พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความต่างกันระหว่างผู้ทำละเมิด/นายจ้าง กับ ผู้รับประกันภัย คดีละเมิดและสัญญาประกันภัยแยกพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 จึงแตกต่างกัน สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง เมื่ออายุความฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 สามารถแยกออกจากกันได้ตามมาตรา 295 ที่กำหนดให้อายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ขึ้นต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดนายจ้างในฐานะผู้รับผิดชอบการกระทำของลูกจ้าง ต้องเริ่มนับจากวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องชดใช้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 โดยโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องในวันที่ 22 เมษายน 2545 และบรรยายคำฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แม้การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 มีมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษตาม ป.อ. โดยศาลจังหวัดสงขลามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสก็ตาม แต่การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ. ซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง นั้น หมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายความถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมในการกระทำผิดด้วย ดังนี้ การเรียกร้องค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงต้องใช้อายุความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คือภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เหตุคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิด เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 หลังเกิดเหตุเป็นเวลา 3 ปีเศษ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้อง คดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ไปแล้ว คำให้การของจำเลยที่ 2 ซึ่งต่อสู้เรื่องอายุความจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นเรื่องอายุความ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดเมื่อเกิน 1 ปี โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เพิ่งรู้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดนายจ้างจากเหตุลูกจ้างกระทำละเมิด: ใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิด
การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง นั้นหมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมในการกระทำความผิดด้วย การเรียกร้องค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงต้องใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 หลังเกิดเหตุเป็นเวลา 3 ปีเศษ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ไปแล้ว คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6974/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความคดีละเมิดช่วงวันหยุดราชการ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องภายในกำหนด
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 17 กรกฎาคม 2542 เมื่อนับเวลา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือ วันที่ 17 กรกฎาคม 2543 ตรงกับวันเข้าพรรษาเป็นวันหยุดราชการประจำปี และวันที่ 18 กรกฎาคม 2543 เป็นวันหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชาวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ ตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยื่นคำฟ้องคดีนี้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8122/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การรับรู้ละเมิดผ่านผู้แทน & ผลผูกพันกับโจทก์
ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ.2529 ข้อ 9 ได้มอบหมายการปฏิบัติราชการให้ผู้อำนวยการกองได้แก่ ผู้อำนวยการกอง กองก่อสร้างและบูรณะของกรุงเทพมหานครโจทก์ เป็นผู้มีอำนาจในการเรียกร้องให้ผู้กระทำละเมิดแก่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย การที่ผู้อำนวยการกองดังกล่าว เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด จึงเป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์มิใช่ในฐานะเป็นส่วนราชการของโจทก์เพียงอย่างเดียว และการที่พันตำรวจโท ธ. มีหนังสือแจ้งคดีให้ผู้อำนวยการกองทราบว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ โดยผู้อำนวยการกองลงชื่อรับทราบและมีคำสั่งให้ดำเนินการต่อไปเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 มีผลผูกพันโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าที่สุดในวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มกราคม 2542 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เพราะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 จึงถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามฟ้อง โจทก์ฎีกา แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 245 (1), 247
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เพราะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 จึงถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามฟ้อง โจทก์ฎีกา แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 245 (1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงานและการรับสภาพหนี้: การนับอายุความที่ถูกต้องและการขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำละเมิดต่อโจทก์และผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งหากถือเอาอายุความเกี่ยวกับการละเมิดมาบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานมาด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โดยนับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง คือวันที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดไม่ ซึ่งระยะเวลาทั้ง 2 กรณี เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินสิบปีแล้ว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3914/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิด vs. สัญญาประกันภัย และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ที่ทวงถามให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 ขับชนเสาไฟฟ้าของโจทก์เสียหายใช้ค่าสินไหมทดแทน และโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 สิงหาคม 2541 พ้น 1 ปี ไปแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างและลูกจ้างผู้กระทำละเมิดขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ จึงไม่อาจอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ ตามมาตรา 193/29
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 4 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 4 ไม่อาจยกอายุความในมูลละเมิดมาใช้อ้างยันโจทก์ได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก บัญญัติว่า ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2539 ซึ่งเกิดวินาศภัย โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 การฟ้องร้องจำเลยที่ 4 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 4 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 4 ไม่อาจยกอายุความในมูลละเมิดมาใช้อ้างยันโจทก์ได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก บัญญัติว่า ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2539 ซึ่งเกิดวินาศภัย โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 การฟ้องร้องจำเลยที่ 4 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อโจทก์ทราบถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ช. ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกได้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนโจทก์ การสอบสวนได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนจนถึงเจ้ากรมสารบรรณทหารบและผ่านมายังกองพระธรรมนูญ ในวันที่ 18 มีนาคม 2531 เพื่อเสนอให้ ช. อนุมัติดำเนินคดีแก่จำเลย และ ช. อนุมัติในวันที่ 26 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอรายงานผลการสอบสวนถึง 7 ปี การใช้เวลาในการเดินหนังสือเนิ่นนานไปจนผิดปกติเช่นนี้ โจทก์จึงควรมีพยานหลักฐานมาแสดงให้ปรากฏว่ามีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรบ้างและไปติดขัดอยู่ที่ใด ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์เพิ่งจะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 21 มีนาคม 2538 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 27 เมษายน 2538 จึงเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ช. ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกได้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนโจทก์ การสอบสวนได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนจนถึงเจ้ากรมสารบรรณทหารบและผ่านมายังกองพระธรรมนูญ ในวันที่ 18 มีนาคม 2531 เพื่อเสนอให้ ช. อนุมัติดำเนินคดีแก่จำเลย และ ช. อนุมัติในวันที่ 26 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอรายงานผลการสอบสวนถึง 7 ปี การใช้เวลาในการเดินหนังสือเนิ่นนานไปจนผิดปกติเช่นนี้ โจทก์จึงควรมีพยานหลักฐานมาแสดงให้ปรากฏว่ามีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรบ้างและไปติดขัดอยู่ที่ใด ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์เพิ่งจะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 21 มีนาคม 2538 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 27 เมษายน 2538 จึงเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน vs. ค่าเสียหายจากละเมิด: อายุความที่แตกต่างกัน
โจทก์เป็นเจ้าของดิน เมื่อจำเลยขุดเอาดินไปโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยนำดินที่ขุดไปนั้นคืนมาหรือขอให้จำเลยชดใช้ราคาได้ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขุดดินของโจทก์ไปขายให้แก่บุคคลอื่นแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ราคาดินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน vs. ค่าเสียหายจากละเมิด: อายุความและลักษณะสิทธิ
โจทก์เป็นเจ้าของดิน เมื่อจำเลยขุดเอาดินไปโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยนำดินที่ขุดไปนั้นคืนมาหรือขอให้จำเลยชดใช้ราคาได้ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขุดดินของโจทก์ไปขายให้แก่บุคคลอื่นแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ราคาดินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 448