คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงผิดกฎหมาย: เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้อง แม้จะไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารที่ดัดแปลงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 4 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่รับอนุญาตภายใน 30 วัน จำเลยรับแจ้งคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ตามมาตรา 42 วรรคสาม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยรื้อถอนอาคารเดิมออก มิฉะนั้นจะถือว่าปลูกสร้างผิดจากแบบแปลงแผนผังที่ได้รับอนุญาต ปรากฏว่าจำเลยมิได้รื้อถอนผนังกำแพงด้านข้างและต้นเสา 2 ด้านของอาคารเดิม กลับก่อสร้างอาคารชั้นเดียวเชื่อมต่อจากอาคาร 4 ชั้น ไปด้านหน้าด้านถนนและก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อจากอาคาร 4 ชั้น ปกคลุมแนวร่นของอาคารไว้ทั้งหมด โดยก่อสร้างขึ้นหลังจาก พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มีผลใช้บังคับแล้วไม่ใช่ก่อสร้างอาคารพิพาทภายในแนวเขตที่ดินและตามแนวอาคารเดิมซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ จึงเป็นการดัดแปลงที่ผิดไปจากแบบแปลนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยต้องรื้อถอน การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์ฟ้องให้รื้อถอนได้ตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและไม่ต่อใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรม การลดโทษต้องมีเหตุเฉพาะตัว
จำเลยปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ เป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง เมื่อใบอนุญาตหมดอายุแล้วจำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้างแต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกย่อมเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ 71 อีกกรรมหนึ่ง เหตุบรรเทาโทษเป็นเหตุเฉพาะตัว ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยที่ไม่มีเหตุบรรเทาโทษย่อมไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3265/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายและการรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 1 ที่ภูมิลำเนาแล้ว มีคนอยู่แต่ไม่ยอมรับไว้แทน บุคคลที่อยู่ในบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นบุคคลในวงเครือญาติกัน เชื่อว่าต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1ทราบแล้ว นับแต่วันปิดหมายจนถึงวันครบกำหนดยื่นคำให้การเป็นเวลานานถึง 23 วัน มีเวลาเพียงพอแต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำให้การ ถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
ปลูกสร้างอาคารพิพาทขึ้นใหม่ทั้งหลังโดยไม่เว้นแนวอาคารให้ห่างจากถนนและด้านหลังอาคารก็มิได้เว้นห่างจากจุดศูนย์กลางของตรอกซึ่งเป็นทางสาธารณะตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2522 ข้อ 72 และข้อ 76 (4) อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยและป้องกันอัคคีภัยการสัญจรไปมาและการรักษาอาคารให้เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ศาลฎีกาไม่อาจใช้ดุลพินิจให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารดังกล่าวให้ถูกต้องตามที่จำเลยที่ 2 ขออนุญาตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคารและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ศาลยืนตามคำสั่งรื้อถอน
คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับตลอดมา แม้ต่อมาพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ออกมาใช้บังคับแต่ก็มิได้มีการยกเลิกคำสั่งหรือมีคำสั่งใหม่จึงต้องเป็นไปตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ให้นำคำสั่งดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม อาคารประเภทควบคุมการใช้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจึงจะทำการปลูกสร้างได้ จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนหนึ่ง แต่จำเลยก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนอื่น ซึ่งมีรูปแบบผิดไปในสาระสำคัญโดยไม่รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง จึงเป็นการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารให้ผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 หมวด 7 ข้อ 81 กำหนดว่า อาคารที่ก่อสร้างเพื่อใช้เก็บของสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมไม่น้อยกว่า 10 เมตรสองด้าน จำเลยก่อสร้างอาคารโดยมีด้านหน้าเพียงด้านเดียวมีที่ว่างเกิน 10 เมตร ส่วนอาคารด้านหลังห่างแนวเขตที่ดินของจำเลยไม่เกิน 2 เมตร และมีการก่อสร้างรั้วคอนกรีตไว้บนแนวเขตที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยเช่าที่ดินด้านหลังอาคารออกไปกว้าง 7 เมตร แต่ก็มีผู้อื่นปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามา 2 เมตร สภาพดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีที่ว่าง10 เมตร อาคารที่จำเลยก่อสร้างจึงผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย ไม่ขาดอายุความ เพราะเป็นกฎหมายพิเศษคุ้มครองความปลอดภัยประชาชน
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรื้อถอน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลย ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่าง ไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอนกรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดี ต่อ ศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอน อาคาร ที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือ แล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับ คำสั่ง ให้ ระงับ การก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลย ต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติ เจ้าของต้องรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลยฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า10 เมตรทุกด้าน
เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือแล้วจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ แม้ไม่มีกำหนดอายุความ
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้
โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารขัดกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ ไม่มีกำหนดอายุความฟ้อง
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตรเป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้ โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลต้องบังคับรื้อถอนตามกฎหมาย
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯข้อ 76(4) ระบุว่า การก่อสร้างอาคารตึกแถว ห้องแถวต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร เมื่อจำเลยต่อเติมดัดแปลงอาคารปกคลุมที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมทำให้ไม่มีที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมเหลืออยู่ อีกทั้งจำเลยต่อเติมดัดแปลงไปโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และอาคารที่ดัดแปลงแล้วนั้นไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม กรณีการต่อเติมดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตและเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้นั้นพระราชบัญญัติคุมคุมอาคารฯ มาตรา 42 มิได้ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้รื้อถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ก็ได้เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนศาลจำต้องบังคับให้มีการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมายนั้น
of 4