พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องแบ่งมรดก: เริ่มนับเมื่อจัดการมรดกเสร็จสิ้น แม้ผู้จัดการมรดกไม่ยกอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1620 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1629 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาท การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา 1300 มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027 เพียง 2 แปลง โดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใด จำเลยที่ 1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่ 1 จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2027เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอม ดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่ 2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่น ทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมา จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การจัดการมรดกเสร็จสิ้นเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1620วรรคหนึ่งและมาตรา1629เมื่อจำเลยที่1ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไปทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใดเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาทการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา1300มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027เพียง2แปลงโดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดจำเลยที่1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่10มกราคม2527โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่1จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่2027เมื่อวันที่2มีนาคม2530นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอมดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่นทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2มีนาคม2530ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดกจำเลยที่3ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่2ในเวลาต่อมาจึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่2อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่19กรกฎาคม2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า1ปีไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่2ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่1และที่2จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่3ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่าจำเลยที่1และที่2ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: ความประมาททางละเมิดและการรับผิดชอบของจำเลย
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46กำหนดให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามจะไม่ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองโจทก์ทั้งสองเป็นบิดามารดาของอ. ผู้ตายในคดีอาญาจึงต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ทั้งสองข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองด้วยเมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ในคดีอาญานำสืบมายังไม่อาจรับฟังได้ว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่1ดังนั้นคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเมื่อจำเลยที่1ซึ่งกระทำแทนจำเลยที่2มิได้ประมาทจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยจะมิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่3ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทมูลละเมิด ทำให้หนี้ระงับและนายจ้างไม่ต้องรับผิด
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดในความประมาทเลินเล่อและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 6,000บาท จากค่าเสียหายประมาณ 10,550 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระตามกำหนดให้โจทก์ฟ้องร้องทางแพ่งได้นั้น เป็นการตกลงชำระค่าเสียหายกันเป็นจำนวนที่แน่นอนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับค่าเสียหายซึ่งเกิดจากมูลละเมิดขับรถชนกันให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลทำให้การเรียกร้องในหนี้สินอันเกิดจากมูลละเมิดระงับสิ้นไปและทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดระงับไปแล้วความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยทั้งสาม ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ฎีกามาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการวินิจฉัยนอกประเด็นฟ้องของศาลแรงงานกลางทำให้การพิพากษาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดี
ศาลแรงงานมิได้กำหนดประเด็นเรื่องการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไว้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ต้องรับผิดเนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดี และเนื่องจากหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมรับผิดนั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยในคดีแรงงาน: การรับผิดจากความประมาทเลินเล่อและการขยายผลทางกฎหมาย
ศาลแรงงานมิได้กำหนดประเด็นเรื่องการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไว้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2ที่ 5 และที่ 6 ต้องรับผิดเนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดี และเนื่องจากหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมรับผิดนั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1)ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นฟ้อง และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันในคดีแรงงาน
ศาลแรงงานมิได้กำหนดประเด็นเรื่องการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไว้การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยที่2ที่5และที่6ต้องรับผิดเนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดีและเนื่องจากหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมรับผิดนั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่1ที่3และที่4ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้รับประกันภัยเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง และการพิสูจน์ความรับผิดของผู้ขนส่ง
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันได้แก่บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8มาตรา 627 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว ท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง"แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง เพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่ง บริษัท ย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 5ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัทย.บริษัทย. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5ด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับขนของทางทะเลและการไม่มีอำนาจฟ้องของผู้รับโอนสิทธิเมื่อสินค้าเสียหายก่อนถึงปลายทาง
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 มาตรา 627 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว ท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง" แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง เพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่ง บริษัท ย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัท ย. บริษัท ย.จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ด้วยเช่นกัน
เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งหลายทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วย มาตรา 247
เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งหลายทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วย มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้รับประกันภัยเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง สิทธิของผู้รับโอนตราส่ง และการไม่มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับขน
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเลซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8มาตรา627ซึ่งบัญญัติว่า"เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง"แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งเพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่งบริษัทย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่5ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัทย.บริษัทย. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่5ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยและอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัทย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่5ด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยที่5ผู้ขนส่งทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้วแม้จำเลยที่2และที่4ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่5มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่2และที่4ได้ด้วยเพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247