คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 448

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่ต้องกล่าวอ้างในฟ้อง
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ มาตรา 172วรรคสอง โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่าคดีไม่ขาดอายุความ
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาตามป.วิ.พมาตรา172วรรคสองโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเวนคืนและแจ้งข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ซื้อได้รับความเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา9เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสาย รัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ-แขวงลาดยาวพ.ศ.2517มาตรา4บัญญัติไว้ว่าให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้นกรุงเทพมหานครจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครทราบตามมาตรา9ค.เมื่อจำเลยที่1มิได้แจ้งจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหากจำเลยที่1ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขายเจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืนโจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่2ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบเป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่2ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ.ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้นโจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่2ไม่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อจึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จำเลยที่2มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีนับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้นคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยเวนคืนแจ้งเจ้าของ-เจ้าพนักงานที่ดิน ทำให้เสียหายจากการเวนคืน ชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะส่วนที่เหลือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497มาตรา9บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่านอกจากจะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในมาตรา6และมาตรา8พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นๆไว้ณสถานที่ที่ทำการเจ้าหน้าที่ที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่เมื่อจำเลยที่1ในฐานะเจ้าหน้าที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นผลโดยตรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ไม่ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อมาจากบริษัท ธ. ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจะต้องถูกเวนคืนทำให้อาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อต้องถูกรื้อย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่1แม้มิได้แจ้งให้บริษัท ธ. ทราบเรื่องดังกล่าวขณะขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก็หาได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ไม่ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของโจทก์เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะได้ทราบถึงการแจ้งการครอบครองและให้รื้อถอนอาคารพิพาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2526แต่ในขณะนั้นอาคารพิพาทยังไม่ถูกเข้าครอบครองและรื้อถอนมูลละเมิดจึงยังไม่เกิดเมื่อจำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเวนคืน: กทม.ละเลยแจ้งข้อมูลเวนคืน ทำให้ผู้ซื้อเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 9 เมื่อพระราช-กฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้น กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพ-มหานครทราบตามมาตรา 9 ค. เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้ง จึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หากจำเลยที่ 1 ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขาย เจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืน โจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาท การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบ เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ. ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้น โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้น คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากละเลยหน้าที่
จำเลยที่2เป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่1มีหน้าที่ตรวจสอบรายงานเงินคงเหลือประจำทุกวันแต่กลับไม่ตรวจสอบไม่ลงลายมือชื่อเป็นกรรมการรักษาเงินในรายงานเงินคงเหลือประจำวันและไม่กวดขันให้กรรมการรักษาเงินคนอื่นตรวจสอบหลักฐานการรับเงินและตัวเงินสดและลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์เมื่อผลของการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปการกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชากิจการต่างๆของสำนักงานปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชาจำเลยที่1และที่3ให้ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์จำเลยที่2จึงต้องรับผิดมากกว่าจำเลยที่3 จำเลยที่3ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์อาจจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ขึ้นได้แต่จำเลยที่3ก็มิได้รายงานเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือจำเลยที่2ขึ้นไปทราบเสียในทันทีเพื่อจะได้สั่งการแก้ไขการที่จำเลยที่3ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นจำเลยที่3ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดโจทก์ลงนามรับทราบเรื่องในวันใดถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวอายุความละเมิดเริ่มนับแต่วันนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการจดทะเบียนที่ดิน ทำให้เกิดความเสียหายจากการซื้อฝาก
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิด เนื่องจากประมาทเลินเล่อไม่ปฎิบัติตามระเบียบของทางราชการในการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ในขณะที่ ว.จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทโดยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นเหตุให้ ว.นำที่ดินพิพาทมาขายฝากให้โจทก์ทั้งสี่ ต่อมาเจ้าของที่ดินพิพาทได้ฟ้องว. โจทก์ที่ 2 และที่ 4 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ขอให้เพิกถอนการขายฝาก และศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝาก ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหาย เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดฐานละเมิด มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับเรื่องนิติกรรมหรือสัญญา แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จะมิได้มีชื่อเป็นผู้รับซื้อฝากในสารบัญจดทะเบียน โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ก็มีอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ในคดีที่เจ้าของที่ดินพิพาทฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากหรือจำเลยที่ 4 และที่ 3 ในคดีนี้ได้ฎีกาขอให้ตนเองไม่ต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ในคดีดังกล่าวหรือโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ในคดีนี้ก็ได้ยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ด้วย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่ทราบว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลฎีกาพิพากษาแล้วคดีจึงยุติฟังได้ว่าบุคคลใดบ้างมีส่วนกระทำละเมิดและต้องรับผิดต่อโจทก์ คดีจึงเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งเป็นวันที่โจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ผู้แทนของจำเลยที่ 4 ปฏิบัติราชการในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4 โดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนสิทธิในที่ดิน กรณีตรวจสอบลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่รอบคอบ
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดเนื่องจากประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในการตรวจสอบหลักฐานต่างๆให้ถูกต้องในขณะที่ ว. จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทโดยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นเหตุให้ ว. นำที่ดินพิพาทมาขายฝากให้โจทก์ทั้งสี่ต่อมาเจ้าของที่ดินพิพาทได้ฟ้อง ว.โจทก์ที่2และที่4กับจำเลยที่3และที่4ขอให้เพิกถอนการขายฝากและศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดฐานละเมิดมิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับเรื่องนิติกรรมหรือสัญญาแม้โจทก์ที่1และที่3จะมิได้มีชื่อเป็นผู้รับซื้อฝากในสารบัญจดทะเบียนโจทก์ที่1และที่3ก็มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่4และที่5ในคดีที่เจ้าของที่ดินพิพาทฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากหรือจำเลยที่4และที่3ในคดีนี้ได้ฎีกาขอให้ตนเองไม่ต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้แต่จำเลยที่2และที่3ในคดีดังกล่าวหรือโจทก์ที่2และที่4ในคดีนี้ก็ได้ยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ด้วยเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่ทราบว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อศาลฎีกาพิพากษาคดีแล้วซึ่งฟังได้ว่าบุคคลใดบ้างมีส่วนกระทำละเมิดและต้องรับผิดต่อโจทก์คดีจึงเริ่มนับอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ผู้แทนของจำเลยที่4ปฏิบัติราชการในหน้าที่โดยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่4โดยมิได้ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจและถ่ายภาพบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจเก็บไว้ขณะจดทะเบียนนิติกรรมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องอายุความและประเด็นที่ต้องยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์สามารถตรวจสอบทะเบียนรถคันที่ชนรถของโจทก์ได้ว่าเป็นใคร มิใช่โจทก์เพิ่งทราบตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางปี 2530 คดีจึงขาดอายุความ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ยกอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 จึงฎีกาต่อมาไม่ได้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230-231/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, อายุความ, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เสียหายและผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะ
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 77