พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากผู้ยืมเงิน กรณีไม่ใช่การเรียกค่าเสียหาย
ใบสำคัญรับเงินค่ากระบือมิใช่ สัญญาซื้อขายหรือจะซื้อขายใบสำคัญรับเงินดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448ใช้บังคับเฉพาะกรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานของโจทก์ในตำแหน่งปศุสัตว์จังหวัดซึ่งเบิกเงินทดรองไปจากโจทก์เพื่อจัดซื้อกระบือตามโครงการพระราชดำริ และเมื่อจ่ายค่ากระบือที่ซื้อแล้วมีเงินเหลือให้คืนเงินส่วนที่เหลือแก่โจทก์ อันเป็นการขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามทุนทรัพย์และอายุความฟ้องแย้ง: กรณีละเมิดจากการชนบนถนน
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์100,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ลูกจ้างของจำเลยมิได้ประมาทก็ดี ค่าเสียหายของโจทก์ไม่ควรเกินกว่า 30,000 บาท ก็ดี เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว.ให้รับผิดแต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว.จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และข้อยกเว้นความรับผิดของนายจ้าง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์100,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ลูกจ้างของจำเลยมิได้ประมาทก็ดี ค่าเสียหายของโจทก์ไม่ควรเกินกว่า 30,000 บาท ก็ดี เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุน: การแยกพิจารณาอายุความของลูกหนี้ร่วม และการใช้บังคับอายุความตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จะนำอายุความ1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา 295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุนและลูกหนี้ร่วมกัน: ผลกระทบต่อจำเลยแต่ละคน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่งจะนำอายุความ 1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดจากการจัดการสหกรณ์ที่บกพร่องทำให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าคงเหลือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ตามกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคณะกรรมการดำเนินการของร้านสหกรณ์ ร. จำเลยที่ 8เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์ ร. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ได้ประชุมกรรมการและเลิกจ้างจำเลยที่ 8 โดยไม่ได้จัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน พร้อมทั้งสินค้าคงเหลือและจัดทำงบดุลแสดงฐานะอันแท้จริงของร้านสหกรณ์ ร. การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นการจงใจและประมาทเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินสินค้าขาดบัญชีโดยความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 8ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ จำเลยทั้งแปดต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าสินค้าที่ขาดบัญชี เช่นนี้ เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่กระทำต่อร้านสหกรณ์ ร. แม้ฟ้องโจทก์จะใช้ถ้อยคำว่าให้จำเลยชำระค่าสินค้าที่ขาดบัญชี ก็มิใช่กรณีฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน อันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เพราะไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินที่ขาดหายอยู่ในความครอบครองของจำเลยทุกคนโจทก์ซึ่งเป็นนายทะเบียนสหกรณ์และฟ้องคดีแทนร้านสหกรณ์จึงต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องเกินหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: เริ่มนับเมื่อทราบตัวผู้กระทำละเมิดและผู้รับผิดชอบ
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและทางวินัยที่โจทก์ได้แต่งตั้งขึ้นมีความเห็นเสนอโจทก์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2523ว่าไม่อาจสืบหาตัวผู้กระทำความผิดได้ ควรระงับความรับผิดทางแพ่งไว้ก่อน ตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์ได้มารู้ว่าจำเลยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อได้รับแจ้งความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษาความรับผิดทางแพ่งซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2528 โจทก์จึงได้รู้ตัวผู้ละเมิดและจะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวเมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 7 กรกฎาคม2529 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางสาธารณประโยชน์ ไม่ใช่ละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อรั้วลวดหนาม ประตูเหล็กที่ปิดกั้นทางสาธารณประโยชน์ ถอนต้นลำไย ขนทรายและนำวัสดุที่นำมากองหรือกีดขวางไว้บนทางออก และทำให้ทางสาธารณประโยชน์เปิดตามเดิมมิใช่เรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอออก น.ส.3ก. ทับที่ดินของผู้อื่นโดยมิได้ครอบครอง ถือเป็นการละเมิดและฟ้องแย้งไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์ขอออก น.ส. 3 ก.ที่ดินของตนรวมทั้งที่พิพาทโดยโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่พิพาทเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมจะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคแรก มาใช้บังคับหาได้ไม่และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิในที่พิพาท การที่โจทก์ไปขอออก น.ส.3 ก.จึงเป็นการละเมิดต่อจำเลย ตราบใดที่ น.ส.3 ก. ไม่ถูกเพิกถอนย่อมถือว่าการกระทำละเมิดยังมีอยู่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับเมื่อทราบตัวผู้ต้องรับผิดชอบ
การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำส่งเงินที่ขาดบัญชีต่อโจทก์มิใช่เป็นการแจ้งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เพราะขณะนั้นโจทก์ยังไม่ทราบว่าผู้ใดประมาทเลินเล่อและต้องรับผิดชอบบ้าง แต่เมื่อโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งแล้วคณะกรรมการทำรายงานเสนอโจทก์ว่าจำเลยต้องรับผิดร่วมกัน ส. โดยโจทก์ลงนามทราบรายงานของคณะกรรมการดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2529 แล้วมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชดใช้เงินตามฟ้องให้แก่โจทก์นั้น ถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ 8ตุลาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ