คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 448

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การพิสูจน์วันทำละเมิดและผลของการไม่ฟ้องภายใน 10 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ใช้ใบเบิกปลอมเป็นหลักฐานในการลงบัญชีจ่ายสายสูบน้ำดับเพลิงทำให้สายสูบน้ำดับเพลิงของกรมตำรวจโจทก์สูญหายและขาดบัญชีไป เป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ละเมิด และมูลหนี้ละเมิดนั้นเป็นความผิดที่มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ใบเบิกเป็นเพียงเอกสารราชการ มิใช่เอกสารสิทธิโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบ มาตรา 265 คือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี ซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญาเพียง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(3) มิใช่ 20 ปี จึงไม่เป็นกรณีที่กำหนดอายุความอาญายาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง
เหตุละเมิดเกิดจากสายสูบน้ำดับเพลิงของโจทก์สูญหายไปหากไม่สูญหายย่อมไม่มีเหตุละเมิดต่อโจทก์ที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องร้อง ดังนั้น วันทำละเมิดย่อมหมายถึงวันที่ทรัพย์สูญหาย มิใช่วันที่มีการทำใบเบิกปลอมหรือวันที่ตรวจพบว่ามีการสูญหาย เพราะอาจมีการสูญหายก่อนหน้านั้นนานเพียงใดก็ได้
การที่สายสูบน้ำดับเพลิง 736 เส้น ของกรมตำรวจโจทก์ไปอยู่ที่สถานีตำรวจดับเพลิงต่าง ๆ ต้องถือว่าสายสูบน้ำดับเพลิงจำนวนนี้มิได้สูญหาย เนื่องจากสถานีตำรวจดับเพลิงเหล่านั้นคือหน่วยงานในสังกัดของโจทก์เท่ากับว่าสายสูบน้ำดับเพลิงยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ การคำนวณปริมาตร และอำนาจฟ้องของหน่วยงานรัฐ
คำฟ้องในส่วนเกี่ยวกับความเสียหายบรรยายว่าจำเลยทั้งสองระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจำนวนสองครั้ง แต่ละครั้งคิดเป็นพื้นที่เท่าใดและปริมาตรเท่าใด รวมทั้งปริมาตรหินที่จำเลยทั้งสองเอาไปเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันคืนหินแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ให้ชดใช้ราคาพร้อมด้วยดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนวิธีการคำนวณหาปริมาตรหินดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสามต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง คำฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จนถูกดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว โจทก์ทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และดำเนินกิจการส่วนจังหวัดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐรวมทั้งเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่โจทก์ทั้งสามนำมาใช้คำนวณหาปริมาตรหินพิพาทที่ฟ้องโจทก์ที่ 3 เคยใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตระเบิดและย่อยหินโดยจำเลยทั้งสองไม่เคยปฏิเสธความถูกต้องและยอมรับปฏิบัติตาม จึงผูกพันจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าหินพิพาทมีจำนวนตามฟ้อง และศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาหินพิพาทด้วยการเทียบเคียงกับราคาจำหน่ายทั่วไปชอบแล้ว
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าในหินพิพาทแต่ละลูกบาศก์เมตร มีหินดินและทรายปะปนรวมกัน ทั้งบริเวณที่เกิดเหตุมีหินมากกว่าดิน ในการคำนวณปริมาตรหินพิพาทต้องหักปริมาตรดินออกตามสัดส่วนก่อน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4025/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดจากการไม่ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและแผงค้า
โจทก์ฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและแผงค้าของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของโจทก์ได้ ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเมื่อครบกำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและแผงค้าที่เช่าของโจทก์ในวันที่ 26 เมษายน 2532 และวันที่ 9 ตุลาคม 2533 แต่จำเลยเพิกเฉยอันถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์นับแต่วันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยตลอดมา อีกทั้งโจทก์ก็ทราบว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 จึงต้องถือว่าค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินและแผงค้าที่เกิดก่อนวันที่ 24 เมษายน 2539 เกิน 1 ปี แล้วเป็นอันขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งงานภายในหน่วยงานทางทหาร และความรับผิดในความเสียหายจากสิ่งอุปกรณ์สูญหาย โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่มีหน้าที่โดยตรง
จำเลยที่ 1 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายให้เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 จงใจไม่เก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์อย่างไร จำเลยที่ 1 รับสิ่งอุปกรณ์มาจำนวนเท่าใด จากใคร เมื่อใด และสิ่งอุปกรณ์ได้สูญหายหรือขาดบัญชีไปอย่างไร แต่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าในชั้นสืบพยาน โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดแจ้งถึงการแบ่งและมอบอำนาจหน้าที่ของฝ่ายพลาธิการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่ ประกอบกับโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏในมูลเหตุแห่งกรณีและรายละเอียดแห่งข้อหาอันเป็น หลักฐานแห่งฐานความผิด เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลงต่อสู้คดีและเสียเปรียบ ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อพ้นระยะเวลา 10 ปี หลังเกิดการละเมิด คดีจึงขาดอายุความ แต่เหตุที่อ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลา ที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นั้นเป็นคนละประเด็นกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งกองทัพบกโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเกี่ยวกับ สิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการไว้ แต่เมื่อคำสั่งจังหวัดทหารบกขอนแก่น อันเป็นคำสั่งภายในหน่วยงานของจำเลยที่ 1 กำหนดหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการให้เป็นของผู้ช่วยพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเสียแล้ว ย่อมเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ และมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการแล้ว การปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนปัญหาที่ว่าคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งกันจะใช้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจังหวัดทหารบกขอนแก่น ไม่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ความเสียหายของโจทก์จึงมิได้ เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดทำให้สิ่งอุปกรณ์ ของโจทก์สูญหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดต่อเนื่อง: การเพิกเฉยไม่ยอมออกจากที่ดินหลังได้รับแจ้ง ทำให้คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมา จนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้ อันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่อง คดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการวางค่าขึ้นศาล และอายุความคดีละเมิด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ยื่นคำร้องสอดว่า คดีของผู้ร้องสอดเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องภายในนัดหน้าครั้นถึงวันนัดผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดทุนทรัพย์ด้วย ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องสอดเกี่ยวกับราคาทรัพย์พิพาทแล้วมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดแถลงจำนวนทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนในนัดต่อไป มิฉะนั้นจะสั่งว่าผู้ร้องสอดทิ้งคำร้องสอด เมื่อถึงวันนัดผู้ร้องสอดได้ยื่นต่อศาลแต่เพียงหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินพิพาทว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้กำหนดราคาประเมินไว้ตารางวาละ 1,500 บาท และขอถือเป็นทุนทรัพย์ โดยผู้ร้องสอดไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง คำร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ถือเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาท โดย อ. เจ้าของเดิมนำไปขายฝากไว้แก่โจทก์แล้วไม่ได้ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนด โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวจาก อ. มาแต่เดิมอยู่ในตึกแถวนั้นต่อไป ซึ่งได้บอกกล่าวให้จำเลยรับทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการอยู่ในตึกแถวของโจทก์โดยละเมิดเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่และการทำละเมิดของจำเลยชัดเจนแล้ว ไม่เคลือบคลุม
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมาจนกระทั่งโจทก์ฟ้องอันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่องคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดต่อเนื่องจากการไม่ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมา จนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้ อันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่อง คดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง เริ่มนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้ต้องรับผิด แม้จะมีการพิจารณาภายในของโจทก์เพิ่มเติม
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า จำเลยเป็นผู้ต้องรับผิดและแจ้งให้เลขาธิการของโจทก์ทราบ ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงผู้ที่ต้องรับผิดทางแพ่งว่าเป็นจำเลยตั้งแต่ก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่เลขาธิการของโจทก์มีบันทึกถึงผู้ทรงคุณวุฒิด้านให้คำปรึกษากฎหมาย กระทรวงหมาดไทย คือวันที่ 29 ธันวาคม 2537 แม้ต่อมาเลขาธิการของโจทก์จะเสนอขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านให้คำปรึกษากฎหมาย กระทรวงมหาดไทยก็ตาม แต่ผลการพิจารณาก็มิได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดทางแพ่งแต่อย่างใด และแม้เลขาธิการของโจทก์จะลงนามเห็นชอบให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2538 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์อันเป็นการเริ่มนับอายุความเปลี่ยนแปลงไป เพราะมิฉะนั้นแล้วอายุความก็ขยายออกไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2539 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: เริ่มนับเมื่อใดเมื่อโจทก์ทราบตัวผู้รับผิด แม้มีการพิจารณาภายใน
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่ง สรุปผลว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยแจ้งให้เลขาธิการโจทก์ทราบเมื่อวันที่27 กันยายน 2537 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงผู้ที่ต้องรับผิดในทางแพ่งว่าเป็นจำเลยตั้งแต่ก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่โจทก์มีบันทึกถึงผู้ทรงคุณวุฒิแม้ต่อมาเลขาธิการโจทก์จะเสนอขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิก็ตามแต่ผลการพิจารณาก็มิได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดทางแพ่งแต่อย่างใดและแม้เลขาธิการโจทก์จะลงนามเห็นชอบให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2538 ก็ไม่ทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์อันเป็นการเริ่มนับอายุความเปลี่ยนแปลงไป เพราะมิฉะนั้นแล้วอายุความก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆแล้วแต่ความล่าช้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 15 มีนาคม 2539พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้ และเริ่มนับใหม่เมื่อศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในคดีดังกล่าวยอมรับว่าที่ดินพิพาทที่นำยึดเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยและขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลย ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั้นแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตาม มาตรา193/15 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย วันที่ 18 กรกฎาคม 2539 เป็นเหตุที่ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดในวันดังกล่าวตาม มาตรา 193/15 จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2539โจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ วันที่ 4 กันยายน 2539 ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 77