พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งหลายทอดร่วมรับผิดชอบความเสียหายสินค้า การรับขนส่งทางทะเล
สายการเดินเรือช. รับจ้างขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมายังประเทศไทยแต่ไม่มีสาขาในประเทศไทยจึงให้จำเลยที่1ดำเนินการแทนระหว่างเดินทางเรือบรรทุกสินค้าของสายการเดินเรือช.เกิดเพลิงไหม้ทำให้สินค้าเสียหายบางส่วนต้องขนสินค้าที่เสียหายขึ้นที่เมืองฮ่องกง จำเลยที่1มีหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้องกับสินค้าบนเรือขอให้ใช้กฎแห่งการเฉลี่ยทั่วไปในรูปแบบของหลักประกันเฉลี่ยของบริษัทลอยด์ จำกัดจากผู้รับตราส่งสินค้าเรียกหนังสือค้ำประกันเพื่อกฎแห่งการเฉลี่ยอย่างไม่จำกัดจำนวนจากผู้รับประกันภัยสินค้าและขอให้ลงชื่อในแบบฟอร์มหลักประกันเฉลี่ยและหนังสือค้ำประกันเมื่อเรือสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1เป็นผู้แจ้งเรือเข้าต่อกรมเจ้าท่าและต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยแจ้งให้กรมศุลกากรทราบว่าสินค้าที่บรรทุกมาบนเรือมีอะไรบ้างประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่1เป็นผู้ออกให้เพื่อไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่1เป็นผู้รับค่าระวางขนส่งจากผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าบนเรือทั้งหมดไปเก็บไว้ในคลังสินค้าและเมื่อเรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถแล่นผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาจำเลยที่1ต้องหาเรือลำเลียงมาขนถ่ายสินค้าการดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่1เป็นวิธีการรับขนทางทะเลมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จำเลยที่1ประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่1เป็นผู้ออกให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นขั้นตอนสำคัญของการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา615และมาตรา622จำเลยที่1จึงเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ เมื่อเรือบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักให้มากไม่สามารถเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้จำเลยที่1ได้ให้จำเลยที่2เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าจากเกาะสีชังมากรุงเทพมหานครจำเลยที่2ได้ว่าจ้างจำเลยที่4และที่5ขนถ่ายสินค้าโดยมีจำเลยที่3เป็นคนขับเรือเล็กจำเลยที่2ที่4และที่5เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่สู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าจึงถือได้ว่าจำเลยที่2ที่4และที่5เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่1เพื่อให้สินค้าถึงผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้ายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่3มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของจำเลยที่4และที่5ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทจำเลยที่3จึงย่อมไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดและการร่วมขนส่งสินค้าทางทะเล
สายการเดินเรือ ซ.รับจ้างขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมายังประเทศไทย แต่ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแทนระหว่างเดินทาง เรือบรรทุกสินค้าของสายการเดินเรือ ซ.เกิดเพลิงไหม้ ทำให้สินค้าเสียหายบางส่วน ต้องขนสินค้าที่เสียหายขึ้นที่เมืองฮ่องกง จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้องกับสินค้าบนเรือขอให้ใช้กฎแห่งการเฉลี่ยทั่วไปในรูปแบบของหลักประกันเฉลี่ยของบริษัทลอยด์ จำกัด จากผู้รับตราส่งสินค้าเรียกหนังสือค้ำประกันเพื่อกฎแห่งการเฉลี่ยอย่างไม่จำกัดจำนวนจากผู้รับประกันภัยสินค้าและขอให้ลงชื่อในแบบฟอร์มหลักประกันเฉลี่ยและหนังสือค้ำประกัน เมื่อเรือสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งเรือเข้าต่อกรมเจ้าท่าและต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยแจ้งให้กรมศุลกากรทราบว่าสินค้าที่บรรทุกมาบนเรือมีอะไรบ้าง ประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกให้เพื่อไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับค่าระวางขนส่งจากผู้รับตราส่ง มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าบนเรือทั้งหมดไปเก็บไว้ในคลังสินค้า และเมื่อเรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถแล่นผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยา จำเลยที่ 1 ต้องหาเรือลำเลียงมาขนถ่ายสินค้า การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่ 1 เป็นวิธีการรับขนทางทะเล มีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่จำเลยที่ 1 ประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นขั้นตอนสำคัญของการรับขนตามป.พ.พ. มาตรา 615 และมาตรา 622 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
เมื่อเรือบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักมาก ไม่สามารถเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ จำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าจากเกาะสีชังมากรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 4และที่ 5 ขนถ่ายสินค้า โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นคนขับเรือเล็ก จำเลยที่ 2 ที่ 4และที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่สู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้า จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของจำเลยที่ 4 และที่ 5ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 3 จึงย่อมไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด
เมื่อเรือบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักมาก ไม่สามารถเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ จำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าจากเกาะสีชังมากรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 4และที่ 5 ขนถ่ายสินค้า โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นคนขับเรือเล็ก จำเลยที่ 2 ที่ 4และที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่สู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้า จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของจำเลยที่ 4 และที่ 5ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 3 จึงย่อมไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหาย และอายุความฟ้องร้อง
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศว่าจ้างบริษัท ฟ.และบริษัทว. ซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ ทำการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมาให้ผู้ซื้อในประเทศไทย บริษัท ฟ.และบริษัท ว. ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงว่าจ้างจำเลยทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลมาที่หน้าการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าจอดเทียบท่าและจัดการหาคนหรือเครื่องมือขนถ่ายสินค้าออกจากเรือเดินทะเลนำไปที่หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบและผู้รับตราส่งต้องนำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยเป็นผู้ออก เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้ากับบริษัท ฟ.และบริษัทว. และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและการกำหนดอายุความ
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศว่าจ้างบริษัท ฟ. และบริษัท ว.ซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ ทำการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมาให้ผู้ซื้อในประเทศไทย บริษัท ฟ. และ บริษัท ว.ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงว่าจ้างจำเลยทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลมาที่หน้าการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าจอดเทียบท่าและจัดการหาคนหรือเครื่องมือขนถ่ายสินค้าออกจากเรือเดินทะเลนำไปที่หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบและผู้รับตราส่งต้องนำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยเป็นผู้ออก เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้ากับบริษัท ฟ. และบริษัท ว.และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164