พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงต้องเป็นผู้ขนส่งตามสัญญา หากไม่ใช่สิทธิยึดหน่วงไม่มีผลบังคับใช้
โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถเพื่อใช้บรรทุกและเก็บสินค้าคือเครื่องจักรพิพาทไว้ในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนกว่าเจ้าของสินค้าจะขนย้ายออกไปเท่านั้นไม่ได้มีสัญญาต่อกันว่าโจทก์จะต้องขนสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่เจ้าของสินค้าณสถานที่แห่งอื่นอย่างไรจึงไม่มีค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่โจทก์จะเรียกเอาจากเจ้าของสินค้าได้คงมีเฉพาะค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระอยู่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่สัญญารับขนของโจทก์จึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา630ยึดหน่วงเครื่องจักรพิพาทที่จำเลยที่6และที่7ประมูลซื้อไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระหาได้ไม่และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวการที่จำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่7เข้าทำการตรวจค้นที่ทำการของโจทก์แล้วยึดเอาเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์ไปจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการขอให้ชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องเป็นผู้ขนส่งตามสัญญาขนส่ง หากไม่ใช่สิทธิยึดหน่วงไม่มีผล
โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถเพื่อใช้บรรทุกและเก็บสินค้าคือเครื่องจักรพิพาทไว้ในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนกว่าเจ้าของสินค้าจะขนย้ายออกไปเท่านั้น ไม่ได้มีสัญญาต่อกันว่าโจทก์จะต้องขนสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่เจ้าของสินค้า ณ สถานที่แห่งอื่นอย่างไรจึงไม่มีค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่โจทก์จะเรียกเอาจากเจ้าของสินค้าได้ คงมีเฉพาะค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระอยู่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่สัญญารับขนของโจทก์จึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 630ยึดหน่วงเครื่องจักรพิพาทที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ประมูลซื้อไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระหาได้ไม่และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2ร่วมกับจำเลยที่ 7 เข้าทำการตรวจค้นที่ทำการของโจทก์แล้วยึดเอาเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์ไป จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการขอให้ชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงต้องมีสัญญาขนส่ง หากไม่มีสิทธิยึดหน่วงเกิดขึ้น การยึดทรัพย์จึงไม่เป็นละเมิด
โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถเพื่อใช้บรรทุกและเก็บสินค้าคือเครื่องจักรพิพาทไว้ในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนกว่าเจ้าของสินค้าจะขนย้ายออกไปเท่านั้นไม่ได้มีสัญญาต่อกันว่าโจทก์จะต้องขนสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่เจ้าของสินค้าณสถานที่แห่งอื่นอย่างไรจึงไม่มีค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่โจทก์จะเรียกเอาจากเจ้าของสินค้าได้คงมีเฉพาะค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระอยู่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่สัญญารับขนของโจทก์จึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา630ยึดหน่วงเครื่องจักรพิพาทที่จำเลยที่6และที่7ประมูลซื้อไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระหาได้ไม่และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวการที่จำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่7เข้าทำการตรวจค้นที่ทำการของโจทก์แล้วยึดเอาเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์ไปจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการขอให้ชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคนเสมือนไร้ความสามารถและการแก้ไขคำฟ้องให้สมบูรณ์ รวมถึงความรับผิดทางละเมิด
น.ผู้พิทักษ์ของ ด.คนเสมือนไร้ความสามารถไม่ใช่ผู้แทนของ ด.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทน เมื่อ น.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยเป็นผู้ลงชื่อแต่งทนายความและทนายความลงชื่อในคำฟ้องอันเป็นการที่ผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถโดยไม่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจาก ด. คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 35 เดิม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งเป็นกรณีล่วงเลยการตรวจวินิจฉัยคำฟ้อง จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานเป็นว่าด.ได้มอบให้ น.ฟ้องและดำเนินคดีแทนและได้รับความยินยอมจาก น.แล้ว และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง จึงมีผลทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลับเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ซึ่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมอบอำนาจให้ น.ผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ซึ่งนำเข้าร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 3 โดยมีเครื่องหมายของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ข้างตัวรถยนต์บรรทุกแล่นในซอยซึ่งเป็นถนนสายโทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับอยู่ในถนนสายกลางซึ่งเป็นถนนสายเอกล้มลงโดยประมาทไม่ดูรถที่แล่นอยู่ในถนนสายกลาง เหตุเกิดทื่สี่แยกถนนสายกลางตัดกับถนนซอยในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เจ้าของหัวรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ลากตัวรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 3หรือนำเข้าร่วมในกิจการขนส่งสินค้าด้วยกัน จำเลยที่ 3 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ นับแต่วันที่โจทก์ถูกออกจากงานจนถึงวันเกษียณอายุ เป็นการที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเพื่อการที่โจทก์เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง นั่นเองแต่โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวนับแต่โจทก์ถูกออกจากงานจนถึงวันที่โจทก์ถึงแก่กรรมเท่านั้น
เมื่อหนี้ตามคำฟ้องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจชี้ขาดให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ซึ่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมอบอำนาจให้ น.ผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ซึ่งนำเข้าร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 3 โดยมีเครื่องหมายของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ข้างตัวรถยนต์บรรทุกแล่นในซอยซึ่งเป็นถนนสายโทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับอยู่ในถนนสายกลางซึ่งเป็นถนนสายเอกล้มลงโดยประมาทไม่ดูรถที่แล่นอยู่ในถนนสายกลาง เหตุเกิดทื่สี่แยกถนนสายกลางตัดกับถนนซอยในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เจ้าของหัวรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ลากตัวรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 3หรือนำเข้าร่วมในกิจการขนส่งสินค้าด้วยกัน จำเลยที่ 3 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ นับแต่วันที่โจทก์ถูกออกจากงานจนถึงวันเกษียณอายุ เป็นการที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเพื่อการที่โจทก์เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง นั่นเองแต่โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวนับแต่โจทก์ถูกออกจากงานจนถึงวันที่โจทก์ถึงแก่กรรมเท่านั้น
เมื่อหนี้ตามคำฟ้องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจชี้ขาดให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะหากไม่ทำเป็นหนังสือ สิทธิและหน้าที่โอนไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
เอกสารที่โจทก์ที่2และจำเลยกระทำไว้ต่อกันระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาเช่าบ้านระบุเงื่อนไขในการเช่าบ้านไว้รวม12ข้อแล้วลงลายมือชื่อของโจทก์ที่2ในฐานะผู้ให้เช่าส่วนจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าสัญญาดังกล่าวหาได้มีข้อความอันแสดงว่าโจทก์ที่2เอาทรัพย์สินออกให้จำเลยเช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่จำเลยโดยเงื่อนไขที่จำเลยได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวอันจะถือว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่แม้ทางด้านหลังของเอกสารดังกล่าวจะมีข้อความหมายเหตุซึ่งสามีโจทก์ที่2เขียนไว้ว่า"เมื่อผู้เช่าชำระเงินครบจำนวน300,000บาท(สามแสนบาทถ้วน)ผู้ให้เช่าจะโอนบ้านพร้อมที่ดินให้ผู้เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ครอบครองแต่ค่าโอนผู้เช่าต้องเป็นผู้ออกถ้าผู้เช่า-ผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงแก่กรรมลงทายาทมีสิทธิดำเนินการต่อตามกฎหมาย"ก็ตามแต่ข้อความตามหมายเหตุนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากหนังสือสัญญาเช่าบ้านแม้จะเป็นสัญญาเช่าซื้อดังที่จำเลยอ้างเมื่อโจทก์ที่2มิได้ลงลายมือชื่อไว้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือการเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572วรรคสองจำเลยไม่อาจบังคับให้โจทก์ที่2ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวได้เมื่อวินิจฉัยดังนั้นแล้วปัญหาว่าโจทก์ที่1รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้โจทก์ที่1ไม่ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงโจทก์ที่1ด้วยได้ จำเลยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2532จนปัจจุบันแต่โจทก์ที่2ได้โอนขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่1ไปก่อนแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่27เมษายน2530สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ที่2ซึ่งมีต่อจำเลยผู้เช่าย่อมโอนไปเป็นของโจทก์ที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองโจทก์ที่2จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ และสิทธิในการเรียกค่าเช่าโอนไปยังผู้ซื้อ
เอกสารที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยกระทำไว้ต่อกันระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาเช่าบ้าน ระบุเงื่อนไขในการเช่าบ้านไว้รวม 12 ข้อ แล้วลงลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ให้เช่า ส่วนจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าสัญญาดังกล่าวหาได้มีข้อความอันแสดงว่าโจทก์เอาทรัพย์สินออกให้จำเลยเช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่จำเลยโดยเงื่อนไขที่จำเลยได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว อันจะถือว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่แม้ทางด้านหลังของเอกสารดังกล่าวจะมีข้อความหมายเหตุ ซึ่งสามีโจทก์ที่ 2 เขียนไว้ว่า "เมื่อผู้เช่าชำระเงินครบจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) ผู้ให้เช่าจะโอนบ้านพร้อมที่ดินให้ผู้เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ครอบครอง แต่ค่าโอนผู้เช่าต้องเป็นผู้ออก ถ้าผู้เช่าผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงแก่กรรมลง ทายาทมีสิทธิดำเนินการต่อตามกฎหมาย" ก็ตาม แต่ข้อความตามหมายเหตุนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากหนังสือสัญญาเช่าบ้าน แม้จะเป็นสัญญาเช่าซื้อดังที่จำเลยอ้าง เมื่อโจทก์ที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อไว้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือ การเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง จำเลยไม่อาจบังคับให้โจทก์ที่ 2ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวได้ เมื่อวินิจฉัยดังนั้นแล้ว ปัญหาว่าโจทก์ที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง กรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ที่ 1ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงโจทก์ที่ 1 ด้วยได้
จำเลยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2532 จนปัจจุบันแต่โจทก์ที่ 2 ได้โอนขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปก่อนแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2530 สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งมีต่อจำเลยผู้เช่าย่อมโอนไปเป็นของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 วรรคสอง โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวจากจำเลย
จำเลยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2532 จนปัจจุบันแต่โจทก์ที่ 2 ได้โอนขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปก่อนแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2530 สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งมีต่อจำเลยผู้เช่าย่อมโอนไปเป็นของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 วรรคสอง โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: อำนาจฟ้องของผู้รับโอนสิทธิในสามยทรัพย์
ภารจำยอมเป็น ทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสามยทรัพย์แม้หากทางพิพาทบนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นทางภารจำยอมก็เป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินดังกล่าวโดยได้ยกให้แก่บุตรสาวแล้วโจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมไม่ได้และเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีบัตรเครดิต: การชำระหนี้บางส่วนและการเป็นลูกหนี้ร่วมทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้แก่สมาชิกแล้วสมาชิกสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรโดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดโจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้ซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ด้วยและโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกการที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)เดิมจำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด2ปีแล้วจึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ประกอบกับจำเลยที่1เป็นสมาชิกบัตรเครดิตจำเลยที่2เป็นสมาชิกบัตรเสริมของโจทก์สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกันการที่จำเลยที่2ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินจากบัตรเครดิต: ผู้ค้าเรียกค่าทดรองจ่าย - สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องพ้น 2 ปี
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการสินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้แก่สมาชิกแล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้บริการซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดโจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติการให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปดังนั้นที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)เดิมที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเมื่อวันที่23มีนาคม2530อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่19ตุลาคม2532พ้นกำหนด2ปีแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้จำเลยที่1เป็นสมาชิกบัตรเครดิตจำเลยที่2เป็นสมาชิกบัตรเสริมของโจทก์สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกันการที่จำเลยที่2ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาแต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันเมื่อผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญา
จ. ทำสัญญา เช่าซื้อรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์หลังจากทำ สัญญาประกันภัยถือได้ว่า จ. ผู้เอาประกันภัยยังมิได้ มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ขณะที่โจทก์รับประกันภัยดังนั้นสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และ จ. จึงไม่ผูกพันคู่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา863แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแทน จ. ก็ ไม่ได้ รับช่วงสิทธิตามกฎหมายโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกัน ชำระหนี้ในมูล ละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ซึ่ง ไม่ได้ ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247