คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 47(3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาสาเหตุ ไม่ใช่แค่การจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้นจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นสาเหตุที่สมควรหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย ฐานคำนวณ และการหักเงินที่จ่ายไปแล้ว
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งลดงบประมาณโฆษณา ถือเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
จำเลยให้โจทก์ลูกจ้างติดต่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆของจำเลยทางโทรทัศน์ โดยกำหนดงบประมาณค่าโฆษณาไว้เป็นเงิน 4ล้านบาทต่อปี โจทก์ติดต่อให้บริษัท อ. โฆษณาผลิตภัณฑ์ ของจำเลยและได้มีการจ่ายค่าโฆษณาไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาทคงเหลือเพียง 1 ล้านบาทเศษ แต่เหลือเวลาที่จะต้อง โฆษณาอีก 7 เดือนประกอบกับสินค้าของจำเลยขายไม่ ค่อยดี จำเลยจึงสั่งให้โจทก์ลดค่าโฆษณาลงโจทก์ ขัดคำสั่งของจำเลยโดยมิได้สั่งให้บริษัท อ. ลดการโฆษณาลงถือว่าเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรงแล้วกรณีจึงต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3) ที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารประกาศผลการลงโทษ ไม่ถือเป็นคำเตือนตามกฎหมายแรงงาน จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
เอกสารของจำเลยเป็นแต่เพียงประกาศให้ลูกจ้างทุกคนทราบผลของการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบว่าจะถูกลงโทษเช่นไร และถ้าผู้ใดกระทำก็จะถูกลงโทษ ไม่มีข้อความตักเตือนโจทก์มิให้กระทำความผิดอีกและจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ในการกระทำความผิดดังกล่าวไปแล้วดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเอกสารนี้เป็นคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(3) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3601/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำกัดสิทธิการแสวงหาความก้าวหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของนายจ้างที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งจะไปสมัครสอบเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องยื่นใบลาออกก่อนนั้นเป็นคำสั่ง ที่จำกัดสิทธิในการแสวงความก้าวหน้าของลูกจ้างเกินความจำเป็น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ด้วยเหตุฝ่าฝืนคำสั่งนี้ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินลูกค้าโดยมิชอบ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประกอบกิจการธนาคาร มีคำสั่งห้ามพนักงานกระทำการเบียดเบียนลูกค้า โจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อซึ่งอำนาจหน้าที่ ของโจทก์มีส่วนเป็นคุณและเป็นโทษแก่ลูกค้าได้ โจทก์ กู้ยืมเงินลูกค้าถึง 14 ราย เป็นเงิน 37,700 บาท หากโจทก์มีความจำเป็นต้องใช้เงินโดยสุจริตก็อาจกู้ยืม เพียงรายหนึ่งหรือสองรายก็น่าจะได้เงินพอกับจำนวนที่ ต้องการ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการเบียดเบียนลูกค้าโดย อาศัยอำนาจหน้าที่และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็น กรณีร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิดตามข้อบังคับและระเบียบ หากไม่ปรากฏข้อบังคับ นายจ้างนำความผิดเก่ามาพิจารณาไม่ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ของนายจ้างเป็นอย่างไร การจะปรับว่าการกระทำของลูกจ้าง เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีร้ายแรงย่อมปรับไม่ได้ดังนั้นการที่ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขับรถให้พนักงานยกของเฝ้ารถไว้แล้วโทรศัพท์บอกนายจ้างว่าตนจะไม่นำ รถกลับเพราะทางราชการห้ามมิให้รถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลานั้น เป็นเหตุผลอันสมควรสำหรับลูกจ้างจะถือว่าการละทิ้งรถ ในลักษณะนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรงยังไม่ได้ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น จักต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น โดยเฉพาะจะนำเอาความผิดครั้งก่อนๆมาพิจารณาประกอบแล้วถือว่าการกระทำครั้งหลังเป็นกรณีที่ร้ายแรงหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุของเครื่องจักรเสีย และการตีความความผิดร้ายแรงตามระเบียบบริษัท
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปเป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การมิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือภาคทัณฑ์ถือเป็นการตักเตือน หากลูกจ้างกระทำผิดซ้ำ นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องคืนเงินประกันหากไม่มีความเสียหาย
หนังสือภาคทัณฑ์มีข้อความว่า "....ท่านได้ละทิ้งหน้าที่ดังนั้น จึงออกหนังสือนี้เพื่อเป็นการภาคทัณฑ์ท่านในความผิดดังกล่าว หากปรากฏว่าท่านฝ่าฝืนระเบียบอีก.....บริษัทจะเลิกจ้างท่านทันที" หนังสือนี้มีลักษณะเป็นการตักเตือนลูกจ้างในความผิดนั้นแล้ว เมื่อลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับโดยละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีก นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เงินประกันที่นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างไว้ ตามสัญญาจ้างนายจ้างจะริบได้ต่อเมื่อลูกจ้างผิดสัญญาและทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อไม่ได้ความว่าการที่ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างใดนายจ้างจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีคำสั่งแต่ไม่ร้ายแรงต้องบอกกล่าวและจ่ายค่าชดเชย
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์พิมพ์หนังสือตอบรับ (สมาชิก) เข้าร่วมโครงการไม่เสร็จ และโจทก์ไม่เต็มใจต้อนรับบุคคลที่จะสมัครเป็นสมาชิกในโครงการการ์ดเพื่อความประหยัดสำหรับวัยรุ่นของจำเลยนั้น เป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่แต่หากโจทก์ได้กระทำการดังกล่าวจริง ก็หาเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงไม่ เพราะเมื่อโจทก์ไม่ยอมทำ จำเลยก็มิได้ถือว่าเป็นความผิด แต่กลับอ้อนวอนให้โจทก์ช่วยทำเป็นหลายครั้ง เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการขัดคำสั่งกรณีที่ร้ายแรงอันต้อง ด้วย ข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) เสียแล้ว การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จึงต้องบอกกล่าวและต้องจ่ายค่าชดเชย
of 2