คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 448

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดและสัญญาประกันภัยแยกกันได้ โดยพิจารณาจากฐานความรับผิดของจำเลยแต่ละคน
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหาย โจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิด และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงแตกต่างกันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิด ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตามมาตรา882 วรรคแรก อายุความฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 295 บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ฉะนั้น การฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ 1 ปี จึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2536 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 เป็นการฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัยแยกจากความรับผิดนายจ้าง ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในสัญญาประกันภัย
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่2รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหายโจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิดและให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่1และที่2จึงแตกต่างกันจำเลยที่1จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดซึ่งมีอายุความ1ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกส่วนจำเลยที่2จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา882วรรคแรกอายุความฟ้องจำเลยที่1และที่2สามารถแยกออกจากกันได้เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้นฉะนั้นการฟ้องร้องให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ1ปีจึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่1ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่2รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่24ตุลาคม2536โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่27ตุลาคม2537เป็นการฟ้องภายในเวลา2ปีนับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่2จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัยและความรับผิดของนายจ้างผู้ทำละเมิดแยกกันได้
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหาย โจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่ 1ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิดและให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงแตกต่างกันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิด ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตามมาตรา 882 วรรคแรก อายุความฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295 บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ฉะนั้น การฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ1 ปี จึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2536 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537เป็นการฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่ 2จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์และเงินค่าจ้าง: การใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิ และการฟ้องผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีการค้าที่โจทก์มอบให้ไปชำระแก่กรมสรรพากรแทน แต่จำเลยไม่นำไปชำระ เป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ส่วนเงินค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนนั้น เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่รับเงินไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่กระทำการที่จ้าง มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าภาษีและการผิดสัญญา ค่าจ้าง โดยพิจารณาจากประเภทของสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีการค้าที่โจทก์มอบให้ไปชำระแก่กรมสรรพากรแทนแต่จำเลยไม่นำไปชำระเป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิส่วนเงินค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนนั้นเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่รับเงินไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่กระทำการที่จ้างมิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการบอกกล่าวบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ขาดอายุความ และการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว
จำเลยที่1ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้จำเลยที่1ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการยุบตัวของข้าวเปลือกอีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการดำเนินการได้ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 พิจารณาหาผู้รับผิดชอบชดใช้ข้าวเปลือกขาดบัญชีและมีมติในวันเดียวกันนั้นให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยให้ชดใช้ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ร่วมประชุมและทำหนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนข้าวที่หายไปต่อโจทก์หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 และเริ่มนับใหม่ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14 (1) ใหม่)โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2536 ภายในอายุความ1ปีมาตรา448คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ มาตรา 728 การบังคับจำนองนั้นผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้นไม่ได้ระบุว่าต้องส่งคำบอกกล่าวโดยทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับแต่อย่างใดพนักงานของโจทก์ไปส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมรับจึงได้ทำบันทึกไว้ท้ายคำบอกกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมรับผู้ส่งจึงได้วางหนังสือไว้ต่อหน้าผู้รับและต่อหน้าพยานการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10155/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อในการขนถ่ายสินค้าและการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่ทำให้สินค้าเครื่องจักรของโจทก์เสียหายจำเลยให้การรับว่าโจทก์ได้นำสินค้าเครื่องจักรมาฝากไว้ในโกดังเก็บสินค้าของจำเลยและขอให้จำเลยช่วยจัดคนงานและรถยกเพื่อขนถ่ายสินค้าเครื่องจักรจำเลยมีรถยกตัวเดียวงารถยกไม่อาจรับความกว้างยาวของสินค้าเครื่องจักรได้จึงตกลงบนพื้นจำเลยรับฝากสินค้าโจทก์โดยไม่มีบำเหน็จและได้ใช้ความระมัดระวังเช่นผู้ประกอบวิชาชีพตามคำให้การดังกล่าวเท่ากับจำเลยรับตามฟ้องโจทก์จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดให้คนงานและรถยกยกสินค้าเครื่องจักรออกจากตู้รถบรรจุสินค้าแต่เนื่องจากสินค้าเครื่องจักรมีขนาดใหญ่และรถยกมีขนาดเล็กเป็นเหตุให้สินค้าเครื่องจักรตกจากรถยกลงบนพื้นและเกิดความเสียหายการกระทำดังกล่าวนับเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยเมื่อโจทก์ร่วมได้รับประกันภัยสินค้าเครื่องจักรรายนี้และได้ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิจากโจทก์ที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์ฝากสินค้าเครื่องจักรไว้กับจำเลยแต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เนื่องจากโจทก์ให้จำเลยทำการขนย้ายสินค้าเครื่องจักรออกจากตู้บรรจุสินค้าในการขนยายจำเลยได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้สินค้าเครื่องจักรเสียหายอันเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและเสียหายต่อโจทก์เป็นการกระทำละเมิดด้วยจึงมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10155/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อในการขนถ่ายสินค้าและการรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย
จำเลยรับฝากสินค้าโดยมิได้มีบำเหน็จ จำเลยเป็นผู้จัดให้ คนงานและรถยกสินค้าเครื่องจักรออกจากตู้บรรจุสินค้า แต่เนื่องจากสินค้าเครื่องจักรมีขนาดใหญ่และรถยกมีขนาดเล็กเป็นเหตุให้สินค้าเครื่องจักรตกลงจากรถยกและเกิดความเสียหายการกระทำดังกล่าวนับเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย เมื่อโจทก์ร่วมได้รับประกันภัยสินค้าเครื่องจักรรายนี้ และได้ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์แล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิจากโจทก์ที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์ร่วมยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความโดยอ้างว่าเป็นผู้รับประกันภัยสินค้าโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์สำหรับค่าเสียหายที่ได้ชดใช้แก่โจทก์ไปแล้วและมีความประสงค์จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมเพื่อเรียกค่าเสียหายคืนจากจำเลย ตามคำร้องของโจทก์ร่วมถือได้ว่าโจทก์ร่วมมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมแล้ว ประเด็นที่ว่าโจทก์ร่วมรับช่วงสิทธิของโจทก์หรือไม่เพียงใด จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้เป็นเรื่องฝากทรัพย์ แต่จำเลยได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้สินค้าเครื่องจักรเสียหาย ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย จึงมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานที่ดินประมาทเลินเล่อและร่วมกระทำละเมิด โจทก์มีสิทธิเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 6โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องสัญญาให้ที่ดินโจทก์จึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โฉนดที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7จะเป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่เมื่อโฉนดที่ดินฉบับหลวงระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทปลอมเป็นโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4และที่ 5 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 4และที่ 5 แล้วก็ตามจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 นั้นไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1โดยประมาทเลินเล่อและได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 7จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกทรัพย์คืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาแจ้งงดบังคับคดีและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการขายทอดตลาด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 281 และมาตรา 292 แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวได้โดยจะต้องแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราว แต่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแม้จะอยู่ด้วยในเวลาบังคับคดี โจทก์ก็ไม่มีสิทธิป้องกันหรือขัดขวางแก่การบังคับคดีได้ การบังคับคดีจะต้องดำเนินการต่อไป ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้ไปอยู่ด้วยในเวลาบังคับคดีก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นความผิดของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนผิดด้วยในการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ไป
ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดแก่ผู้ซื้อไปเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าใกล้เคียงกับราคาประเมินของทางราชการจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่คดีนี้เป็นเรื่องความเสียหายที่ทรัพย์ของโจทก์ถูกขายทอดตลาดไปโดยจำเลยไม่ไปแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ชั่วคราวตามที่ตกลงไว้กับโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องกัน ไม่อาจพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกันได้
การที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นเรื่องละเมิดหรือผิดสัญญานั้น ต้องพิเคราะห์รายละเอียดคำฟ้องทั้งฉบับ มิใช่พิเคราะห์เฉพาะถ้อยคำบางคำในฟ้องเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ก่อนถึงกำหนดวันขายทอดตลาดโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ตกลงกันบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวดโดยโจทก์สั่งจ่ายเช็คเป็นงวด ๆให้แก่จำเลยไว้ จำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ ครั้นถึงกำหนดวันนัดขายทอดตลาด จำเลยไม่ดำเนินการตามที่ตกลง เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ไป การกระทำของจำเลยเป็นการผิดข้อตกลงและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญา แม้ในข้อหาหรือฐานความผิดจะระบุว่าละเมิดและในคำฟ้องจะมีคำว่าเป็นละเมิดต่อโจทก์นั้นก็เป็นการกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น หาทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องละเมิดไปด้วยไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดยเห็นว่าเป็นเรื่องละเมิดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่ขาดอายุความเพราะเป็นเรื่องผิดสัญญาย่อมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาจึงชอบแล้ว
แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายไว้ แต่การที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยต้องไปแจ้งของดการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกระทำการคือไปแจ้งของดการบังคับคดีอันถือว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงซึ่งเป็นการผิดสัญญาเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์แก่ผู้ซื้อไปโจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย และมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แทนการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ได้ตามหลักกฎหมายเรื่องค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 อันเป็นคนละเรื่องกับค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในข้อสัญญา
การที่จำเลยไม่ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ทันตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ มิใช่กรณีกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 420 แต่เป็นการผิดสัญญาจึงไม่อาจใช้อายุความ 1 ปี
of 77