คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 245 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไม่สะดุดหยุดชะงักจากการถอนฟ้อง, การผ่อนเวลาหนี้, และขอบเขตความรับผิดของทายาท
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174 เดิม ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท ได้บัญญัติว่า "การฟ้องคดี ท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง หากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย..." ดังนั้น การที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด
ตามคำให้การของจำเลยที่ 15 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 15 จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่ 15 ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้
ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว เมื่อ ร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 5 ทายาทของ ร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจาก ร.ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นทายาทของ ร.แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่ 5 ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 5 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1)และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การผ่อนเวลาชำระหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน/ทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้บัญญัติว่า"การฟ้องคดีท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงหากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย"ดังนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ตามคำให้การของจำเลยที่15ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่15จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่15ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้ ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่1ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวเมื่อร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวจำเลยที่5ทายาทของร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจากร. ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่2ถึงจำเลยที่4และจำเลยที่6ถึงจำเลยที่8ซึ่งเป็นทายาทของร. แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่5ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่5ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)และมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายและค้ำประกันหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าหนี้ไม่อาจบังคับชำระหนี้ได้
จำเลยที่1ทำสัญญาซื้อขายกุ้งจากโจทก์ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,24เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่1แล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวจำเลยที่1ไม่มีอำนาจกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นสัญญาซื้อขายอาหารกุ้งระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ไม่มีผลบังคับสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่1ตกลงขยายระยะเวลาชำระราคาค่าอาหารกุ้งที่ทำขึ้นระหว่างนั้นก็ตกเป็นโมฆะเช่นกันสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2และที่3ที่ค้ำประกันหนี้ที่ขยายเวลาชำระนั้นจึงไม่อาจมีขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา681โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าอาหารกุ้งไม่ได้ คดีเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่1มิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าและอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิพากษาคดีที่จำเลยขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา95มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่าหากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่3จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียวศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1และที่2ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าและการพิพากษาคดีหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ โดยจำเลยบางฝ่ายขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าและผลของการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีละเมิด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา95มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่าหากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่3จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียวศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1และที่2ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานบอกเล่า & อำนาจศาลอุทธรณ์ - กรณีจำเลยขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ ขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สูญหาย โจทก์ต้องคืนเงินดาวน์
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อโดยอยู่ในระหว่างโจทก์เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวกับบ. ก็ตามแต่ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ก่อนที่โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่1ตามสัญญาสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงมีผลใช้บังคับได้ เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายสัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา567ส่วนค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดซึ่งจำเลยที่1จ่ายเป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่งและทำสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุที่มิได้มีได้เป็นขึ้นและเป็นทางให้จำเลยที่1เสียเปรียบหากทรัพย์ที่เช่าซื้อมิได้สูญหายเพราะความผิดของจำเลยที่1หรือโจทก์นำเงินดาวน์มาหักเป็นค่าเช่าซื้อก่อนสัญญาเช่าซื้อระงับโจทก์ก็ต้องคืนให้แก่จำเลยที่1 เมื่อจำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะแม้โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สูญหายคืนเงินดาวน์ฐานลาภมิควรได้
ขณะโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อก็ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไป อันทำให้สัญญาเช่าซื้อระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 เงินค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่ง และทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, ความรับผิดร่วม, การแบ่งแยกหนี้, การฟ้องคดีถึงที่สุด, อำนาจฟ้อง
จำเลยที่3ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์ตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่3เมื่อวันที่1กรกฎาคม2528แม้จะฟังว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด1ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตามแต่เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่3ทำละเมิดก็ต้องหมายถึงว่าในขณะที่จำเลยที่3ปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์นั่นเองดังนั้นการทำละเมิดของจำเลยที่3ต่อโจทก์ช่วงตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่30มิถุนายน2519ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนฟ้อง10ปีฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์คงฟ้องจำเลยที่3ได้เฉพาะการทำละเมิดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีเท่านั้น โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9ปฎิบัติหน้าที่ราชการโดยความบกพร่องและโดยความประมาทเลินเล่อไม่ปฎิบัติตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงไม่ใช่ฎีกาโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของระเบียบหรือคำสั่งของโจทก์อันจะเป็นข้อกฎหมายเมื่อโจทก์ฎีกาให้จำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดไม่เกิน140,645บาทจำเลยที่4ร่วมรับผิดไม่เกิน70,820บาทจำเลยที่6ร่วมรับผิดไม่เกิน64,145บาทจำเลยที่8ร่วมรับผิดไม่เกิน97,835บาทและจำเลยที่9ร่วมรับผิดไม่เกิน104,400บาทแยกจากกันจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9แต่ละรายไม่เกิน200,000บาทคดีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง หนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่10และที่11ชดใช้ให้แก่โจทก์จำนวน264,735บาทและจำนวน277,320บาทตามลำดับเป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้วโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นหนี้ร่วมกับจำเลยอื่นอันเกิดจากมูลละเมิดก็ตามแต่เกิดจากการกระทำที่แตกต่างกันและศาลชั้นต้นก็ได้แยกความรับผิดที่จำเลยอื่นจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยคนไหนจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ต่อโจทก์จึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้เมื่อหนี้ที่จำเลยที่10และที่11จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้คดีของจำเลยที่10และที่11จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ศาลอุทธรณ์จะอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่10และที่11ที่คดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วเพื่อมิให้จำเลยที่10และที่11ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ด้วยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่9ในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่9ขาดอายุความนั้นเมื่อตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยที่9ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ฎีกาของจำเลยที่9ทุกข้อจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
of 20