คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 448

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากละเมิดและการขุดดินใกล้เขตที่ดิน การสร้างเขื่อนหรือถมดินเพื่อแก้ไขที่ดินพังทลาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยก่อสร้างเขื่อนเพื่อกั้นดินในเขตติดต่อที่ดินโจทก์จำเลยมิให้พังทลายลงโดยไม่ได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิดโดยตรงจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งซึ่งมีอายุความเพียง1ปีและในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงใช้อายุความตามหลักทั่วไปตามมาตรา193/30ซึ่งมีอายุความ10ปี โดยหลักทั่วไปแล้วผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428เมื่อจำเลยเป็นผู้กำหนดว่าจะขุดดินบริเวณใดและจำเลยร่วมได้ทำตามคำสั่งของจำเลยเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์พังทลายลงจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์ฟ้องขอให้สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นดินยาว180เมตรความประสงค์ของโจทก์ต้องการที่จะให้ที่ดินอยู่ในสภาพเดิมไม่พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยเท่านั้นซึ่งการสร้างเขื่อนก็เป็นวิธีการหนึ่งที่โจทก์เห็นว่าจะกั้นดินไม่ให้พังทลายลงแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็นจึงได้ใช้วิธีถมดินแล้วบดอัดให้แน่นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยนั้นศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำได้ไม่เกินคำขอของโจทก์แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ถมดินระยะยาวเกินกว่า180เมตรเป็นการเกินคำขอของโจทก์จึงไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและการพิสูจน์ความเสียหายจากดินพังทลาย
คนงานของ จำเลยร่วมซึ่งจำเลยได้ว่าจ้างให้ขุดดินในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์เพื่อนำออกไปยังที่อื่นขุดดินตามบริเวณที่จำเลยกำหนดใกล้เขตที่ดินของโจทก์มากเกินไปเป็นเหตุให้ดินในเขตที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยเป็นการ ละเมิดซึ่งจำเลยร่วมต้องรับผิดและจำเลยต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428โดย สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายมีอายุความ1ปีตามมาตรา448ส่วนการฟ้องขอให้จำเลยและจำเลยร่วมก่อสร้างเขื่อนเพื่อกั้นดินในเขตติดต่อที่ดินโจทก์จำเลยมิให้พังทลายลงไม่มีกฎหมายบัญญัติ อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30 โจทก์ขอให้สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นดินไม่ให้พังทลายลงเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็นจึงใช้วิธีถมดินแล้วบดอัดให้แน่นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยย่อมมีอำนาจทำได้ไม่เกินคำขอ โจทก์มิได้นำสืบว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินส่วนที่พังทลายลงไปอย่างไรจำนวนเท่าใดจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขาดประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด, การรับผิดของนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์ไปตามถนน พหลโยธินซึ่งแบ่งเส้นทางจราจรเป็น2ช่องเดินรถโดยมีเกาะกลางถนนคั่นเมื่อถึงหน้ากรมการขนส่งทางบกจำเลยที่1ขับรถด้วยความประมาทด้วยความเร็วสูงไม่ระมัดระวังในการบังคับรถเป็นเหตุให้รถแล่นขึ้นมาบนเกาะกลางถนนชนเสาไฟฟ้าหักและเป็นเหตุให้โคมไฟฟ้าสาธารณะของโจทก์ที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าดังกล่าวแตกเสียหายซึ่งเป็นการบรรยายถึงลักษณะแห่งความประมาทของจำเลยที่1แล้วคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ส่วนจำเลยที่1จะขับรถมาจากทิศทางใดจะไปไหนและออกนอกเส้นทางอย่างไรไม่ใช่ข้อสาระสำคัญฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ผู้เดียวการที่ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจะถือว่าโจทก์รู้ด้วยไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงชื่อรับทราบและอนุมัติให้ฟ้องคดีในหนังสือแจ้งเหตุละเมิดและขออนุมัติฟ้องคดีในวันที่27มิถุนายน2533จึงถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่27มิถุนายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่12ตุลาคม2533ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดจำเลยที่3จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรก จำเลยที่2เป็นนายจ้างซึ่งกฎหมายกำหนดให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่1ได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่2จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่1และต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันทำละเมิดแก่โจทก์โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนเพราะถือว่าจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้วส่วนจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ซ่อมโคมไฟฟ้าสาธารณะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นและโจทก์จะจ่ายเงินค่าซ่อมให้การไฟฟ้านครหลวงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่3ชำระค่าเสียหายภายใน15วันนับแต่วันได้รับหนังสือจำเลยที่3ได้รับเมื่อวันที่25สิงหาคม2532แต่ไม่ชำระภายในกำหนดจำเลยที่3จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่10กันยายน2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด, การรับผิดของนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย, และดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปตามถนนพหลโยธินซึ่งแบ่งเส้นทางจราจรเป็น 2 ช่องเดินรถ โดยมีเกาะกลางถนนคั่นเมื่อถึงหน้ากรมการขนส่งทางบก จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทด้วยความเร็วสูง ไม่ระมัดระวังในการบังคับรถ เป็นเหตุให้รถแล่นขึ้นมาบนเกาะกลางถนนชนเสาไฟฟ้าหักและเป็นเหตุให้โคมไฟฟ้าสาธารณะของโจทก์ที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าดังกล่าวแตกเสียหาย ซึ่งเป็นการบรรยายถึงลักษณะแห่งความประมาทของจำเลยที่ 1 แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ส่วนจำเลยที่ 1 จะขับรถมาจากทิศทางใด จะไปไหนและออกนอกเส้นทางอย่างไรไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ผู้เดียว การที่ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจะถือว่าโจทก์รู้ด้วยไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงชื่อรับทราบและอนุมัติให้ฟ้องคดีในหนังสือแจ้งเหตุละเมิดและขออนุมัติฟ้องคดีในวันที่ 27มิถุนายน 2533 จึงถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2533 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2533 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างซึ่งกฎหมายกำหนดให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันทำละเมิดแก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน เพราะถือว่าจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด การที่โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ซ่อมโคมไฟฟ้าสาธารณะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น และโจทก์จะจ่ายเงินค่าซ่อมให้การไฟฟ้านครหลวง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าเสียหายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยที่ 3ได้รับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2532 แต่ไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยที่ 3จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การรุกล้ำที่ดิน, และความรับผิดของกรรมการบริษัท
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อกำแพงของจำเลยที่ปิดกั้นที่ดินโจทก์และให้รื้อหลังคาที่คร่อมที่ดินโจทก์ออกไป เป็นคดีที่โจทก์ใช้สิทธิการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้ขจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังก่อความเดือดร้อนรำคาญอยู่โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับได้ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งการแสดงออกย่อมกระทำโดยทางกรรมการ ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกให้บังคับตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยตัวแทน เมื่อหลังคาโรงงานของจำเลยที่ 1รุกล้ำเป็นละเมิดต่อที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจจึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: โจทก์ไม่ต้องบรรยายเหตุที่ฟ้องไม่ขาดอายุความในคำฟ้อง แต่มีสิทธิสืบพยานพิสูจน์ภายหลังได้
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องถึงเหตุที่ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะหาใช่สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ไม่แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดและเหตุใดจึงมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเกินเวลาปีหนึ่งแล้วได้เมื่อจำเลยต่อสู้เรื่องอายุความโจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำสืบให้เห็นว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันเดือนปีใดจึงยังไม่พ้นปีหนึ่งนับถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้ตัวผู้รับผิดชอบและอายุความในคดีละเมิด: การย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 2
คณะกรรมการสอบสวนซึ่งโจทก์ที่ 2 แต่งตั้งให้สอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบ ได้ทำการสอบสวนและรายงานผลการสอบสวนต่อผู้แทนของโจทก์ที่ 2สรุปว่า จำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการละเมิด จึงจะถือว่าโจทก์ที่ 2รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่ 2 ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าวหาได้ไม่ แต่ถือว่าโจทก์ทั้งสองรู้ตัวจำเลยที่ 2 ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อกรมอัยการมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า สมควรจะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชอบร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่ทราบหนังสือของกรมอัยการดังกล่าว คดีสำหรับจำเลยที่ 2จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดฐานละเมิดหรือไม่ เพียงใดนั้น ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลล่างอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิในการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้พิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 2
คณะกรรมการสอบสวนซึ่งโจทก์ที่2แต่งตั้งให้สอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบได้ทำการสอบสวนและรายงานผลการสอบสวนต่อผู้แทนของโจทก์ที่2สรุปว่าจำเลยที่1เท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการละเมิดจึงจะถือว่าโจทก์ที่2รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าวหาได้ไม่แต่ถือว่าโจทก์ทั้งสองรู้ตัวจำเลยที่2ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกรมอัยการมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าสมควรจะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่2รับผิดชอบร่วมกับจำเลยที่1ด้วยเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่ทราบหนังสือของกรมอัยการดังกล่าวคดีสำหรับจำเลยที่2จึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดฐานละเมิดหรือไม่เพียงใดนั้นศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยเพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลทั้งผลการวินิจฉัยของศาลล่างอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิในการฎีกาของคู่ความศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดสัญญา, ความรับผิดร่วม, อายุความ: การกระทำของกรรมการและตัวแทนเรือ, ผลกระทบต่อความเสียหายของบริษัท
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่าเจรจาในการปล่อยเรือส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัทท.กำหนดให้บริษัทท. ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหายแต่จำเลยที่1ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่2มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2ใช้เอกสารต่างๆแสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้แม้ว่าจำเลยที่1จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตามแต่การกระทำต่างๆดังกล่าวของจำเลยที่1ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัทท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือการสั่งการเดินเรือของจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึดการที่จำเลยที่2นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่1ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่างๆหาประโยชน์ในทางมิชอบล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่1กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่2จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่ากรรมการ2นายมีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้นเมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์อายุความ1ปีจึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ2นายผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วยจึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้วแต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิดอายุความจึงยังไม่เริ่มนับอายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดสัญญา-การกระทำละเมิดของผู้มีอำนาจ-อายุความ-ความรับผิดร่วมกัน
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้า เงินชดเชย ค่าใช้จ่าย และค่าเจรจาในการปล่อยเรือ ส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.กำหนดให้บริษัท ท.ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบ ทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารต่าง ๆ แสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัท ท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือ การสั่งการเดินเรือของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึด การที่จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่าง ๆ หาประโยชน์ในทางมิชอบ ล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์
หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า กรรมการ2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้น เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ 2 นาย ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วย จึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้ว แต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ อายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
of 77