พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้สูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยเป็น 15% ต่อปี
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ในจำนวนเงินที่เป็นหนี้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี โดยจะชำระดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ทุกๆ 3 เดือน นับแต่วันทำหนังสือสัญญานี้เป็นต้นไป สำหรับต้นเงินกู้นั้นจะผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์เป็นงวดๆ โดยชำระ 3 เดือนต่อครั้ง ตามตารางชำระเงินต้นแนบท้ายสัญญากู้ หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าว ผู้กู้ย่อมเสียเบี้ยปรับให้แก่ธนาคารโจทก์อีกในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ในจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่คงค้างทั้งหมดนับแต่วันละเมิดสัญญาจนกว่าจะชำระเงินเสร็จสิ้น ดังนี้เห็นได้ว่าสัญญากู้รายนี้ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 9 ต่อปีอยู่แล้ว การที่ได้กำหนดเบี้ยปรับในกรณีผู้กู้ผิดนัดไว้ว่าให้ผู้กู้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 6 ของจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดรวมกัน ย่อมเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน สมควรลดลงเป็นให้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ6 รวมเป็นร้อยละ 15 ต่อปีโดยไม่ทบต้น โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จำเลยที่ 3 ผู้เดียวอุทธรณ์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนและลดให้ แม้จำเลยที่1 ที่ 2 ที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ย่อมได้รับผลอันเป็นคุณจากข้อวินิจฉัยส่วนนี้ด้วย เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยเหลือ 15% ต่อปี
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ในจำนวนเงินที่เป็นหนี้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี โดยจะชำระดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ทุกๆ 3 เดือน นับแต่วันทำหนังสือสัญญานี้เป็นต้น ไปสำหรับต้นเงินกู้นั้นจะผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ โดยชำระ 3 เดือนต่อครั้ง ตามตารางชำระเงินต้นแนบท้ายสัญญากู้ หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าว ผู้กู้ย่อมเสียเบี้ยปรับให้แก่ธนาคารโจทก์อีกในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ในจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่คงค้างทั้งหมดนับแต่วันละเมิดสัญญาจนกว่าจะชำระเงินเสร็จสิ้น ดังนี้เห็นได้ว่าสัญญากู้รายนี้ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 9 ต่อปีอยู่แล้ว การที่ได้กำหนดเบี้ยปรับในกรณีผู้กู้ผิดนัดไว้ว่า ให้ผู้กู้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 6 ของจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดรวมกัน ย่อมเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน สมควรลดลงเป็นให้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 6 รวมเป็นร้อยละ 15 ต่อปีโดยไม่ทบต้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จำเลยที่ 3 ผู้เดียวอุทธรณ์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนและลดให้ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ย่อมได้รับผลอันเป็นคุณจากข้อวินิจฉัยส่วนนี้ด้วย เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จำเลยที่ 3 ผู้เดียวอุทธรณ์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนและลดให้ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ย่อมได้รับผลอันเป็นคุณจากข้อวินิจฉัยส่วนนี้ด้วย เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสร้างสะพานลอยเพื่อประโยชน์สาธารณะ มิอาจถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แม้จะกระทบต่อความสะดวกสบายในการใช้ทาง
จำเลยสร้างสะพานลอยเพื่อให้ประชาชนใช้ข้ามถนน โดยมีแนวโครงเหล็กบนทางเท้าเป็นรั้วปิดกั้นช่วงทางบางตอน เพื่อมิให้คนข้ามถนนในแนวนั้นและหันไปใช้สะพานลอยข้าม อันเป็นการกระทำเพื่อสาธารณะประโยชน์ และเป็นการป้องกันมิให้โจทก์กระทำผิดกฎหมายดยขับขี่รถยนต์บนทางเท้า แม้แนวโครงเหล็กจะปิดกั้นทางเข้าตึกแถวของโจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์และโดยสภาพไม่เหมาะแก่การเก็บรถยนต์ ทำให้โจทก์ต้องขาดความสะดวกสบายไปบ้าง โจทก์ก็จำต้องยอมรับเอาดังเช่นบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับโจทก์ในสังคมยอมรับ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเจริญของท้องถิ่น เมื่อไม่ปรากฏว่าความเสียหายหรือเดือดร้อยที่โจทก์ได้รับ เป็นผลที่ต้องยอมรับตามปกติหรือเป็นความเสียหายเดือดร้อนที่ได้รับเกินกว่าปกติ การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ และไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อเรียกร้องค่าเสียหายได้เฉพาะค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ และค่าเสียหายอื่นนอกเหนือจากการใช้งาน
เมื่อสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เลิกกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ยังค้างอยู่อีกไม่ได้ คงเรียกได้เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องจากการผิดสัญญาได้แก่ค่าขาดประโยชน์เพราะผู้เช่าซื้อยังใช้รถยนต์ตลอดระยะเวลาที่ครอบครองรถยนต์อยู่ในกรณีที่ได้รถยนต์คืนมาแล้วผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่นอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดแต่การใช้รถยนต์โดยชอบ แต่จะเรียกร้องให้ชดใช้ราคารถยนต์มิได้
การที่ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถส่วนที่ขาดอยู่ถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายในการใช้รถตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังคงครอบครองอยู่
การเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายมีอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
การที่ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถส่วนที่ขาดอยู่ถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายในการใช้รถตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังคงครอบครองอยู่
การเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายมีอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจำกัดเฉพาะค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถและค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายอื่น
เมื่อสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เลิกกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ยังค้างอยู่อีกไม่ได้ คงเรียกได้เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องจากการผิดสัญญาได้แก่ค่าขาดประโยชน์เพราะผู้เช่าซื้อยังใช้รถยนต์ตลอดระยะเวลาที่ครอบครองรถยนต์อยู่ในกรณีที่ได้รถยนต์คืนมาแล้วผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่นอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดแต่การใช้รถยนต์โดยชอบ แต่จะเรียกร้องให้ชดใช้ราคารถยนต์มิได้
การที่ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถส่วนที่ขาดอยู่ถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายในการใช้รถตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังคงครอบครองอยู่
การเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายมีอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
การที่ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถส่วนที่ขาดอยู่ถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายในการใช้รถตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังคงครอบครองอยู่
การเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายมีอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะ: หลักเกณฑ์การพิจารณาความสมควร ความจำเป็น ฐานะผู้ตาย และการแบ่งสิทธิเรียกร้อง
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 นั้น ต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น ตามฐานะของผู้ตายกับบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมของแต่ละท้องที่ประกอบ และต้องมิใช่รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
การใช้จ่ายในการทำอนุสาวรีย์ไว้กระดูกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรโจทก์ ค่าขาดรายได้ของโจทก์และค่าจ้างคนเฝ้าบ้านในขณะที่จัดการปลงศพ มิใช่ค่าใช้จ่ายในการปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
โจทก์ที่ 1 มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ส่วน โจทก์ที่ 2 เป็นมารดาของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสอง ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะมา 60,000 บาท โดยมิได้แยกเรียกร้อง ว่าโจทก์แต่ละคนขาดไร้อุปการะเท่าใด และได้ความว่าโจทก์ที่ 2 แต่ผู้เดียวมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 60,000 บาท โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อศาลฎีกาลดค่าเสียหายลงก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1ได้
การใช้จ่ายในการทำอนุสาวรีย์ไว้กระดูกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรโจทก์ ค่าขาดรายได้ของโจทก์และค่าจ้างคนเฝ้าบ้านในขณะที่จัดการปลงศพ มิใช่ค่าใช้จ่ายในการปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
โจทก์ที่ 1 มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ส่วน โจทก์ที่ 2 เป็นมารดาของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสอง ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะมา 60,000 บาท โดยมิได้แยกเรียกร้อง ว่าโจทก์แต่ละคนขาดไร้อุปการะเท่าใด และได้ความว่าโจทก์ที่ 2 แต่ผู้เดียวมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 60,000 บาท โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อศาลฎีกาลดค่าเสียหายลงก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ และขอบเขตความรับผิดชอบของจำเลยร่วมในคดีละเมิด
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 นั้น ต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น ตามฐานะของผู้ตายกับบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมของแต่ละท้องที่ประกอบ และต้องมิใช่รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
การใช้จ่ายในการทำอนุสาวรีย์ไว้กระดูกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรโจทก์ ค่าขาดรายได้ของโจทก์และค่าจ้างคนเฝ้าบ้านในขณะที่จัดการปลงศพ มิใช่ค่าใช้จ่ายในการปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
โจทก์ที่ 1 มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ส่วน โจทก์ที่ 2 เป็นมารดาของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะมา 60,000 บาท โดยมิได้แยกเรียกร้องว่าโจทก์แต่ละคนขาดไร้อุปการะเท่าใด และได้ความว่าโจทก์ที่ 2 แต่ผู้เดียวมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 60,000 บาทโจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อศาลฎีกาลดค่าเสียหายลงก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไป ถึงจำเลยที่ 1 ได้
การใช้จ่ายในการทำอนุสาวรีย์ไว้กระดูกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรโจทก์ ค่าขาดรายได้ของโจทก์และค่าจ้างคนเฝ้าบ้านในขณะที่จัดการปลงศพ มิใช่ค่าใช้จ่ายในการปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
โจทก์ที่ 1 มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ส่วน โจทก์ที่ 2 เป็นมารดาของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะมา 60,000 บาท โดยมิได้แยกเรียกร้องว่าโจทก์แต่ละคนขาดไร้อุปการะเท่าใด และได้ความว่าโจทก์ที่ 2 แต่ผู้เดียวมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 60,000 บาทโจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อศาลฎีกาลดค่าเสียหายลงก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไป ถึงจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน & สิทธิการครอบครอง: ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องเนื่องจากที่ดินเป็นของผู้ร้องสอดและจำเลยครอบครองโดยอาศัยสิทธินั้น
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์คงมีแต่ผู้ร้องสอดเท่านั้นที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดเมื่อศาลฎีกาฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด และจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอด ถือได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยในเรื่องที่ดินพิพาทเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการชนรถไฟ: ศาลพิจารณาค่าแรงซ่อม, โอเวอร์เฮดชาร์จ, และความรับผิดร่วมของจำเลย
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในเรื่องค่าแรงว่า โจทก์ใช้พนักงานของโจทก์เป็นผู้ทำการซ่อม แม้ไม่เกิดเหตุต้องซ่อมรถในคดีนี้โจทก์ก็ต้องจ่ายให้พนักงานเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ในชั้นฎีกากลับฎีกาว่า รถไฟคันเกิดเหตุใกล้จะถึงเวลาซ่อมบำรุงเมื่อเกิดเหตุก็ซ่อมบำรุงเรียบร้อยแล้วโจทก์ไม่ควรได้รับค่าแรงเต็มจำนวนดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 3 ในฎีกาไม่ได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานหรือค่าโอเวอร์เฮดชาร์จร้อยละ140 ของค่าแรงพอจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าซ่อมอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ซึ่งศาลจะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรส่วนค่าควบคุมเพิ่มขึ้นจากราคาทุนเป็นระเบียบภายในของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ทราบระเบียบนี้และไม่ได้ตกลงให้โจทก์ซ่อมอีกทั้งยังเป็นค่าควบคุมที่คิดเพิ่มเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากค่าควบคุมธรรมดาซึ่งรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานอยู่แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้เงินจำนวนนี้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา แต่กรณีเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกา และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานหรือค่าโอเวอร์เฮดชาร์จร้อยละ140 ของค่าแรงพอจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าซ่อมอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ซึ่งศาลจะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรส่วนค่าควบคุมเพิ่มขึ้นจากราคาทุนเป็นระเบียบภายในของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ทราบระเบียบนี้และไม่ได้ตกลงให้โจทก์ซ่อมอีกทั้งยังเป็นค่าควบคุมที่คิดเพิ่มเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากค่าควบคุมธรรมดาซึ่งรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานอยู่แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้เงินจำนวนนี้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา แต่กรณีเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกา และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดหากขายรถได้ราคาเกินค่างวดค้างชำระ และผลผูกพันของผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีข้อความว่า เงินค่างวดที่ค้างชำระ ถึงแม้เจ้าของจะกลับเข้าครอบครองรถแล้ว หากเจ้าของจำหน่ายรถได้เงินไม่ครบถ้วนตามราคาที่ค้างชำระในสัญญาเท่าใด เจ้าของมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้เช่าซื้อชดใช้จนครบจำนวนที่ขาดได้ด้วย ดังนี้ หมายถึงไม่ครบถ้วนตามราคาที่ค้างชำระ จึงต้องเอาค่าเช่าซื้อที่ชำระแล้วไปหักค่าเช่าซื้อทั้งหมด เหลือเท่าใดเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ หากขายรถพิพาทได้ราคาต่ำกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ส่วนที่ขาดให้โจทก์จนครบ หากขายได้ราคาไม่ต่ำหว่าก็ไม่ต้องรับผิด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ขายรถพิพาทได้เงินสูงกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีก แม้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะขาดนักและมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้