พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองบานประตูไม้สักเพื่อการค้าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้จะใช้ในการรับเหมา
แม้มาตรา5 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะบัญญัติให้คัดสำเนาประกาศปิดตามสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องก็เป็นเพียงกำหนดวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติในการประกาศเท่านั้นหาใช่บทบัญญัติอันเป็นองค์ประกอบความผิดไม่จึงไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องมาด้วย หากจำเลยเห็นว่ายังไม่ได้มีการปิดประกาศตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งจะใช้บังคับจำเลยไม่ได้ ก็ชอบที่จะยกขึ้นต่อสู้ให้เป็นประเด็นแต่จำเลยมิได้ต่อสู้เช่นนั้นคงต่อสู้ว่าจำเลยมีบานประตูไม้สักไว้ในความครอบครองโดยชอบ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าบานประตูไม้สักเป็นเครื่องใช้ซึ่งอยู่ในข่ายควบคุมประกาศดังกล่าว จำเลยมิได้หลงต่อสู้ประการใด ฟ้องของโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
บานประตูไม้สักมีสภาพเป็นเครื่องใช้ แม้จะเหลือจากการรับเหมาก่อสร้างก็ยังคงมีสภาพเป็นเครื่องใช้อยู่เช่นเดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าประเภทรับเหมาก่อสร้างแม้จะมีบานประตูไม้สักไว้ใช้ในการรับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นการมีไว้ในความครอบครองเพื่อการค้าเช่นเดียวกัน หาจำเป็นต้องมีไว้เพื่อขายโดยตรงไม่
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ซึ่งมีบานประตูไม้สักไว้ในครอบครองเพื่อการค้าจำเลยในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงมือกระทำการย่อมจะต้องรับผิดในทางอาญาด้วย คดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในฐานะตัวการผู้ร่วมกระทำผิดมิได้ลงโทษจำคุกในฐานะที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล จึงไม่ขัดกับมาตรา 7 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บานประตูไม้สักมีสภาพเป็นเครื่องใช้ แม้จะเหลือจากการรับเหมาก่อสร้างก็ยังคงมีสภาพเป็นเครื่องใช้อยู่เช่นเดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าประเภทรับเหมาก่อสร้างแม้จะมีบานประตูไม้สักไว้ใช้ในการรับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นการมีไว้ในความครอบครองเพื่อการค้าเช่นเดียวกัน หาจำเป็นต้องมีไว้เพื่อขายโดยตรงไม่
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ซึ่งมีบานประตูไม้สักไว้ในครอบครองเพื่อการค้าจำเลยในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงมือกระทำการย่อมจะต้องรับผิดในทางอาญาด้วย คดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในฐานะตัวการผู้ร่วมกระทำผิดมิได้ลงโทษจำคุกในฐานะที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล จึงไม่ขัดกับมาตรา 7 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา