจะต้องกันแนวเขตชานคลองสหกรณ์หรือคลองลัดแสมดำจากกึ่งกลางคลองเป็นรัศมี 40 เมตรตามข้อคัดค้านของจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน
บทบัญญัติใน ป.ที่ดิน มาตรา 60 วรรคหนึ่ง เป็นการให้ดุลพินิจพนักงานเจ้าหน้าที่หรือจำเลยที่ 1 ที่จะทำการสอบสวนเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้มิได้บังคับว่าจำเลยที่ 1 จะต้องทำการสอบสวนเปรียบเทียบทุกกรณี บทบัญญัติดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่มีกฎหมายให้ฝ่ายบริหารวินิจฉัยข้อพิพาทก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วโจทก์ไม่ยินยอมให้สอบสวนเปรียบเทียบ ทั้งการที่ไม่มีการเปรียบเทียบก็เป็นการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลโดยตรงได้
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ที่ดินพิพาทของโจทก์อยู่ในเขตหวงห้ามตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน อำเภอเมืองสมุทรปราการจังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ.2481แม้โจทก์จะมี น.ส.3 แต่โจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนการสงวนหวงห้ามและไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตของนิคมสหกรณ์บ้านไร่ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 14 และมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ แม้จำเลยที่ 5 ให้การต่อสู้ไว้ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินของรัฐ รัฐย่อมไม่มีอำนาจนำไปจัดตั้งเป็นนิคมตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 6หรือให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จำเลยที่ 5 มีอำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจกรรมและการจัดทำสิ่งก่อสร้างอันเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมของนิคมตามมาตรา 14 ได้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เพราะจะต้องกันแนวเขตชานคลองสหกรณ์หรือคลองลัดแสมดำจากกึ่งกลางคลองเป็นรัศมี 40 เมตรตามข้อคัดค้านของจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน
บทบัญญัติใน ป.ที่ดิน มาตรา 60 วรรคหนึ่ง เป็นการให้ดุลพินิจพนักงานเจ้าหน้าที่หรือจำเลยที่ 1 ที่จะทำการสอบสวนเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้มิได้บังคับว่าจำเลยที่ 1 จะต้องทำการสอบสวนเปรียบเทียบทุกกรณี บทบัญญัติดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่มีกฎหมายให้ฝ่ายบริหารวินิจฉัยข้อพิพาทก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วโจทก์ไม่ยินยอมให้สอบสวนเปรียบเทียบ ทั้งการที่ไม่มีการเปรียบเทียบก็เป็นการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลโดยตรงได้
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ที่ดินพิพาทของโจทก์อยู่ในเขตหวงห้ามตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน อำเภอเมืองสมุทรปราการจังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ.2481แม้โจทก์จะมี น.ส.3 แต่โจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนการสงวนหวงห้ามและไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตของนิคมสหกรณ์บ้านไร่ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 14 และมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ แม้จำเลยที่ 5 ให้การต่อสู้ไว้ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย