พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและบริการทางการเงินเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การจัดประเภทภาษีการค้า
โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับบัตรเครดิต โดยโจทก์จะออกบัตรเครดิตของโจทก์ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ว่าจะรับบัตรเครดิตของโจทก์แทนการรับชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยให้ผู้ใช้บัตรเครดิตลงลายมือชื่อไว้ในใบบันทึกการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ แล้วสถานธุรกิจดังกล่าวจะนำใบบันทึกดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากโจทก์ โจทก์จะชำระเงินตามจำนวนในบันทึกให้แก่สถานธุรกิจโดยหักส่วนลดไว้ร้อยละ 3 ถึง 3.5 จากนั้นโจทก์จะไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการตามใบบันทึกจากสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิต หากสมาชิกไม่ชำระเงินให้โจทก์ภายในกำหนดเวลา โจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระจนกว่าสมาชิกจะชำระเงินให้โจทก์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับสมาชิกผู้ถือบัตร หากโจทก์เก็บเงินจากสมาชิกไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิไปไล่เบี้ยหรือเรียกคืนจากสถานธุรกิจ ดังนี้ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับเก็บหนี้สินแทนสถานธุรกิจ หากแต่เป็นเรื่องที่สถานธุรกิจโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือบริการให้แก่โจทก์โดยโจทก์ใช้เงินทุนของโจทก์ในการรับซื้อสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือค่าบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เอง มิใช่รับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น รายรับของโจทก์จากกิจการดังกล่าวคือรายรับจากส่วนลดค่าสินค้าหรือบริการตามบัตรเครดิต จึงมิใช่รายรับจากการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ป.รัษฎากรในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน แต่ปรากฏว่าธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ธนาคารหลายแห่งประกอบอยู่เป็นปกติ จึงถือได้ว่าการประกอบธุรกิจของโจทก์เป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร
โจทก์ได้ให้บริการแก่สมาชิก ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ในการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉินจากเครื่องเบิกถอนเงิน เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารต่าง ๆ ที่ทำสัญญาไว้กับโจทก์ได้ โดยโจทก์จะคิดค่าธรรมเนียมผู้ถอนในอัตราร้อยละ 5 ของยอดเงินที่เบิกถอนบวกด้วยค่าบริการครั้งละ 100 บาท แม้โจทก์จะมิใช่ธนาคาร แต่ประกอบกิจการให้เบิกถอนเงินสดฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์รายรับจากค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินฉุกเฉินของโจทก์จึงต้องเสียภาษี-การค้าตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร เช่นเดียวกัน
โจทก์เป็นผู้นำเข้าเช็คเดินทางของบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารที่ขายเช็คเดินทางให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารต่าง ๆ จะมีรายจ่าย เช่น ค่าภาษีการนำเข้า ค่าจ้างพนักงาน ค่าจัดส่ง และค่าพาหนะต่าง ๆ โจทก์จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปก่อน แล้วเรียกคืนจากบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมค่าบริการอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าวดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการจนสำเร็จให้แก่บริษัท อ.ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเท่ากับร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587ค่าบริการที่โจทก์ได้รับมาดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประเภทการค้า 4
โจทก์ได้ให้บริการแก่สมาชิก ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ในการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉินจากเครื่องเบิกถอนเงิน เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารต่าง ๆ ที่ทำสัญญาไว้กับโจทก์ได้ โดยโจทก์จะคิดค่าธรรมเนียมผู้ถอนในอัตราร้อยละ 5 ของยอดเงินที่เบิกถอนบวกด้วยค่าบริการครั้งละ 100 บาท แม้โจทก์จะมิใช่ธนาคาร แต่ประกอบกิจการให้เบิกถอนเงินสดฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์รายรับจากค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินฉุกเฉินของโจทก์จึงต้องเสียภาษี-การค้าตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร เช่นเดียวกัน
โจทก์เป็นผู้นำเข้าเช็คเดินทางของบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารที่ขายเช็คเดินทางให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารต่าง ๆ จะมีรายจ่าย เช่น ค่าภาษีการนำเข้า ค่าจ้างพนักงาน ค่าจัดส่ง และค่าพาหนะต่าง ๆ โจทก์จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปก่อน แล้วเรียกคืนจากบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมค่าบริการอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าวดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการจนสำเร็จให้แก่บริษัท อ.ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเท่ากับร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587ค่าบริการที่โจทก์ได้รับมาดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประเภทการค้า 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทรายรับของธุรกิจบัตรเครดิตและบริการทางการเงินตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับบัตรเครดิต โดยโจทก์จะออกบัตรเครดิตของโจทก์ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ว่าจะรับบัตรเครดิตของโจทก์แทนการรับชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยให้ผู้ใช้เครดิตลงลายมือชื่อไว้ในใบบันทึกการซื้อสินค้าหรือใช้บริการแล้วสถานธุรกิจดังกล่าวจะนำใบบันทึกดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากโจทก์ โจทก์จะชำระเงินตามจำนวนในบันทึกให้แก่สถานธุรกิจโดยหักส่วนลดไว้ร้อยละ 3ถึง 3.5 จากนั้นโจทก์จะไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการตามใบบันทึกจากสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิต หากสมาชิกไม่ชำระเงินให้โจทก์ภายในกำหนดเวลา โจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระจนกว่าสมาชิกจะชำระเงินให้โจทก์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับสมาชิกผู้ถือบัตร หากโจทก์เก็บเงินจากสมาชิกไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิไปไล่เบี้ยหรือเรียกคืนจากสถานธุรกิจดังนี้ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับเก็บหนี้สินแทนสถานธุรกิจ หากแต่เป็นเรื่องที่สถานธุรกิจโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือบริการให้แก่โจทก์โดยโจทก์ใช้เงินทุนของโจทก์ในการรับซื้อสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือค่าบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เองมิใช่รับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น รายรับของโจทก์จากกิจการดังกล่าวคือรายรับจากส่วนลดค่าสินค้าหรือบริการตามบัตรเครดิตจึงมิใช่รายรับจากการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ประมวลรัษฎากรในประเภทการค้า 10นายหน้าและตัวแทน แต่ปรากฏว่าธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ธนาคารหลายแห่งประกอบอยู่เป็นปกติ จึงถือได้ว่าการประกอบธุรกิจของโจทก์เป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร โจทก์ได้ให้บริการแก่สมาชิก ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ในการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉินจากเครื่องเบิกถอนเงินเอ.ที.เอ็ม. ของธนาคารต่าง ๆ ที่ทำสัญญาไว้กับโจทก์ได้โดยโจทก์จะคิดค่าธรรมเนียมผู้ถอนในอัตราร้อยละ 5 ของยอดเงินที่เบิกถอนบวกด้วยค่าบริการครั้งละ 100 บาท แม้โจทก์จะมิใช่ธนาคาร แต่ประกอบกิจการให้เบิกถอนเงินสดฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์รายรับจากค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินฉุกเฉินของโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า12 ธนาคาร เช่นเดียวกัน โจทก์เป็นผู้นำเข้าเช็คเดินทางของบริษัท อ. ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารที่ขายเช็คเดินทางให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารต่าง ๆ จะมีรายจ่าย เช่น ค่าภาษีการนำเข้าค่าจ้างพนักงาน ค่าจัดส่ง และค่าพาหนะต่างๆ โจทก์จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปก่อน แล้วเรียกคืนจากบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมค่าบริการอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าว ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการจนสำเร็จให้แก่บริษัทอ.ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเท่ากับร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทอ.จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ค่าบริการที่โจทก์ได้รับมาดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประเภทการค้า 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ มีหน้าที่เสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัททำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารหลายครั้งหลายช่วงเวลา มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าดังกล่าว ประกอบกับโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้ด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบกิจการค้า ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2 แถลงการณ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาล่วงหน้าด้วยเงินสกุลอื่น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมเงินตราต่างประเทศที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกาสามารถซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาล่วงหน้า และชำระด้วยเงินสกุลอื่นนอกเหนือจากเงินบาทได้เท่านั้น หามีผลทำให้หน้าที่ในการเสียภาษีการค้าดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเปลี่ยนแปลงไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ยังคงต้องเสียภาษีการค้า หากเข้าข่ายประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคาร
การจะพิจารณาว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ ในประเภทใดต้องพิจารณาจากกิจการที่โจทก์กระทำเป็นสัญญา แม้กิจการนั้นจะได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายแต่ถ้าเป็นกิจการที่กฎหมายกำหนดว่าต้องเสียภาษีการค้าแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นปกติธุระจึงเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารก็ตาม เมื่อมีผลกำไรจากการนี้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 12 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นปกติธุระจึงเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารก็ตาม เมื่อมีผลกำไรจากการนี้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 12 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากดอกเบี้ยรับ จำเป็นต้องพิสูจน์การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
ตามประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ได้กำหนดรายการที่ประกอบการค้าไว้ได้แก่ 'การออมสินที่มิใช่ของรัฐบาล การธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ' แม้คำว่าประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ นั้น หาจำต้องประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืมอย่างธนาคาร ดังที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างปีภาษีที่พิพาทในคดีนี้บัญญัติไว้ก็ตาม แต่การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายดังกล่าวจะต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารพาณิชย์ และจะต้องเป็นการประกอบกิจการโดยปกติด้วย คำว่า โดยปกติย่อมมีความหมายในตัวเองว่าได้มีการประกอบกิจการดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าการขายกิจการด้านการตลาดให้แก่บริษัท ซ.แล้วแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ก็ดี การให้บริษัท ล. กู้ยืมเงินไปสร้างโรงงานผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และการให้บริษัท อ.กู้ยืมเงินไปซื้อเรือบรรทุกน้ำมันก็ดี แต่ละรายการล้วนแต่โจทก์ได้กระทำเพียงครั้งเดียวทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เคยปฏิบัติเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน จึงไม่มีทางจะแปลการประกอบกิจการของโจทก์ไปได้ว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำโดยตลอดและได้ดอกเบี้ยต่ำโดยโจทก์ได้ประโยชน์ในการขยายกิจการและการผลิตการจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น ก็หาทำให้กิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายของประมวลรัษฎากรไม่ เมื่อกรณีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะได้ดอกเบี้ยก็จะถือเป็นรายรับอันจะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 2.5 หาได้ไม่เพราะคำว่า'ดอกเบี้ย'ที่กำหนดไว้ในชนิด 1 ของประเภทการค้า 12 ต้องพิจารณาประกอบกับรายการที่ประกอบการค้าดังกล่าวคือ ต้องประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ถือหุ้นโดยบริษัท ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการค้าเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อสวัสดิการและสงเคราะห์
บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าในการให้กู้ยืมเงิน โจทก์ให้ผู้ถือหุ้นของโจทก์กู้ยืมเงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิและเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบการสงเคราะห์ผู้ถือหุ้น โจทก์ไม่ได้ให้ลูกค้าของโจทก์หรือบุคคลภายนอกกู้ยืมแต่อย่างใด การที่โจทก์ให้ผู้ถือหุ้นของโจทก์กู้ยืมเงินเป็นเรื่องโจทก์ให้สวัสดิการและสงเคราะห์แก่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ อันเป็นเรื่องกิจการภายในของโจทก์โดยแท้ไม่มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการค้ากับบุคคลภายนอก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ถือหุ้นโดยบริษัท มิใช่การประกอบกิจการค้าเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้า
บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าในการให้กู้ยืมเงินโจทก์ให้ผู้ถือหุ้นของโจทก์กู้ยืมเงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิและเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบการสงเคราะห์ผู้ถือหุ้น โจทก์ไม่ได้ให้ลูกค้าของโจทก์หรือบุคคลภายนอกกู้ยืมแต่อย่างใด การที่โจทก์ให้ผู้ถือหุ้นของโจทก์กู้ยืมเงินเป็นเรื่องโจทก์ให้สวัสดิการและสงเคราะห์แก่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ อันเป็นเรื่องกิจการภายในของโจทก์โดยแท้ไม่มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการค้ากับบุคคลภายนอก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
ประมวลรัษฎากรมาตรา78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าลำดับที่12 ถือว่าการประกอบกิจการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์อย่างหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์จะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินโดยจำกัดตัวบุคคลผู้กู้ และมีเงื่อนไขในการกู้ว่า ต้องนำเงินกู้นั้นไปปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมการค้าของโจทก์ก็ตาม ก็ย่อมไม่พ้นจากการประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงิน เพราะถึงอย่างไรโจทก์ก็ยังต้องการดอกเบี้ยจากผู้กู้อยู่นั่นเองเมื่อการให้กู้ยืมเงินของโจทก์เป็นการประกอบกิจการโดยปกติในทางการค้าของโจทก์ จึงถือเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ2.5 ของค่าดอกเบี้ยที่ได้รับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2525)
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์จะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินโดยจำกัดตัวบุคคลผู้กู้ และมีเงื่อนไขในการกู้ว่า ต้องนำเงินกู้นั้นไปปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมการค้าของโจทก์ก็ตาม ก็ย่อมไม่พ้นจากการประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงิน เพราะถึงอย่างไรโจทก์ก็ยังต้องการดอกเบี้ยจากผู้กู้อยู่นั่นเองเมื่อการให้กู้ยืมเงินของโจทก์เป็นการประกอบกิจการโดยปกติในทางการค้าของโจทก์ จึงถือเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ2.5 ของค่าดอกเบี้ยที่ได้รับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2525)