คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 245 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598-1599/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด, การดำเนินคดีอนาถา, และขอบเขตอำนาจศาลในการวินิจฉัยความรับผิดร่วม
โจทก์ที่ 2 ยื่นฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันเกิดเหตุ แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับฟ้องในวันนั้น เพราะโจทก์ที่ 2 ร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องในภายหลังซึ่งเป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าคดีโจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องในวันยื่นฟ้องแล้ว ส่วนการไต่สวนเพื่อประกอบการสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้หรือไม่ เป็นกระบวนพิจารณาของศาล แม้จะเนิ่นนานไปก็หาใช่ความผิดของโจทก์ที่ 2 ไม่ คดีโจทก์ที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลทหารพิพากษาคดีส่วนอาญา ถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ฐานขับรถประมาททำให้โจทก์ทั้งสองบาดเจ็บสาหัสไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 เป็นคดีแพ่ง ให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยตามข้อต่อสู้และฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า การที่รถชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 1ขับรถแล่นเข้าไปชนรถซึ่งจำเลยที่ 1 ขับ หาใช่ความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของตัวการและตัวแทน กรณีใช้รถราชการในกิจการส่วนตัว
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพลาธิการกองพลทหารม้า สั่งให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพลขับและสังกัดอยู่ในกองพลเดียวกัน ขับรถยนต์ของทางราชการกองพลทหารม้าไปขนปูนซิเมนต์ให้วัดซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการวัดอยู่ด้วยกิจการดังกล่าวมิใช่ราชการของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ทั้งมิได้เกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 1 แต่ประการใด ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่2 เป็นตัวการและจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในกิจการนี้โดยปริยายเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กลับกองพลทหารม้าได้ชนรถยนต์โจทก์เสียหายถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 820
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2515)
แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะเป็นข้าราชการทหารสังกัดอยู่ในกองพลทหารม้าซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การขนปูนซิเมนต์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 3แต่อย่างไร การใช้รถยนต์ของทางราชการก็ดี การเติมน้ำมันของทางราชการก็ดี หาทำให้กิจการส่วนตัวจำเลยที่ 2 กลายเป็นงานราชการของจำเลยที่ 3 ไปไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่โจทก์
ในเรื่องค่าเสื่อมราคารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดจำนวน ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ฎีกา ศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 245 (1), 247 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในความเสียหายจากการใช้รถราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพลาธิการกองพลทหารม้า สั่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพลขับและสังกัดอยู่ในกองพลเดียวกัน ขับรถยนต์ของทางราชการกองพลทหารม้าไปขนปูนซิเมนต์ให้วัดซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการวัดอยู่ด้วย กิจการดังกล่าวมิใช่ราชการของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ทั้งมิได้เกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 1 แต่ประการใด ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่2 เป็นตัวการ และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในกิจการนี้โดยปริยาย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กลับกองพลทหารม้าได้ชนรถยนต์โจทก์เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 820 (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2515)
แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะเป็นข้าราชการทหารสังกัดอยู่ในกองพลทหารม้าซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การขนปูนซิเมนต์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 3 แต่อย่างไร การใช้รถยนต์ของทางราชการก็ดี การเติมน้ำมันของทางราชการก็ดี หาทำให้กิจการส่วนตัวจำเลยที่ 2 กลายเป็นงานราชการของจำเลยที่ 3 ไปไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่โจทก์
ในเรื่องค่าเสื่อมราคารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดจำนวนค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ฎีกา ศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 245(1),247 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1169/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สลักหลังเช็คต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล แม้ไม่ทำตามแบบอาวัลทั่วไป ศาลแก้ไขดอกเบี้ยได้
ผู้ที่ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือต้องผูกพันในฐานะเป็นผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 939 อันเป็นแบบอาวัลทั่วไป
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกาขึ้นมา และศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างคำนวณดอกเบี้ยผิดโดยให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยเกินไป ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เรื่องดอกเบี้ยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1169/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สลักหลังเช็คผูกพันในฐานะผู้รับอาวัล แม้ไม่ได้ทำตามแบบอาวัลทั่วไป ศาลแก้ดอกเบี้ยได้
ผู้ที่ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือต้องผูกพันในฐานะเป็นผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 939 อันเป็นแบบอาวัลทั่วไป
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกาขึ้นมา และศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างคำนวณดอกเบี้ยผิดโดยให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยเกินไป ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เรื่องดอกเบี้ยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เบิกเงินเกินบัญชี ดอกเบี้ยทบต้น และอายุความฟ้องร้อง
ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้ร่วมกันใช้หนี้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ฎีกานั้น เมื่อมูลกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียดอกเบี้ยทบต้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาก็ย่อมให้คำพิพากษาที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นมีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์โดยมีข้อตกลงว่าหากจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน และเงินมีไม่พอจ่าย ก็ให้ธนาคารโจทก์ถือจ่ายไปตามคำสั่ง เป็นเงินเท่าใดให้ถือว่ายอดเงินที่จ่ายเกินนั้นเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โดยจำเลยยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนดังนั้น ระหว่างระยะเวลาที่จำเลยเบิกเงินเกินบัญชี จนถึงวันที่ธนาคารโจทก์ทวงถามและถือว่าจำเลยผิดนัดนั้น ดอกเบี้ยทบต้นที่ธนาคารโจทก์คิดเอากับจำเลยตามข้อตกลงจึงกลายเป็นต้นเงิน ฉะนั้น ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจากจำเลยก่อนผิดนัดจึงเป็นเรื่องฟ้องเรียกต้นเงิน ไม่ใช่เรียกดอกเบี้ยค้างส่ง (ต้องใช้อายุความตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาใช่ตามมาตรา 166 ไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความฟ้องเรียกต้นเงิน, ลูกหนี้ร่วม, การเลิกสัญญา
ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้ร่วมกันใช้หนี้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ฎีกานั้น เมื่อมูลกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียดอกเบี้ยทบต้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาก็ย่อมให้คำพิพากษาที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นมีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์โดยมีข้อตกลงว่าหากจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน และเงินมีไม่พอจ่ายก็ให้ธนาคารโจทก์ถือจ่ายไปตามคำสั่ง เป็นเงินเท่าใดให้ถือว่ายอดเงินที่จ่ายเกินนั้นเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โดยจำเลยยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน ดังนั้น ระหว่างระยะเวลาที่จำเลยเบิกเงินเกินบัญชี จนถึงวันที่ธนาคารโจทก์ทวงถามและถือว่าจำเลยผิดนัดนั้น ดอกเบี้ยทบต้นที่ธนาคารโจทก์คิดเอากับจำเลยตามข้อตกลงจึงกลายเป็นต้นเงิน ฉะนั้น ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจากจำเลยก่อนผิดนัดจึงเป็นเรื่องฟ้องเรียกต้นเงิน ไม่ใช่เรียกดอกเบี้ยค้างส่ง (ต้องใช้อายุความตาม มาตรา 164แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาใช่ตามมาตรา 166 ไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้จดทะเบียนขายฝากที่ดินรวมโดยไม่คัดค้านผูกพันเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่นาพิพาทอันเป็นที่ดินมือเปล่า จำเลยไปแจ้งการครอบครองที่พิพาทเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวและยื่นคำขอคำรับรองทำประโยชน์ กับยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมขายฝาก โจทก์รู้แต่ก็นิ่งเสียไม่คัดค้าน แสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ให้จำเลยแสดงตนเป็นเจ้าของนาพิพาทแต่ผู้เดียว โดยยินยอมให้จำเลยขายฝากที่พิพาท การขายฝากจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรค 2
จำเลยคนหนึ่งขาดนัดมาแต่ต้นและมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่รูปคดีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยจึงได้รับผลตามคำพิพากษาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายให้จำเลยจดทะเบียนขายฝากที่ดินมรดกย่อมผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวม
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่นาพิพาทอันเป็นที่ดินมือเปล่าจำเลยไปแจ้งการครอบครองที่พิพาทเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวและยื่นคำขอคำรับรองทำประโยชน์กับยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากโจทก์รู้แต่ก็นิ่งเสียไม่คัดค้าน แสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ให้จำเลยแสดงตนเป็นเจ้าของนาพิพาทแต่ผู้เดียว โดยยินยอมให้จำเลยขายฝากที่พิพาทการขายฝากจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง
จำเลยคนหนึ่งขาดนัดมาแต่ต้นและมิได้อุทธรณ์ฎีกาแต่รูปคดีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยจึงได้รับผลตามคำพิพากษาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยมิได้ขาดนัดโดยจงใจ และผลกระทบต่อจำเลยอื่นร่วมในคดี
จำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด กรณีเช่นนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) มาปรับเพื่อให้จำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์ด้วยกับจำเลยที่ 1 หาได้ไม่ คดีต้องพิจารณาใหม่โดยให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสให้การ แต่จำเลยที่ 2 คงถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การเช่นเดิม ต่อจากนั้นไปจำเลยที่ 2 จะได้รับประโยชน์ในชั้นพิจารณาอย่างใดหรือไม่ ก็ต้องแล้วแต่รูปคดีเป็นอีกตอนหนึ่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อตัดสินแล้ว ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คือ อุทธรณ์ฎีกาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2504 และครั้งที่ 6/2504)
of 20