พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้นที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ไม่ถือเป็นเหตุพ้นวิสัย หากมีระยะเวลาที่สมเหตุสมผล
นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 189 นั้น ต้องเป็นกรณีที่เงื่อนไขแห่งนิติกรรมนั้นเป็นเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาดเนื่องจากสภาพของเงื่อนไขนั้นหรือโดยผลของกฎหมาย มิใช่เพียงเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ง่ายภายในเวลาที่กำหนด ทั้งต้องเป็นการเป็นไปไม่ได้โดยทั่วไป มิใช่เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่จะพิจารณาตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนดเป้าหมายในการรับซื้อไฟฟ้า เมื่อไม่ปรากฏว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายภาครัฐ กำหนดให้การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบ FIT ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นเรื่องต้องห้าม มิอาจกระทำได้โดยเด็ดขาด ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้นข้อ 3.1 (ก) เป็นการพ้นวิสัย แต่อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขย่อมต้องมีระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้เพื่อให้เงื่อนไขสำเร็จลง มิใช่จะมีอยู่ตลอดไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้น ข้อ 3.2 ให้โจทก์มีสิทธิกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดดังกล่าว เมื่อนับแต่วันที่ 2 เมษายน 2558 ที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายหุ้นจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ที่โจทก์กำหนดให้ระยะเวลาในการปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ยุติลง เป็นเวลาประมาณ 2 ปีเศษ ซึ่งเป็นเวลาพอสมควรที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะดำเนินการให้จำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ได้แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนไม่สำเร็จ สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่เป็นผล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องคืนเงินค่าหุ้นที่รับไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย
การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่จะพิจารณาตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนดเป้าหมายในการรับซื้อไฟฟ้า เมื่อไม่ปรากฏว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายภาครัฐ กำหนดให้การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบ FIT ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นเรื่องต้องห้าม มิอาจกระทำได้โดยเด็ดขาด ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้นข้อ 3.1 (ก) เป็นการพ้นวิสัย แต่อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขย่อมต้องมีระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้เพื่อให้เงื่อนไขสำเร็จลง มิใช่จะมีอยู่ตลอดไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้น ข้อ 3.2 ให้โจทก์มีสิทธิกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดดังกล่าว เมื่อนับแต่วันที่ 2 เมษายน 2558 ที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายหุ้นจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ที่โจทก์กำหนดให้ระยะเวลาในการปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ยุติลง เป็นเวลาประมาณ 2 ปีเศษ ซึ่งเป็นเวลาพอสมควรที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะดำเนินการให้จำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ได้แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนไม่สำเร็จ สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่เป็นผล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องคืนเงินค่าหุ้นที่รับไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เงื่อนไขบังคับก่อน, ผลกระทบต่อเจ้าของรวม, และค่าเสียหายจากผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่าผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน18เดือนนั้นไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อนแต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่าผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัยไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงจึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364วรรคสองคำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ศาลต้องยกคำขอแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาและแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญาศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: เงื่อนไขบังคับก่อน, สิทธิเจ้าของรวม, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่า ผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน 18 เดือนนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน แต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่า ผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัย ไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง คำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลต้องยกคำขอ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญา และแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญา ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง คำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลต้องยกคำขอ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญา และแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญา ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับใหม่ได้ แต่ดอกเบี้ยเกิน 5 ปีเป็นโมฆะ
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ให้โจทก์ภายในอายุความ อายุความฟ้องเรียกเงินกู้สะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุความกันใหม่ตั้งแต่วันสิ้นกำหนดเวลาที่จำเลยทำสัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ เมื่อหนี้เงินต้นยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปีได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 189
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ทำให้ อายุความสะดุดหยุด และเริ่มนับใหม่ได้ แม้หนี้เดิมไม่ขาดอายุความ
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ให้โจทก์ภายในอายุความอายุความฟ้องเรียกเงินกู้สะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุความกันใหม่ตั้งแต่วันสิ้นกำหนดเวลาที่จำเลยทำสัญญาว่า จะนำเงินมาชำระหนี้โจทก์เมื่อหนี้เงินต้นยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปีได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้, อายุความ, และการฟ้องเรียกหนี้ที่มีประกันจำนอง: ประเด็นห้ามมิให้ฎีกา และผลต่อการคิดดอกเบี้ย
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ท้ายฟ้องเป็นโมฆะ จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ดอกเบี้ยส่วนที่เกินเป็นโมฆะ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าหนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยจะฎีกาว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นโมฆะไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) อายุความฟ้องเรียกเงินกู้คืนไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ภายในอายุความ จึงมีผลทำให้อายุความเรียกเงินกู้สะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดไป คือวันสิ้นกำหนดเวลาที่จำเลยสัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ภายในกำหนดอายุความ กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189ที่ห้ามโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี เพราะกรณีตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 189 ต้องเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามมูลหนี้เดิมคือหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้แต่โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องบังคับเอาจากทรัพย์สินที่รับจำนองไว้ได้และในกรณีเช่นนี้บทกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามประเด็นใหม่ & สิทธิยึดหน่วงไม่ขาดอายุความเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาอย่างไรจำเลยมิได้กล่าวไว้ คำให้การของจำเลยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไว้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและการโอนมรดก: สิทธิของผู้จะซื้อเมื่อเจ้าของเสียชีวิต
จำเลยให้การเพียงว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาอย่างใดมิได้กล่าวไว้ ดังนั้นคำให้การของจำเลยมีแต่ปฏิเสธลอย ๆ ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา โจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทในระหว่างระยะเวลาแห่งการเช่า โจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกับ ส.บิดาจำเลยแล้วโจทก์ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะผู้ซื้อตลอดมาแม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิได้ด้วย ดังนั้นการที่ ส.เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมของ ส. โอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ 241
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและการบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังผู้ขายเสียชีวิต แม้ฟ้องเกิน 1 ปี
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับผู้ตายและได้ชำระเงินให้ผู้ตายครบถ้วนแล้วผู้ตายมอบโฉนดที่ดินพิพาททั้งหมดและหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการโอนที่ดินทั้งหมดให้โจทก์ ทั้งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงในที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ แม้ผู้ตายจะตายเกิน 1 ปีเมื่อโจทก์ฟ้องคดี ก็ไม่ห้ามโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ 241 ให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงที่ดินหลังชำระค่าซื้อครบถ้วน ผู้ขายถึงแก่ความตาย ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้ตายและได้ชำระเงินให้ผู้ตาย ให้โอนที่ดินทั้งหมดให้โจทก์ ทั้งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงในที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ แม้ผู้ตายจะตายเกิน 1 ปี เมื่อโจทก์ฟ้องคดีก็ไม่ห้ามโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ 241