พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524-2525/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาทำงานปกติและสิทธิการได้รับค่าอาหารของลูกจ้าง การตีความคำสั่งการจ่ายเบี้ยเลี้ยง
เดิมจำเลยมีคำสั่งที่ 3507/2523 กำหนดให้พนักงานจ่ายงานจ่ายตั๋ว จ่ายเบี้ยเลี้ยงปฏิบัติงานนอกเหนือชั่วโมงทำงานปกติในช่วงเวลาตั้งแต่ 4.00-8.00 นาฬิกา และไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงอื่นใด ให้ได้รับค่าอาหารวันละ 20 บาทต่อมาจำเลยมีคำสั่งที่ 540/2525 กำหนดเวลาการทำงานตามปกติของพนักงานจ่ายงานในเขตการเดินรถที่ 6 เป็นสองผลัดผลัดที่ 1 ทำงานระหว่าง 4.00-12.30 นาฬิกาผลัดที่ 2 ทำงานระหว่าง 11.00-19.30 นาฬิกา ซึ่งนายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมแก่ ลักษณะงานในหน้าที่ของลูกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3 และข้อ 68 อันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ย้ายมาเป็นพนักงานจ่ายงานประจำเขตการเดินรถที่ 6 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของคำสั่งดังกล่าว ส่วนคำสั่งที่ 3507/2523 มิใช่เป็นเรื่อง กำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานแต่อย่างใด คำสั่งที่ 540/2525 ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับคำสั่งที่ 3507/2523 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าคำสั่งที่ 540/2525 ไม่เป็นคุณแก่โจทก์หรือไม่โจทก์มีเวลาทำงานในช่วงเวลา 4.00-8.00 นาฬิกา แต่มิใช่เป็นการทำงานนอกเหนือชั่วโมงทำงานปกติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโจทก์ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนหรือค่าอาหารตามคำสั่งที่ 3507/2523 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การให้พนักงานทำงานเป็นผลัดไม่มีหลักฐาน ว่ามีชื่อและลายมือชื่อผู้ปฏิบัติงาน จึงฟังไม่ได้นั้น เป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ เศษของปีเกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี
ขณะลาออกโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานรวม 4 ปี 9 เดือน 9 วัน จำเลยมีข้อบังคับว่า พนักงานที่ลาออกหากมีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปีแล้วให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จและวิธีคำนวณระยะเวลาปฏิบัติงานตามข้อบังคับกำหนดว่าเศษของปีถ้าถึงหกเดือนให้นับเป็น 1 ปี ดังนี้ ถือว่าโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปี และมีสิทธิได้รับบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเมื่อมีข้อบังคับขององค์กรใช้บังคับแล้ว ถือเป็นสิทธิแยกจากระเบียบเดิม
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือภาคทัณฑ์ถือเป็นการตักเตือน หากลูกจ้างกระทำผิดซ้ำ นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องคืนเงินประกันหากไม่มีความเสียหาย
หนังสือภาคทัณฑ์มีข้อความว่า "....ท่านได้ละทิ้งหน้าที่ดังนั้น จึงออกหนังสือนี้เพื่อเป็นการภาคทัณฑ์ท่านในความผิดดังกล่าว หากปรากฏว่าท่านฝ่าฝืนระเบียบอีก.....บริษัทจะเลิกจ้างท่านทันที" หนังสือนี้มีลักษณะเป็นการตักเตือนลูกจ้างในความผิดนั้นแล้ว เมื่อลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับโดยละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีก นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เงินประกันที่นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างไว้ ตามสัญญาจ้างนายจ้างจะริบได้ต่อเมื่อลูกจ้างผิดสัญญาและทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อไม่ได้ความว่าการที่ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างใดนายจ้างจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันตามสัญญา
เงินประกันที่นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างไว้ ตามสัญญาจ้างนายจ้างจะริบได้ต่อเมื่อลูกจ้างผิดสัญญาและทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อไม่ได้ความว่าการที่ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างใดนายจ้างจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำ และเป็นดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไประยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำในธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วร้ายแรง และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องวินัยและการรักษาวินัยกำหนดให้ถือตามระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ ห้ามมิให้ข้าราชการพลเรือนฯ ประพฤติชั่ว หากผู้ใดประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีโทษให้ออกปลดออก หรือไล่ออก การที่โจทก์นำตัวเหี้ยไปผูกไว้ที่ต้นปาล์มหน้าโรงงาน และปิดประกาศมีข้อความหยาบคาย ด่าดูหมิ่นเหยียดหยาม ขับไล่ อ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา อันเป็นการไม่เคารพและแสดงถึงความประพฤติในทางเสื่อมทรามของโจทก์จึงถือได้ว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับฯ ของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือและไม่จ่ายค่าชดเชยได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 68 ให้อำนาจนายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้ แต่ในกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัยอันมีโทษถึงปลดออกและนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำผิดของลูกจ้างต้องด้วยกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1) ถึง (6) แห่งประกาศฯดังกล่าวเป็นสำคัญ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 68 ให้อำนาจนายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้ แต่ในกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัยอันมีโทษถึงปลดออกและนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำผิดของลูกจ้างต้องด้วยกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1) ถึง (6) แห่งประกาศฯดังกล่าวเป็นสำคัญ