พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดต่อหน้าที่กรรมการตรวจรับงาน การจ่ายเงินค่าจ้างโดยไม่ได้รับมอบงานครบถ้วน ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สินหนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯเป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ.2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัดถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่4และที่5ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754 ตามระเบียบของทางราชการคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งหากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีหลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงานณสถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้องสมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ, การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ, การตรวจรับงาน, ความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สินหนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯเป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ.2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัดถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่4และที่5ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754 ตามระเบียบของทางราชการคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งหากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีหลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงานณสถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้องสมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของเจ้าหน้าที่ตรวจรับงาน การจ่ายเงินค่าจ้างโดยไม่ได้รับมอบงานครบถ้วน และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สิน หนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯ เป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัด ถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ตามระเบียบของทางราชการ คณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง หากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี หลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงาน ณ สถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้อง สมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้าง ทำให้โจทก์เสียหาย ไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา แต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและการรับประกันภัย: การกำหนดระยะเวลาฟ้องร้องและการรับผิดของจำเลยแต่ละราย
จำเลยขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องของจำเลยแต่เพียงว่า สำเนาให้โจทก์รวมสั่งในอุทธรณ์ และสั่งในอุทธรณ์ว่า จำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้แล้ว โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของบริษัทอ. ซึ่งโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยโจทก์เสียค่าซ่อมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แทนผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัย เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยที่ 1และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 จึงมีสิทธิเท่ากับสิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่โดยมูลหนี้ตามมาตรา 226 วรรคแรก ฉะนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 448 วรรคแรกโจทก์ก็ต้องฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 3เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยจึงต้องนำอายุความตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยมาปรับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดและการรับประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและข้อยกเว้นอายุความ
จำเลยทั้งสามขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาของจำเลยทั้งสามว่าสำเนาให้โจทก์รวมสั่งในอุทธรณ์และสั่งในอุทธรณ์ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสามอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาก็พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิวรรคแรกแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์โดยให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และจำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่2จึงต้องฟ้องจำเลยที่1และที่2ภายใน1ปีนับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกมิฉะนั้นคดีขาดอายุความส่วนความรับผิดของจำเลยที่3นั้นเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยจึงต้องนำอายุความ2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคหนึ่งมาปรับแก่คดีเมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยคดีเกี่ยวกับจำเลยที่3จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การฟ้องเรียกคืนเงินที่ถูกละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ
โจทก์มิได้ บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ยึดถือทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิอันจะเป็นเหตุให้โจทก์สามารถใช้ สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438วรรคสอง,1336แต่กลับบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนที่ราชการกำหนดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำนวน310,670.20บาทและจำเลยต้องรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์จึงไม่ใช่การฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนซึ่งไม่มีกำหนดเวลาเว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในการ ละเมิดตามมาตรา420ซึ่งอยู่ในบังคับ อายุความ1ปีตามมาตรา448วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทางแพ่ง: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องชดใช้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนที่ราชการกำหนดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยต้องรับผิดคืนเงินให้โจทก์ฟ้องของโจทก์ไม่ใช่การฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือเงินของโจทก์ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สิทธิเช่นนั้นเว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิแต่เป็นการฟ้องคดีให้จำเลยรับผิดในการละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ตามมาตรา420ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ1ปีตามมาตรา448วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการอายัดทรัพย์สินจากการค้างภาษีอากร: จำกัดเฉพาะผู้ต้องรับผิดเสียภาษี หรือผู้ส่งภาษีอากรเท่านั้น
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจึงไม่ตกอยู่ในอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448 ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้นเมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่แม้จำเลยที่1จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตามจำเลยที่2ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่1เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่2ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอายัดทรัพย์สินจำกัดเฉพาะผู้มีหน้าที่เสียภาษี การฟ้องเพิกถอนอายัดไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 448
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์
กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาท จึงไม่อบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์
กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาท จึงไม่อบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งอายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่สรรพากร: ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีเท่านั้น
คำฟ้องที่โจทก์ผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรแก่จำเลยที่1ซึ่งถูกจำเลยที่2มีคำสั่งอายัดตามประมวลรัษฎากรมาตรา12ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดมิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่อยู่ในอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448 ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรและผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของเจ้าของเดิมจำเลยที่2จึงไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาท จำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่1เพิกถอนคำสั่งอายัดของจำเลยที่2ด้วย