พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคืนเงินยืมทดรองกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบการจ้าง
แม้ระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ จะระบุว่า ถ้าการจ้างรายใดจำเป็นจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างก็จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อนโดยต้องจัดให้มีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่รับไปล่วงหน้านั้น โดยมิได้ระบุถึงกรณีออกตั๋วแลกเงินไว้ก็ตาม แต่ตั๋วแลกเงินเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือกันได้ ใช้ชำระหนี้ในวงการค้าและวงการธุรกิจเป็นปกติแพร่หลายอยู่โดยทั่วไป ผู้ใดได้ตราสารเช่นนี้ไว้เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ระบุไว้ก็สามารถรับเงินได้ ตราสารเช่นว่านี้จึงมี "คุณค่า"เป็นเงิน ต้องด้วยเจตนารมณ์ ของ ระเบียบดังกล่าว
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งผู้จัดการโรงพิมพ์ของจำเลยได้ร่วมกับพวกดำเนินการยืมเงินทดรองจ่ายจากจำเลยเบิกจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ทั้งๆ ที่มิได้ทำสัญญาจ้างต่อกันโดยไม่มีธนาคารค้ำประกัน และไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องจ่ายล่วงหน้าประการใดหรือไม่ ทำให้จำเลยต้องสูญเสียเงิน ถึง 4,223,856 บาท เป็นการผิดระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเสื่อมชื่อเสียง การกระทำของโจทก์ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แล้ว จำเลยชอบที่จะไล่ออกเสียได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและให้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กับเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างด้วยการถูกไล่ออกนอกจากนี้โจทก์ยังต้องรับผิดคืนเงินยืมทดรองจำนวน4,223,856บาทให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งอีกด้วย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งผู้จัดการโรงพิมพ์ของจำเลยได้ร่วมกับพวกดำเนินการยืมเงินทดรองจ่ายจากจำเลยเบิกจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ทั้งๆ ที่มิได้ทำสัญญาจ้างต่อกันโดยไม่มีธนาคารค้ำประกัน และไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องจ่ายล่วงหน้าประการใดหรือไม่ ทำให้จำเลยต้องสูญเสียเงิน ถึง 4,223,856 บาท เป็นการผิดระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเสื่อมชื่อเสียง การกระทำของโจทก์ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แล้ว จำเลยชอบที่จะไล่ออกเสียได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและให้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กับเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างด้วยการถูกไล่ออกนอกจากนี้โจทก์ยังต้องรับผิดคืนเงินยืมทดรองจำนวน4,223,856บาทให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยประชุมไม่ใช่ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, เงินสงเคราะห์คำนวณจากค่าจ้าง, วันหยุดพักผ่อนสะสมได้, จ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
เบี้ยประชุมถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาเป็นฐานเพื่อคำนวณค่าชดเชย
โจทก์มิได้ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิของโจทก์โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์มิได้ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิของโจทก์โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281-2282/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน และดอกเบี้ย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 นั้น หมายถึงการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร มิได้หมายความว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้กระทำผิดแล้วจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่จำเลยให้การว่าจำเลยประสบปัญหาเรื่องการเงินและขาดเงินทุนดำเนินการ จำเลยจึงปรับปรุงกิจการโดยยุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานซึ่งโจทก์ดำรงอยู่และไม่สามารถจัดหาตำแหน่งอื่นทดแทนแก่โจทก์ได้คำให้การของจำเลยดังนี้ แสดงเหตุของการเลิกจ้างไว้โดยชัดแจ้ง หาใช่คำให้การ ที่ไม่มีประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมว่าจำเลยเลิกจ้างโดยอ้างว่ายุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานที่โจทก์ดำรงอยู่ ซึ่งไม่เป็นความจริงและหาได้กล่าวอ้างถึงเหตุอื่นไม่ ฉะนั้นโจทก์จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากเหตุที่กล่าวในฟ้องมาเป็นข้ออุทธรณ์หาได้ไม่ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ต้องทวงถาม เมื่อจำเลยไม่จ่าย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมว่าจำเลยเลิกจ้างโดยอ้างว่ายุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานที่โจทก์ดำรงอยู่ ซึ่งไม่เป็นความจริงและหาได้กล่าวอ้างถึงเหตุอื่นไม่ ฉะนั้นโจทก์จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากเหตุที่กล่าวในฟ้องมาเป็นข้ออุทธรณ์หาได้ไม่ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ต้องทวงถาม เมื่อจำเลยไม่จ่าย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและการลาออกของลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนวันหยุด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 10 ที่กำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อทำงานครบหนึ่งปีแล้วมิได้เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเลือกเอาค่าจ้างแทนการหยุดพักผ่อนประจำปี การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิและลาออกจากงานไปก่อนจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ที่กำหนดว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง จะนำมาใช้บังคับกับกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้างเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชยค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชยค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตหน้าที่ แม้สมาคมเป็นนิติบุคคลอื่น แต่เชื่อมโยงกับสหกรณ์จำเลย
แม้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์การเกษตรจะได้จดทะเบียนเป็นสมาคมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากสหกรณ์การเกษตรจำเลยก็ตามแต่สมาคมนี้นับได้ว่าอยู่ในเครือเดียวกับจำเลยโดยมีกำเนิดสืบเนื่องมาจากวัตถุประสงค์ของกิจการจำเลยผู้สมัครเป็นสมาชิกสมาคมล้วนเป็นสมาชิกของจำเลย เนื่องด้วยสมาคมไม่มีเจ้าหน้าที่ของตนเองจำเลยจึงมอบหมายให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยดำเนินการรับสมัครสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมและยังมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคม ถือได้ว่าจำเลยมอบให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเพื่อกระทำการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยักยอกเงินค่ารับสมัคร สมาชิกสมาคมจึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ที่จำเลยมอบหมายแก่โจทก์จำเลยจึงเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย