พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน: เช็คฉบับหลังใช้หนี้แทนเช็คฉบับแรกได้ หนี้เดิมระงับ
การที่จำเลยออกเช็คฉบับแรกให้โจทก์เพื่อชำระเงินกู้ยืมต่อมาจำเลยได้ออกเช็คฉบับที่สองและฉบับที่สามเพื่อชำระหนี้แทนเช็คฉบับแรกและฉบับที่สองซึ่งเรียกเก็บเงินไม่ได้ตามลำดับถือได้ว่า เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ โดยการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 หนี้เดิมตามเช็คฉบับแรกจะระงับก็ต่อเมื่อมีการใช้เงินตามเช็คฉบับที่สองหรือฉบับที่สามแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็ครับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 เมื่อหนี้ตามเช็คระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 4 ด้วย เพราะเป็นคำพิพากษาเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบและความรับผิดของเจ้าของที่ดินที่รับโอนสิทธิภายหลังการก่อสร้าง
จำเลยที่ 1 ได้รับโอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างผิดแบบแปลนโดยมิชอบด้วยกฎหมายจากจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2521ซึ่งเป็นขณะที่อยู่ในระหว่างการใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 บังคับ โจทก์ไม่อาจฟ้องเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารเช่นจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นเวลาระหว่างที่ พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ ซึ่งตาม พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ มาตรา 40 และมาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารนั้นได้ ก็จะนำมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างและต่อเติมอาคารพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนส่วนของอาคารที่ต่อเติมผิดแบบแปลนนั้นได้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทรัสต์รีซีทไม่ใช่ทรัสต์ตามกฎหมาย และอายุความดอกเบี้ย
สัญญาทรัสต์รีซีทหาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ฎีกาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปี และเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่ 2 ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปี และเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่ 2 ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัสต์รีซีทไม่ใช่ทรัสต์ตามกฎหมาย และอายุความดอกเบี้ย
สัญญาทรัสต์รีซีทหาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ฎีกาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยจึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปีและเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่2ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยจึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปีและเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่2ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ศาลฎีกาวินิจฉัยความประมาทของผู้ขับขี่และขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัย
คดีที่เหตุเกิดจากมูลกรณีละเมิดอันเดียวกัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยฟังว่าลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ขับรถประมาท และจำเลยที่ 5 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังนี้เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 4 ผู้เดียวฎีกาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้ฎีกาเมื่อศาลฎีกาฟังว่าเหตุเกิดจากความประมาทของคนขับรถโจทก์ฝ่ายเดียวศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ศาลฎีกาพิพากษาความรับผิดจากความประมาทของผู้ขับรถและข้อยกเว้นการรับผิด
คดีที่เหตุเกิดจากมูลกรณีละเมิดอันเดียวกัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยฟังว่าลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ขับรถประมาท และจำเลยที่ 5 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังนี้เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 4 ผู้เดียวฎีกาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้ฎีกาเมื่อศาลฎีกาฟังว่าเหตุเกิดจากความประมาทของคนขับรถโจทก์ฝ่ายเดียวศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ทายาทผู้รับมรดกต้องชำระเงินคืน
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งไม่ได้ระบุว่าคู่สัญญาจะไปจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่มีข้อความชัดว่าให้เรียก ค. เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ว่าผู้ขาย เรียกโจทก์ว่าผู้ซื้อกับมีข้อความด้วยว่าผู้ขายได้ขายนาพิพาทให้ผู้ซื้อและยอมมอบนาให้ผู้ซื้อเสร็จตั้งแต่วันทำสัญญา แสดงว่าโจทก์กับ ค. มีเจตนาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะข้อตกลงแบ่งชำระราคาเป็นงวด ๆ ไม่ใช่เงื่อนไขแห่งสัญญา
จำเลยทั้งหกรับโอนที่นาพิพาทมาร่วมกัน ความรับผิดที่ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจจะแบ่งแยกกันได้ แม้จำเลยบางรายจะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยนั้น ๆ ได้.
จำเลยทั้งหกรับโอนที่นาพิพาทมาร่วมกัน ความรับผิดที่ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจจะแบ่งแยกกันได้ แม้จำเลยบางรายจะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยนั้น ๆ ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่สมบูรณ์ โมฆะ และความรับผิดของทายาทในการชำระหนี้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีข้อความตอนใด ระบุว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งไม่ได้ระบุว่าคู่สัญญาจะไปจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่มีข้อความชัด ว่าให้เรียก ค.เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ว่าผู้ขาย เรียกโจทก์ว่าผู้ซื้อ กับมีข้อความด้วยว่าผู้ขายได้ขายนาพิพาทให้ผู้ซื้อและยอมมอบนาให้ผู้ซื้อเสร็จตั้งแต่วันทำสัญญา แสดงว่าโจทก์กับ ค. มีเจตนาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงตก เป็นโมฆะ ข้อตกลงแบ่งชำระราคาเป็นงวด ๆ ไม่ใช่เงื่อนไขแห่งสัญญา จำเลยทั้งหกรับโอนที่นาพิพาทมาร่วมกัน ความรับผิดที่ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจจะแบ่งแยกกันได้แม้จำเลยบางรายจะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยนั้น ๆ ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผิดแบบและการใช้กฎหมายย้อนหลัง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจนถูกดำเนินคดีและ เปรียบเทียบปรับไปแล้ว โจทก์ก็มิใช้อำนาจรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้าง ผิดแบบนั้นตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 มาตรา11ทวิให้อำนาจไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายอาคารนั้นให้แก่จำเลยที่1 โจทก์ก็ยังมิได้รื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบนั้นแต่ประการใด คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 บังคับซึ่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แม้มาตรา 40 และ มาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่สร้างผิดแบบนั้นได้ก็จะมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารส่วนที่ผิดแบบนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 อนึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ผิดกฎหมาย: กฎหมายใช้ย้อนหลังไม่ได้กับผู้ซื้อทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจนถูกดำเนินคดีและ เปรียบเทียบปรับไปแล้ว โจทก์ก็มิใช้อำนาจรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้าง ผิดแบบนั้นตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 มาตรา 11 ทวิให้อำนาจไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายอาคารนั้นให้แก่จำเลยที่1 โจทก์ก็ยังมิได้รื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบนั้นแต่ประการใด คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับซึ่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แม้มาตรา 40 และ มาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่สร้างผิดแบบนั้นได้ก็จะมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารส่วนที่ผิดแบบนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 อนึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย