คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 448

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน vs. ค่าเสียหายจากการละเมิด: อายุความที่แตกต่างกัน
จำเลยได้ขุดดินของโจทก์ไปขายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิที่จะขุดดินอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เมื่อจำเลยขุดเอาดินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยนำดินที่ขุดไปนั้นคืนมาหรือขอให้จำเลยใช้ราคาดินดังกล่าวแก่โจทก์ได้เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. 448 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ทั้งการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของมีสิทธิติดตามได้เสมอ เว้นแต่กรณีจะต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1382 และ 1383 โจทก์จึงจะหมดสิทธิติดตามเอาคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: สัญญาผูกพัน แม้มีคัดค้าน ผู้ซื้อต้องปฏิบัติตามสัญญา
การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย มีลักษณะแตกต่างจากการขายทอดตลาดโดยทั่วไป กล่าวคือ การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งจะมีการยกเลิก เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวได้ก็แต่โดยการร้องคัดค้านการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้อง แม้จะมีผู้อื่นยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดแต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดจึงรับฟังเป็นยุติว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงสามารถโอนทรัพย์สินให้ผู้ร้องได้ จะถือว่าการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยและทำให้ผู้ร้องหลุดพ้นจากการชำระหนี้สามารถบอกเลิกสัญญามิได้ ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยใช้ราคาทรัพย์สินที่ค้างชำระให้ครบ หากไม่ชำระเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเอาออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมจากการจัดสรรที่ดิน และความรับผิดทางละเมิดจากการรุกล้ำที่ดิน
คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจัดสรรที่ดินและให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีที่ว่างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 25 และการให้คำมั่นดังกล่าวเป็นการก่อให้เกิดภาระจำยอมตามกฎหมายแล้ว ซึ่งเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เรื่อง ควบคุมการจัดสรรที่ดิน คำฟ้องของโจทก์จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในภาวะจำยอมอันเป็นเหตุที่จะทำให้จำเลยทั้งสี่ต้องร่วมกันรับผิดรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทหรือไม่ ส่วนที่โจทก์ขอให้จดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์แม้คำขอดังกล่าวศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาท แต่โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมในโฉนดที่ดินพิพาทได้ เพราะเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ประการหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่ชอบ
ความเสียหายของตึกแถวของโจทก์เกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 และยอมให้จำเลยที่ 4 ปลูกสร้างตึกแถวขึ้น โดยยึดโครงสร้างตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่ไว้กับตึกแถวของโจทก์ ความเสียหายของตึกแถวเกิดเป็นรอยแตกร้าวที่ผนังตึก และเกิดการทรุดตัวบริเวณบาทวิถีอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดมา เมื่อโจทก์ได้รับทราบความเสียหาย ซึ่งนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแรงงานจากการกระทำผิดของลูกจ้าง และความรับผิดร่วมของลูกจ้างอีกคน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าบกพร่องต่อหน้าที่ในระหว่างทำงานให้โจทก์และก่อความเสียหายแก่โจทก์ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งร่วมกับจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะที่ทำงานตามสัญญาจ้างให้โจทก์อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดเครื่องหมายการค้า: การฟ้องข้ามปีเกินกำหนดอายุความ 1 ปี ทำให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารมาก่อนจำเลยทั้งสองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าเคมีอาหารในจำพวกที่ 42 เดิม จึงขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวกที่ 42 เดิม และใช้กับสินค้าเคมีอาหารดีกว่าจำเลยทั้งสอง คำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะในประเด็นที่ว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนคำว่า "Kyuta" ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนคำว่า "Kyuta" ไว้กับสินค้าเคมีอาหารในจำพวกที่ 42 เดิมของจำเลยที่ 1 ดีกว่าจำเลยทั้งสองเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่า ระหว่างปี 2529 ถึงปี 2542 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง และ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคสอง ซึ่งในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยไว้ ดังนี้ แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้จะเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์มิได้รื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองอีกในประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารดีกว่าจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ จึงมิใช่การรื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันละเมิดต่อโจทก์โดยทำการลวงขายสินค้าดังกล่าวตั้งแต่ปี 2529 ถึงปี 2542 เป็นเวลาต่อเนื่องกันโดยโจทก์ขอคิดค่าเสียหายถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 อันเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อน แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตั้งแต่ปี 2529 ตลอดมาจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 แล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2543 จึงเกินกำหนดอายุความ 1 ปี สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการละเมิดของจำเลยทั้งสองระหว่างปี 2529 ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2542 ของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนสำหรับการละเมิดที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองทำการลวงขายในวันที่ 24 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน การละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า
คดีก่อนผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะในประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนคำว่า"Kyuta" ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนคำว่า "Kyuta" ไว้กับสินค้าเคมีอาหารในจำพวกที่ 42 เดิมเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องในประเด็นที่ว่า ระหว่างปี 2529 ถึงปี 2542 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการผลิตสินค้าเคมีอาหารออกจำหน่ายแก่ลูกค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "Kyuta" เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีลักษณะการบรรจุสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์อันเป็นการลวงสาธารณชนให้เข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองอาศัยชื่อเสียงและยี่ห้อทางการค้าของโจทก์ที่แพร่หลายทั่วไปแล้วในวงการเคมีอาหารนั้น เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "Kyuta" และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 29 วรรคสอง และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 46 วรรคสอง ซึ่งศาลในคดีก่อนยังไม่ได้วินิจฉัยไว้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีก่อนถึงการกระทำอันเป็นการลวงขายของจำเลยทั้งสอง ก็เพื่อเป็นเหตุผลแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยทั้งสองเท่านั้น มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การลวงขายนั้นแต่อย่างใด ดังนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่การรื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148
การฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดฐานลวงขายของจำเลยทั้งสองต้องฟ้องบังคับภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองทำการลวงขายสินค้าตั้งแต่ปี 2529 ถึงที่ 2542 เป็นเวลาต่อเนื่องกันโดยโจทก์ขอคิดค่าเสียหายถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 อันเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้พึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2529 ตลอดมาจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 แล้ว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2543 จึงเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับการทำละเมิดตั้งแต่ปี 2529 ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2542 เกินกำหนดอายุความ 1 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าวของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมสำหรับการละเมิดที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองทำการลวงขายในวันที่ 24 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องภายในอายุความ 1 ปี เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดทางการแพทย์: เริ่มนับเมื่อรู้ถึงละเมิด ไม่ใช่เมื่อรู้ผลสอบสวน
หลังจากโจทก์ที่ 3 คลอดโจทก์ที่ 1 และเกิดเหตุละเมิดจากการทำคลอดของจำเลยทั้งสามต่อโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ได้พยายามให้โจทก์ที่ 1 ได้รับการรักษาทั้งจากจำเลยทั้งสามและโรงพยาบาลอื่น และได้เรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชอบกับร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแต่ไม่เป็นผล วันที่ 9 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 3 ได้ทำหนังสือร้องเรียนจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกต่อแพทยสภาย่อมชี้ชัดว่า โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมผู้มีอำนาจทำการแทนผู้เยาว์ และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะส่วนตัว ได้รู้ถึงการละเมิดกับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ตั้งแต่ก่อนวันที่ 9 กันยายน 2537 มิใช่ตั้งแต่วันที่โจทก์ทราบผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากแพทยสภา โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ล่วงเลยกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้แก่โจทก์ที่ 3 โดยประมาทเพราะจำเลยที่ 2 สามารถทราบขนาดของทารกในครรภ์แต่ไม่เลือกวิธีทำคลอดให้เหมาะสม กับจำเลยที่ 3 ซึ่งดูแลรักษาโจทก์ที่ 1 ประมาทเนื่องจากการถ่ายเลือดด้วยวิธีแยงสายสะดือทำให้โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อ โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์บรรยายฟ้องให้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้โจทก์ที่ 3 ตามขั้นตอนปกติ พยายามให้คลอดโดยวิธีธรรมชาติ ต่อมาใช้วิธีเอาเครื่องมือดูดศีรษะทารกในครรภ์เพื่อดึงออกจนกระทั่งต้องผ่าตัด ส่วนจำเลยที่ 3 ดูแลโจทก์ที่ 1 จนอาการตัวเหลืองหายไป แต่โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อจากการถ่ายเลือด จำเลยที่ 3 ก็ไม่ให้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่กลับอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 นำโจทก์ที่ 1 กลับบ้าน ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจึงเป็นเพียงการแสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติงานบกพร่องเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งเท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงถึงขั้นว่าเป็นการกระทำโดยประมาทที่จะมีมูลความผิดทางอาญาซึ่งจะต้องบังคับใช้อายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดในที่ดินขายฝาก: ประเด็นอายุความและประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม
เรื่องค่าเสียหายโจทก์บรรยายกล่าวไว้ในคำฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสามไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้ การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องนั้นให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาล เมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วน และกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม ไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยานแต่อย่างใดจึงชอบแล้ว
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด, การชำระหนี้ไถ่ถอนการขายฝาก, และการพิสูจน์หลักฐาน
ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังนั้น แม้จำเลยไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลอาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้
การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วนและกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม จึงไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยาน
การใช้สิทธิฟ้องขับไล่ในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อครบกำหนดไถ่คืนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนและโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปการละเมิดก็ยังคงอยู่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบ และอายุความการฟ้องละเมิดจากการครอบครองที่ดิน
จำเลยนำที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ไปขอออก น.ส. 3 ก. โดยไม่ชอบ ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 61 และโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. ในส่วนที่ออกโดยไม่ชอบได้เพราะตราบใดที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ยังไม่ถูกเพิกถอนย่อมถือว่าการละเมิด ยังมีอยู่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 77