พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เงินยืม, พยานหลักฐานการยืมเงิน, การชำระหนี้เงินยืม, สิทธิเรียกร้องของทางราชการ
เอกสารหมายล.3เป็นสำเนาภาพถ่ายเอกสารผลการตรวจพิสูจน์เอกสารของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจว่าลายมือชื่อจำเลยที่1ในใบยืมเงินเอกสารหมายจ.11และจ.12ว่าไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่1เมื่อโจทก์มีหนังสือตอบปฏิเสธว่าไม่ได้ดำเนินการส่งเรื่องไปตรวจพิสูจน์เท่ากับไม่รับรองว่าสำเนาเอกสารถูกต้องจำเลยที่1ไม่แสดงเหตุขัดข้องที่ไม่ส่งต้นฉบับและไม่นำผู้รับรองสำเนามาเบิกความรับรองจึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่1ซึ่งยืมเงินงบประมาณนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติงานแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืมหากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงินมิฉะนั้นต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีนับแต่ที่จำเลยที่1มีหน้าที่คืนเงินและการฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์พิพาท สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการฟ้องแย้งเรียกคืนทรัพย์
การซื้อขายรถยนต์พิพาทเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456วรรคท้าย การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการดังกล่าว หากไม่มีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิด: การนับระยะเวลาเริ่มเมื่อใด และผลของการฟ้องเกินกำหนด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้น ก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ คดีนี้โจทก์ไม่ได้เรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาแก่จำเลย แต่เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น จึงมีอายุความเพียง 1 ปี
โจทก์ตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทางแพ่ง คณะกรรมการสืบสวนได้รายงานผลการสืบสวนแก่อธิการบดีในฐานะผู้แทนโจทก์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 อธิการบดีผู้แทนโจทก์ทราบแล้วได้นำไปศึกษา และสั่งให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้นำเสนอโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ต่อมาผู้แทนโจทก์ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่กับพวกตามที่คณะกรรมการเสนอไว้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 หรืออย่างช้าที่สุดวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการเสนอรายงานครั้งสุดท้าย อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะยังไม่ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ เพราะการสั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นเรื่องภายในของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะยกมาอ้างเป็นข้อยกเว้นในเรื่องอายุความได้ เมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนถึงวันที่ 22 กันยายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
โจทก์ตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทางแพ่ง คณะกรรมการสืบสวนได้รายงานผลการสืบสวนแก่อธิการบดีในฐานะผู้แทนโจทก์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 อธิการบดีผู้แทนโจทก์ทราบแล้วได้นำไปศึกษา และสั่งให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้นำเสนอโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ต่อมาผู้แทนโจทก์ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่กับพวกตามที่คณะกรรมการเสนอไว้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 หรืออย่างช้าที่สุดวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการเสนอรายงานครั้งสุดท้าย อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะยังไม่ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ เพราะการสั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นเรื่องภายในของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะยกมาอ้างเป็นข้อยกเว้นในเรื่องอายุความได้ เมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนถึงวันที่ 22 กันยายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำละเมิดของผู้จัดการ การขัดต่อความประสงค์ของตัวการ และอายุความฟ้องคดี
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133 กรมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 1 จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. นำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของกรมโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้ว แต่โจทก์ก็รับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานไม่ใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 396 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, การจัดการงานที่ขัดต่อความประสงค์ของตัวการ, และขอบเขตความรับผิดของผู้จัดการ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณีมิใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลให้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133การที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยคดีไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1นั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีแล้วและมีอำนาจวินิจฉัยฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1ได้ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดจึงต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดแต่โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันมอบอำนาจฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396เป็นกรณีผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่เคยปฏิบัติมาและโจทก์เองก็รับรู้และยอมรับข้อปฏิบัติดังกล่าวจึงมิใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์แท้จริงของโจทก์จำเลยที่3ซึ่งปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่1มอบหมายจึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันอำพราง การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความฟ้องร้อง
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ์นำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0769กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่41ของจำเลยที่1แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0485กาญจนบุรีแต่จำเลยที่1ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่งสำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวเช่นทำสัญญากันเมื่อใดราคาเท่าใดมีเงื่อนไขในการในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไรมีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังส่วนคำว่าคิวนั้นเมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่1คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่40เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริงๆสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118เดิม โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายดังนั้นการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่41ให้แก่ส.ราคา352,000บาทนั้นความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อโจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่41โดยมีเงื่อนไขว่าหากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ส. ยึดคิวรถที่41ได้และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนส.ก็จะคืนคิวรถที่41ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใดการนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิดแต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้องเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่าจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย8203และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่1รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่41ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตได้นั้นโจทก์และจำเลยที่1จะต้องมีสัญญาต่อกันกล่าวคือจำเลยที่1จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่1และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าต่อมาจำเลยที่1ปฎิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่41แต่กลับให้จำเลยที่2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาดังกล่าวมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ฉะนั้นจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาปรับแก่คดีหาไม่ได้และกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่41ให้แก่ส. คิวรถที่41จึงยังเป็นของโจทก์อยู่แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่1ตามสัญญาจำเลยที่1กลับปฎิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่1ได้อนุญาตให้จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทนการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกัน การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความ
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธินำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0769 กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่ 41 ของจำเลยที่ 1 แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0485กาญจนบุรี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่ง สำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว เช่น ทำสัญญากันเมื่อใด ราคาเท่าใด มีเงื่อนไขในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไร มีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลัง ส่วนคำว่าคิวนั้น เมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัยค้ำจุน และอายุความของหนี้ที่เกิดจากสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยหาได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องจึงเกิดจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่จำเลยทำกับผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ต้องเสียหายเข้าใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ต้องเสียหายซึ่งควรจะได้รับจากจำเลยแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงในนามของโจทก์เองได้ตามมาตรา880เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวจึงนำอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยอีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยให้รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิดเพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา206เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยค้ำจุนและการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย หาได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องจึงเกิดจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่จำเลยทำกับผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา887 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ต้องเสียหายเข้าใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ต้องเสียหายซึ่งควรจะได้รับจากจำเลยแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงในนามของโจทก์เองได้ตามมาตรา 880 เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวจึงนำอายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย อีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย ฟ้องจำเลยให้รับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิด เพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา 206 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน
เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย อีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย ฟ้องจำเลยให้รับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิด เพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา 206 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของกรรมการสุขาภิบาลต่อความเสียหายจากการทุจริตและการละเลยหน้าที่
ข้ออ้างว่าฟ้องเคลือบคลุมตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นคนละเหตุกับที่อ้างต่อสู้มาในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
ตามระเบียบระบุให้ปลัดสุขาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรรมการอื่นในการเก็บและรักษาเงิน หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินโดยการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจากการปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้คืนจำเลยที่ 3 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ แต่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ ในทางปฏิบัติของโจทก์เอง จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยตรง ดังนั้นการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ กรณีไม่ต้องตามระเบียบที่จะให้จำเลยที่ 3 ชดใช้เงินแก่โจทก์
ในการถอนเงินฝากมีระเบียบให้เป็นหน้าที่ของประธานสุขาภิบาล ปลัดสุขาภิบาล และหัวหน้าหน่วยการคลังลงชื่อถอนร่วมกันการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคารหรือที่แห่งใด ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่สุขาภิบาลไปรับหรือส่งเงินลำพังผู้เดียว ต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะกรณีจำนวนเงินเกิน 30,000 บาท จะต้องมีกรรมการควบคุมร่วมกันอย่างน้อย3 คน ระเบียบดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันการผิดพลาดเกี่ยวกับตัวเงินที่อาจขาดจำนวนหรือสูญหาย และเพื่อไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุจริต การที่จำเลยที่ 1เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโจทก์ปล่อยให้ ร.สมุห์บัญชีของโจทก์ถอนเงินตามลำพังและเบียดบังเอาเงินไป จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยเฉพาะจำเลยที่ 4 ยังเป็นหัวหน้าหน่วยการคลังของโจทก์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย มีเงินผลประโยชน์ของโจทก์ประเภทต่าง ๆ ไม่นำส่งเป็นรายได้ของโจทก์ เงินของโจทก์ที่เบิกมาใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ ไม่มีหลักฐานการรับจ่าย และเงินที่ขาดหายไปเพราะลงบัญชีผิดพลาดจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยหน้าที่นอกจากเป็นกรรมการเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยแล้ว ยังต้องร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินและรายงานคงเหลือประจำวันตามระเบียบ แต่ไม่ปรากฎว่าในช่วงเวลาที่มีการทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์ไปได้มีการตรวจสอบรายงานคงเหลือประจำวันรวมทั้งบัญชีต่าง ๆ จึงเป็นช่องทางให้ ร.ทำการทุจริตขึ้นได้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ร.และมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบเงินของโจทก์เป็นรายวันจะอ้างว่า ร.ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ปล่อยปละละเลยและประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิด
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งรายงานผลการสอบสวนว่ามีบุคคลใดบ้างที่ต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ด้วย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบและผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เรียกร้องแก่ผู้ต้องรับผิดทางแพ่งใช้เงินแก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้มีอำนาจสั่งการรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานผลการสอบสวน ไม่ใช่นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ว่า ร.เป็นผู้ทำละเมิดเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ต้องร่วมรับผิดทางแพ่งที่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ต่างรายไปจาก ร.โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
ตามระเบียบระบุให้ปลัดสุขาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรรมการอื่นในการเก็บและรักษาเงิน หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินโดยการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจากการปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้คืนจำเลยที่ 3 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ แต่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ ในทางปฏิบัติของโจทก์เอง จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยตรง ดังนั้นการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ กรณีไม่ต้องตามระเบียบที่จะให้จำเลยที่ 3 ชดใช้เงินแก่โจทก์
ในการถอนเงินฝากมีระเบียบให้เป็นหน้าที่ของประธานสุขาภิบาล ปลัดสุขาภิบาล และหัวหน้าหน่วยการคลังลงชื่อถอนร่วมกันการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคารหรือที่แห่งใด ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่สุขาภิบาลไปรับหรือส่งเงินลำพังผู้เดียว ต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะกรณีจำนวนเงินเกิน 30,000 บาท จะต้องมีกรรมการควบคุมร่วมกันอย่างน้อย3 คน ระเบียบดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันการผิดพลาดเกี่ยวกับตัวเงินที่อาจขาดจำนวนหรือสูญหาย และเพื่อไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุจริต การที่จำเลยที่ 1เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโจทก์ปล่อยให้ ร.สมุห์บัญชีของโจทก์ถอนเงินตามลำพังและเบียดบังเอาเงินไป จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยเฉพาะจำเลยที่ 4 ยังเป็นหัวหน้าหน่วยการคลังของโจทก์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย มีเงินผลประโยชน์ของโจทก์ประเภทต่าง ๆ ไม่นำส่งเป็นรายได้ของโจทก์ เงินของโจทก์ที่เบิกมาใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ ไม่มีหลักฐานการรับจ่าย และเงินที่ขาดหายไปเพราะลงบัญชีผิดพลาดจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยหน้าที่นอกจากเป็นกรรมการเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยแล้ว ยังต้องร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินและรายงานคงเหลือประจำวันตามระเบียบ แต่ไม่ปรากฎว่าในช่วงเวลาที่มีการทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์ไปได้มีการตรวจสอบรายงานคงเหลือประจำวันรวมทั้งบัญชีต่าง ๆ จึงเป็นช่องทางให้ ร.ทำการทุจริตขึ้นได้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ร.และมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบเงินของโจทก์เป็นรายวันจะอ้างว่า ร.ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ปล่อยปละละเลยและประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิด
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งรายงานผลการสอบสวนว่ามีบุคคลใดบ้างที่ต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ด้วย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบและผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เรียกร้องแก่ผู้ต้องรับผิดทางแพ่งใช้เงินแก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้มีอำนาจสั่งการรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานผลการสอบสวน ไม่ใช่นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ว่า ร.เป็นผู้ทำละเมิดเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ต้องร่วมรับผิดทางแพ่งที่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ต่างรายไปจาก ร.โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ