คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 609 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งร่วม การมอบอำนาจและการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์มีผลต่อการรับผิดชอบค่าเสียหาย
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่1จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่1ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วแต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งฎีกาจำเลยที่1ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ใบตราส่งเป็นแบบ ฟลูไลเนอร์เทอม ซึ่งหมายความว่าหน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือ ฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือ เกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเองจำเลยที่1ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่2ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วยส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้ารวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจคนเข้าเมืองนั้นกิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่2ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเองการที่จำเลยที่1ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือยังไม่พอถือว่าจำเลยที่1เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่2และเรือใหญ่ด้วยจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่1ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ283,734.40บาทซึ่งจำเลยที่1ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง7,092.50บาทแต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน359,497.31บาทด้วยและให้จำเลยที่1เสียค่าขึ้นศาลฎีกาเป็นเงิน8,987.50บาทจำเลยที่1จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน1,895บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6902/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งทางทะเล: การแจ้งเรือและเอกสารพิธีการศุลกากรไม่ถือเป็นผู้ขนส่งรายสุดท้าย
จำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ารายพิพาทขึ้นจากเรือลงสู่ท่าแล้วขนไปพักยังโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนที่บริษัท ฟ. จะจ้าง อ. ให้ทำการขนส่งต่อไปยังโกดังของบริษัท ฟ. เพื่อเปิดตู้คอนเทนเนอร์ตรวจนับสินค้าและสำรวจความเสียหาย จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้ารายพิพาททางทะเลทอดสุดท้าย ลำพังแต่เพียงที่จำเลยแจ้งการมาถึงของเรือ รับใบตราส่งจากผูัรับตราส่งแล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าจากท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือดำเนินพิธีการศุลกากรทางด้านเอกสารต่าง ๆ แทนผู้รับขนหรือนายเรือซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าจำเลยร่วมในการขนส่งทางทะเลทอดสุด-ท้ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมรับผิดชอบความเสียหายสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
นอกจากจำเลยจะปฏิบัติหน้าที่ทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยราชการต่าง ๆ แทนบริษัทผู้ขนส่งที่อยู่ต่างประเทศแล้ว จำเลยยังเป็นผู้จัดการในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงเรือฉลอมแล้วนำเข้ามาที่โรงพักสินค้าเพื่อส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้รับตราส่งอีกด้วย เข้าลักษณะร่วมขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายซึ่งต้องร่วมรับผิดในความเสียหายของสินค้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาททั้งนี้ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตอนใดระหว่างการขนส่งและจำเลยจะได้เป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายนั้นหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5287/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเรือสินค้าต่างประเทศไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายสินค้า หากไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการขนส่ง
จำเลยมิใช่ผู้ออกใบตราส่งและไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างทางหรือเมื่อเรือมาถึงท่าเรือปลายทางแล้ว การเกี่ยวข้องของจำเลยเพียงเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งที่อยู่ต่างประเทศและไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โดยจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือผู้ขนส่งให้ผู้รับตราส่งทราบและให้ผู้รับตราส่งนำใบตราส่งไปตราส่งไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้า จำเลยเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าและติดต่อกรมศุลกากรเพื่อเปิดระวางเรือ แจ้งกรมเจ้าท่าเพื่อให้นำเรือเข้าเทียบท่าเรือปลายทาง และแจ้งกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตรวจคนที่มากับเรือ ซึ่งการเหล่านี้มิใช่การขนส่ง แต่เป็นงานเกี่ยวกับเอกสารหรือการติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ ซึ่งเจ้าของเรือหรือบริษัทผู้ขนส่งมิได้กระทำโดยตนเอง หากแต่ได้มอบหมายให้จำเลยทำแทนเท่านั้นการกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยจึงมิใช่ลักษณะการร่วมเป็นผู้ขนส่งสินค้าหรือเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะยกมาปรับแก่คดีรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ซึ่งยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 4 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความชำรุดเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าล่าช้าและการประเมินความเสียหายจากราคาตลาดที่ตกต่ำ
ขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่ได้ประกาศใช้ และไม่ปรากฎจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลศาลจึงจำต้องวินิจฉัยคดีนี้โดยอาศัยเทียบบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 คดีนี้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนตกลงรับขนว่าโจทก์ประสงค์จะให้ขนส่งสินค้าของโจทก์โดยเร็วจึงมีการเปลี่ยนจากเรืออ.เป็นเรือป. แต่ปรากฎว่าเรือป.แล่นออกจากประเทศไทยล่าช้าถึง 1 สัปดาห์ จึงทำให้เรือแล่นไปถึงท่าเรือปลายทางต้องล่าช้าไปด้วย ดังนี้การส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับสินค้าปลายทางล่าช้าเป็นเพราะจำเลยเริ่มทำการขนส่งสินค้าล่าช้าเอง มิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพด ชักช้าผิดเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรเห็นควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฎว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทยโจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดย โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งกรณีสินค้าสูญหายจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่ บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยเมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้ามรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อนจึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือสภาพสินค้า
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นและเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.ได้แต่งตั้งให้ น. และหรือ ว. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนห้างหุ้นส่วนได้แก่ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี และดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในศาลทั้งหลายของประเทศไทยหรือองค์การใด ๆ ของรัฐบาลในประเทศไทยต่อจำเลยทั้งห้า ฟ้องร้องดำเนินคดีล้มละลายแก่ลูกหนี้ในประเทศไทยและกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึง 5 ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากร แม้โจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว แต่ก็เป็นการกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.หาใช่โจทก์ทั้งสามต่างคนต่างมอบอำนาจเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อเป็นการมอบอำนาจให้บุคคล 2 คน ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์สำหรับผู้รับมอบอำนาจคนละ 30 บาทหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 60 บาท เท่านั้น การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113 และ 114ก็ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในชั้นสืบพยานโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 150 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้วแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้เสียเงินเพิ่มอากรศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) คดีพิพาทเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง กำหนดให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ปรากฏว่าขณะเกิดข้อพิพาทยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขนมาใช้บังคับโดยถือเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 บัญญัติว่าผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นบุบสลายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการบุบสลายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับขนส่งสินค้าลำไยพิพาทโดยมีหน้าที่ต้องจัดหาตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นสำหรับควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2มอบตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำการขนส่งเพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเรือบรรทุกสินค้า จำเลยที่ 2เป็นผู้ว่าจ้างโดยมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่าเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นภายในบรรจุลำไยสดจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงทราบดีว่าสินค้าภายในตู้เป็นผลไม้สดที่ต้องใช้ตู้ทำความเย็นเพื่อรักษาความสดของผลไม้ไว้ เหตุที่จำเลยที่ 3และที่ 4 อ้างว่าสินค้าลำไยพิพาทต้องเสียหายเป็นเพราะความบกพร่องของตู้คอนเทนเนอร์ ท่อน้ำยารั่ว ตู้ดังกล่าวจึงไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ เจ้าหน้าที่เรือไม่อาจซ่อมแซมขณะเรือแล่นอยู่ในทะเลได้นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบุบสลายหรือเสียหายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง ทั้งไม่ปรากฏว่าสินค้าต้องบุบสลายหรือเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่งหรือผู้รับตราส่งแต่อย่างใด การขนส่งของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดร่วมกันในการบุบสลายหรือเสียหายนั้นต่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้แทนเรือและผู้ขนส่งร่วม กรณีสินค้าเสียหายระหว่างขนถ่าย
บริษัทผู้ขนส่งสินค้าเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทอ.โดยตรงให้เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเล จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขนสินค้าหรือร่วมขนสินค้าจากเรือเดินทะเลลงเรือเล็ก ลำพังแต่การดำเนินการทางเอกสาร หรือปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับการนำเรือเข้าเทียบท่าในราชอาณาจักร หรือแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าต่อกรมศุลกากร หรือแจ้งต่อเจ้าของสินค้า รวมถึงกำหนดวันขนถ่ายสินค้า ตลอดจนวิธีการที่แจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งไปแลกกับใบปล่อยสินค้าจากนายเรือตามทางปฏิบัติของการขนส่งทางทะเลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ขนส่งร่วมกับบริษัทผู้ขนส่งสินค้าและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากเจ้าของสินค้าผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายรับผิดชอบความเสียหายสินค้าสูญหาย การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัทจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ ยื่นคำร้องต่อการท่าเรือฯ ขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือฯ ให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้า ตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าดังกล่าวให้แก่การท่าเรือฯเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้าง การท่าเรือฯ นำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือฯ เพื่อรับสินค้าซึ่งหากไม่มีใบรับสินค้าก็ไม่สามารถจะไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือฯ ได้ ดังนี้ การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล.
แม้ปรากฏว่าผู้ขายสินค้าพิพาทจะมีสัญชาติญี่ปุ่นและส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่น โดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย การขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยบริษัทจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทย และบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 ให้ใช้กฎหมายใดบังคับไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้าย: จำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบการขนส่งขึ้นลงจากเรือ ถือเป็นผู้ขนส่งตามกฎหมาย
จำเลยได้ติดต่อว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือ โดยจำเลยเป็นผู้แจ้งให้ผู้ขนถ่ายทราบว่าเป็นเรือลำไหนและจอดที่ใด จำเลยเป็นผู้ชำระค่าจ้างให้ห้าง ส.และหากห้างส. พบความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะแจ้งความเสียหายให้จำเลยทราบ จำเลยเป็นผู้เช่าเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือและชำระค่าเช่าให้แก่การท่าเรือฯจำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอนำเรือเข้าเทียบท่าแจ้งข่าวการมาถึงของเรือให้ผู้ซื้อและกรมศุลกากรทราบ เมื่อผู้ซื้อนำใบตราส่งมาที่บริษัทจำเลย จำเลยจะออกใบปล่อยสินค้าให้ ซึ่งจำเลยได้ดำเนินการดังกล่าวเฉพาะในประเทศไทย โดยได้รับมอบหมายจากบริษัทด. ผู้ขนส่งทุกครั้งไป ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นลงจากเรือไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 ส่วนการกล่าวอ้างเอกสารที่ระบุข้อความว่าจำเลยเป็นตัวแทน หรือจำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนก็เป็นเรื่องของจำเลยเองในการดำเนินการค้าระหว่างผู้ขนส่งกับจำเลยโดยจำเลยได้รับบำเหน็จตอบแทนตามอัตราทางการค้าปกติของตน หามีผลทำให้ฐานะของจำเลยที่เป็นผู้ขนส่งเปลี่ยนแปลงไปไม่
of 3