พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, ความรับผิดร่วม, การแบ่งแยกหนี้, การฟ้องคดีถึงที่สุด, อำนาจฟ้อง
จำเลยที่3ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์ตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่3เมื่อวันที่1กรกฎาคม2528แม้จะฟังว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด1ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตามแต่เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่3ทำละเมิดก็ต้องหมายถึงว่าในขณะที่จำเลยที่3ปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์นั่นเองดังนั้นการทำละเมิดของจำเลยที่3ต่อโจทก์ช่วงตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่30มิถุนายน2519ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนฟ้อง10ปีฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์คงฟ้องจำเลยที่3ได้เฉพาะการทำละเมิดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีเท่านั้น โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9ปฎิบัติหน้าที่ราชการโดยความบกพร่องและโดยความประมาทเลินเล่อไม่ปฎิบัติตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงไม่ใช่ฎีกาโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของระเบียบหรือคำสั่งของโจทก์อันจะเป็นข้อกฎหมายเมื่อโจทก์ฎีกาให้จำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดไม่เกิน140,645บาทจำเลยที่4ร่วมรับผิดไม่เกิน70,820บาทจำเลยที่6ร่วมรับผิดไม่เกิน64,145บาทจำเลยที่8ร่วมรับผิดไม่เกิน97,835บาทและจำเลยที่9ร่วมรับผิดไม่เกิน104,400บาทแยกจากกันจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9แต่ละรายไม่เกิน200,000บาทคดีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง หนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่10และที่11ชดใช้ให้แก่โจทก์จำนวน264,735บาทและจำนวน277,320บาทตามลำดับเป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้วโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นหนี้ร่วมกับจำเลยอื่นอันเกิดจากมูลละเมิดก็ตามแต่เกิดจากการกระทำที่แตกต่างกันและศาลชั้นต้นก็ได้แยกความรับผิดที่จำเลยอื่นจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยคนไหนจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ต่อโจทก์จึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้เมื่อหนี้ที่จำเลยที่10และที่11จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้คดีของจำเลยที่10และที่11จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ศาลอุทธรณ์จะอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่10และที่11ที่คดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วเพื่อมิให้จำเลยที่10และที่11ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ด้วยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่9ในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่9ขาดอายุความนั้นเมื่อตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยที่9ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ฎีกาของจำเลยที่9ทุกข้อจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีกระแสรายวัน และผลผูกพันจำเลยร่วมที่ไม่ได้ฎีกา
โจทก์และจำเลยที่1มีข้อตกลงกันว่าเมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ซีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง6ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซิทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่3ที่4และที่7ถึงที่10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10จะมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีกระแสรายวันและการขยายผลการพิพากษาถึงจำเลยอื่น
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต จำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง 6 ฉบับ ทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 แล้ว
เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 ถึงที่ 10 จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่
แม้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7,ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 ถึงที่ 10 จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่
แม้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7,ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีธนาคาร และผลผูกพันหนี้ร่วม การบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ชีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต จำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง 6 ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีชีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 ถึงที่ 10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1,ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีธนาคาร และผลผูกพันหนี้ร่วมของลูกหนี้หลายคน
โจทก์และจำเลยที่1มีข้อตกลงกันว่าเมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ชีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง6ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีชีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่3ที่4และที่7ถึงที่10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10จะมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่ผิดนัดชำระ และมีผลถึงลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่2สมัครเป็นสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิตประเภทบัตรเสริมของโจทก์โดยจำเลยที่ 2 สามารถนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าและบริการตลอดจนเสียเงินสดจากสถานประกอบกิจการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ได้โดยโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 2 ให้แก่สถานประกอบกิจการค้าต่างๆไปก่อนจากนั้นโจทก์จะเรียกเก็บเงินที่ทดรองจ่ายแทนจากจำเลยที่ 2 เป็นรายเดือนตามรอบระยะเวลาทางบัญชีที่โจทก์กำหนดเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (7) เดิม คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งห้าเป็นอย่างเดียวกันการที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันแม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245 (1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำหลังทิ้งฟ้อง: ศาลพิจารณาฟ้องแย้งเดิมได้ และจำกัดสิทธิการบังคับคดีกับจำเลยที่ 3
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ในศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ออก น.ส.3 ก.ทับที่ดินของจำเลย ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) และให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามฟ้องแย้งต่อไป แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชนะคดีตามฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันและมีประเด็นขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก.เช่นเดียวกัน แม้การทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้น หามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไป เมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายจำเลยตามฟ้องแย้ง การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ดำเนินกระบวนการซ้ำต้องห้าม แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยได้ แต่คดีไม่มีประโยชน์พิจารณาต่อ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ในศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจำเลยที่1และที่2ให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ออกน.ส.3ก.ทับที่ดินของจำเลยขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.ของโจทก์ส่วนจำเลยที่3ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)และให้สืบพยานจำเลยที่1และที่2ตามฟ้องแย้งต่อไปแล้วพิพากษาให้จำเลยที่1และที่2ชนะคดีตามฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่1และที่2เป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันและมีประเด็นขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.เช่นเดียวกันแม้การทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้นหามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่1และที่2ยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไปเมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายจำเลยตามฟ้องแย้งการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่1และที่2อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144วรรคหนึ่ง ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ภาค3เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา246ประกอบมาตรา142(5) ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่3โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีแต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่1กับที่3และจำเลยที่2กับที่3ร่วมกันเพิกถอนน.ส.3ก.ซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นเจ้าของในแต่ละแปลงโดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออกน.ส.3ก.ทั้งสองฉบับเมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่1และที่2ให้เพิกถอนน.ส.3ก.ดังกล่าวได้แล้วสภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่3จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้คดีสำหรับจำเลยที่3จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและขอบเขตความรับผิดในการคืนเงินมัดจำ
โจทก์ฟ้องว่า ได้ตกลงซื้อรถทัวร์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแต่ได้สอดเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันในการคืนเงินมัดจำ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์ ดังนั้นจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งไม่อุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมกันไม่สามารถแบ่งแยกได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วม
โจทก์ฟ้องว่า ได้ตกลงซื้อรถทัวร์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแต่ได้สอดเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันในการคืนเงินมัดจำ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์ ดังนั้น จึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ซึ่งไม่อุทธรณ์ด้วย