คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 448

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการปล่อยปละละเลยจนเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น และการใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
แม้ ช. ผู้จัดการของโจทก์อำเภอลาดหลุมแก้ว ได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ตาม แต่เป็นการแจ้งความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องในเหตุนั้นบ้างเพื่อหาผู้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วรายงานตามลำดับชั้นบังคับบัญชาให้ผู้แทนของโจทก์คือ ผู้ว่าการสั่งการ ทั้งในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีก็ไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยที่ 1 เข้าเกี่ยวข้องรับผิดด้วยแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ถึงการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และรู้ว่าจำเลยที่ 1ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ ช. ไปแจ้งความ
สายโทรศัพท์ของจำเลยที่ 1 ที่พาดผ่านถนนบริเวณที่เกิดเหตุสูงกว่าพื้นถนนเพียงไม่เกิน 5.18 เมตร อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ว่าสายโทรศัพท์จะต้องอยู่สูงจากระดับผิวการจราจรช่วงที่มีรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่แล่นผ่านได้ไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคอยดูแลเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ดูแลสายโทรศัพท์บริเวณที่เกิดเหตุจนทำให้สายโทรศัพท์อยู่สูงจากระดับผิวจราจรเพียงไม่เกิน 5.18 เมตรเป็นเหตุให้รถพ่วงบรรทุกถังเกี่ยวสายโทรศัพท์ที่พาดผ่านดังกล่าวดึงเสาไฟฟ้าของโจทก์หัก 8 ต้น และอุปกรณ์เสียหาย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 และที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 4 ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยที่ 1 ไปเป็นเงิน 70,000 บาท และใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้เสียหายอีกรายหนึ่งไปเป็นเงิน 6,925 บาท แต่จำเลยที่ 4 ให้การเพียงว่าความรับผิดของจำเลยที่ 4 มีจำนวนจำกัดในวงเงินไม่เกิน 250,000 บาท เท่านั้น มิได้ให้การถึงการใช้ค่าสินไหมทดแทนอื่นแต่อย่างใด ทั้งที่จำเลยที่ 4 อ้างว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วก่อนยื่นคำให้การ ดังนั้น ที่จำเลยที่ 4 นำสืบถึงการใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวล้วนแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 4 มิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: สัญญา vs. ละเมิด
โจทก์ผู้รับตราส่งฟ้องจำเลยผู้ขนส่งให้รับผิด เนื่องจากจำเลยมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534และสัญญารับขนของทางทะเลที่จะต้องนำสินค้าที่รับขนไปส่งมอบให้แก่โจทก์และรับเวนคืนใบตราส่ง แต่จำเลยไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ กลับส่งมอบให้ผู้ซื้อโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่ง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขนของทางทะเล แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะกล่าวอ้างมูลละเมิดมาด้วย แต่เมื่อจำเลยผิดสัญญารับขนของทางทะเลและโจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายอันเกิดจากมูลผิดสัญญาได้ จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: สิทธิเรียกร้องจากผิดสัญญา ไม่ใช่มูลละเมิด
โจทก์ในฐานะผู้รับตราส่งฟ้องจำเลยในฐานะผู้ขนส่งให้รับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 และตามสัญญารับขนของทางทะเลที่จะต้องนำสินค้าที่ตนเองรับขนไปส่งมอบให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็น ผู้รับตราส่งและรับเวนคืนใบตราส่ง แต่จำเลยไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ กลับส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่ง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขนของทางทะเล แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะกล่าวอ้างมูลละเมิดมาด้วย แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยผิดสัญญารับขนของทางทะเลและโจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายอันเกิดจากมูลผิดสัญญาได้ กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ในเรื่องการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากน้ำรั่วซึม - ผู้ก่อสร้างต้องรับผิดชอบแม้โอนอาคารไปแล้ว - อายุความ 1 ปี
โจทก์ฟ้องบังคับเพื่อให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการระงับความเสียหายอันจะบังเกิดแก่โจทก์ต่อไป ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิดโดยตรงจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1342 วรรคหนึ่งและวรรคสองจนเป็นเหตุให้มีน้ำโสโครกซึมเข้าไปในที่ดินและบ้านของโจทก์และมีกลิ่นเหม็นไม่อาจพักอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านได้ตามปกติสุขอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งเป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนอาคารชุดที่เกิดเหตุไปให้จำเลยที่ 2 แล้วก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 มายกเว้นความผิดของตนได้เพราะคดีนี้ความเสียหายมิได้เกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องหรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันรู้ถึงการละเมิด แม้มีการดำเนินคดีภายหลัง
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดจากการที่จำเลยยื่นฟ้องขับไล่โจทก์และบริวารพร้อมกับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ยื่นคำให้การว่าที่ดินโจทก์อยู่นอกเขตที่ดินจำเลย มูลละเมิดเกิดจากการที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์เท่านั้นการที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาภายหลังเป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการยื่นฟ้องคดีอันเป็นมูลละเมิด มิใช่การกระทำละเมิดต่อเนื่องจนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง เมื่อโจทก์ยื่นคำให้การแก้คดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539 แสดงว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540 เกินกำหนด 1 ปี คดีโจทก์ จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร: การลดทอนประโยชน์ใช้สอยและอำนาจฟ้องของเจ้าของสามยทรัพย์
การจัดสรรที่ดิน ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 หมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยมิได้มีข้อกำหนดว่าผู้จัดสรรที่ดินที่ทำการจัดสรรที่ดินต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ที่ทำการแบ่งแยกที่ดินที่นำมาจัดสรร แม้เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย แล้วต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซื้อที่ดินที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกไว้ทั้งหมดนำมาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ก็หาทำให้การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เป็นการจัดสรรที่ดิน ทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคดังกล่าวก่อสร้างในที่ดินย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินในโครงการทุกแปลง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ซ. ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ตามที่จำเลยนำสืบอันเป็นทำนองอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมนั้นสิ้นไป จำเลยจึงต้องรับภาระตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคก่อสร้างในที่ดินเป็นภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ในที่ดินจัดสรรดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม และเมื่อมีการกั้นรั้วสังกะสี บนถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างในที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้สร้างเป็นกำแพงคอนกรีตยาวตลอดแนวทำให้ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กดังกล่าวแคบลง ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องให้ปลดเปลื้องความเสียหายดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่ายังมีผู้อื่นทำให้โจทก์เสื่อมประโยชน์ในการใช้ภารยทรัพย์และโจทก์ได้ฟ้องบุคคลเหล่านั้นหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1477 ได้บัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แม้จะเกี่ยวด้วยการจัดการสินสมรส โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม – การรุกล้ำภารยทรัพย์ – อายุความ – สิทธิเรียกร้อง – เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิฟ้อง
อ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยจำนวน 158 แปลง แล้วต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซื้อที่ดินที่ อ. แบ่งแยกไว้มาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป การขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่ไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินดังกล่าวกลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดิน
เมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.เป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นไป
แม้ฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส แต่ตามมาตรา 1477 บัญญัติให้คู่สมรสฟ้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตราบใดที่กำแพงคอนกรีตหรือวัสดุอื่นใดในภารยทรัพย์ยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของสามยทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ย่อมฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ได้แม้จะเกินหนึ่งปีนับแต่ก่อสร้างก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากเหตุละเมิด: พิจารณาจากวันที่ผู้อำนวยการทราบเหตุและตัวผู้รับผิด และข้อยกเว้นการรับผิดตามสัญญาประกันภัย
พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฯ มาตรา 38 กำหนดให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กระทำการในนาม ขององค์การโทรศัพท์ฯ และเป็นตัวแทนขององค์การโทรศัพท์ฯ ดังนั้น วันที่ถือว่าโจทก์ทราบคือวันที่ผู้อำนวยการรู้ถึง การละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เว้นแต่ผู้อำนวยการจะตั้งตัวแทนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ การที่ บ. หัวหน้าหน่วยบำรุงรักษาซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพย์สินของโจทก์มอบอำนาจให้ ค. ไปแจ้งความ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ตามปกติเท่านั้น มิใช่เป็นผู้กระทำแทนผู้อำนวยการของโจทก์เฉพาะเรื่องตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะตัวการตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 อันถือว่ากิจการทุกประการที่ บ. กระทำไปเป็นการกระทำของผู้อำนวยการของโจทก์ เมื่อผู้อำนวยการของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจาก บ. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2538 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย ค้ำจุนได้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยระบุความรับผิดต่อบุคคลภายนอกใน ความเสียหายแก่ทรัพย์สินว่าผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดส่วนแรก 10,000 บาท ต่อครั้ง/ทุกครั้ง จึงต้องหักเงินจำนวนนี้ออกจากค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความในคดีละเมิดเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ ศาลพิจารณาว่าวันเริ่มต้นทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายของอายุความ
เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 เมื่อนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ ศาลหยุดทำการ ซึ่งตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การนับอายุความเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 วันครบกำหนด1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
of 77