พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8797/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเมื่อไม่ได้ประกอบการค้า แม้ทะเบียนการค้ายังไม่แจ้งเลิก
โจทก์ประกอบกิจการค้าประเภทไนท์คลับ ตามบัญชีการค้าประเภท 7 โรงแรมและภัตตาคาร ชนิด (ก) โจทก์ได้ให้ ณ. เช่ากิจการของโจทก์ไปตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2533 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2535ผู้ที่ประกอบกิจการไนท์คลับและมีรายรับจากการทำกิจการไนท์คลับดังกล่าวต่อจากโจทก์คือ ณ. ดังนั้น แม้ทะเบียนการค้าระหว่างเดือนมิถุนายน 2533 ถึงเดือนธันวาคม 2533 จะยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า โดยโจทก์มิได้แจ้งเลิกประกอบการค้าหรือโอนกิจการค้าตามมาตรา 82 ทวิ ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบกิจการไนท์คลับและไม่มีรายรับจากการประกอบการค้าดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7โรงแรมและภัตตาคารชนิด (ก) ตามการประเมินของเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาดและดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารออมสิน
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่่าทดแทนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดโจทก์โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด60วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ทั้งคดีไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินค่าทดแทนดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่งก่อน สัญญาซื้อขายที่ดิน1งาน50ตารางวาและสัญญาซื้อขายที่ดิน12ตารางวาโจทก์และจำเลยทำต่างวันกันและเป็นคนละฉบับต่างกันอีกทั้งคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่21พฤษภาคม2534อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนที่ดิน1งาน50ตารางวาส่วนคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่19กันยายน2534ก็อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนเฉพาะที่ดิน12ตารางวาเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากและเป็นคำอุทธรณ์ที่พ้นระยะเวลา60วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดิน1งาน50ตารางวาดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน12ตารางวาเป็นส่วนหนึ่งของคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน1งาน50ตารางวาเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น เมื่อปรากฎว่ามีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่โจทก์จึงต้องบังคับตามมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งตามมาตรา21(1)ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาออกตามมาตรา6ประกอบด้วยประการหนึ่งแต่ทั้งโจทก์และจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาคือวันที่1มกราคม2531เป็นราคาเท่าไรส่วนที่โจทก์นำสืบราคาซื้อขายที่ดินรวม68โฉนดก็ปรากฎว่าทีดินดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงใหญ่อยู่ติดถนน3ด้านคือถนนเจริญกรุงถนนสีลมและถนนศรีเวียง แต่ที่ดินของโจทก์ติดซอยธนวัฒน์ มิได้ติดถนนใหญ่ทั้งระยะเวลาที่ซื้อขายก็เป็นเวลาภายหลังและห่างจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาถึง2ปีราคาประเมินก็เพียงตารางวาละ70,000บาทจึงไม่น่าเชื่อว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ในวันที่1มกราคม2531จะเป็นตารางวาละ252,800บาทที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับค่่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ150,000บาทนั้นจึงเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21(1)ถึง(5)เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและศาลอุทธรณ์พิพากษาในตอนท้ายว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแสดงว่าศาลอุทธรณ์ยังคงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีคงที่นั้นไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามซึ่งบัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสิน ที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีเนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของบริษัทในการประกอบธุรกิจ ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
โจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โดยรับฝากขายสินค้าผงชูรสและผงชูรสและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ต่าง ๆ จากการผลิตผงชูรสให้แก่บริษัท อ. โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ซึ่งเรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือคอนซายน์เมนท์พี (consignmentfee) เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากการเป็นตัวแทนนายหน้าตามธรรมดา และการที่โจทก์ รับสินค้าฝากขายดังกล่าวนี้โจทก์ได้รับเปอร์เซนต์ การขาย เป็นค่าตอบแทน แสดงว่า ตามปกติธรรมดาค่าตอบแทนย่อมคิดตามผลของงาน กล่าวคือ ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จำหน่ายไป ถ้าจำหน่ายได้มากค่าตอบแทนย่อมสูงขึ้นแต่หากโจทก์จำหน่ายสินค้าที่รับฝากจากบริษัท อ. มาก ขึ้นไม่ว่าจำนวนเท่าใด โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้นซึ่งเหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัทอ. ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน 60-70 คันต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้า โดย ไม่เสียค่าตอบแทนนั่นเอง อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า หากบริษัท อ. ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการ และ ย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์ จะต้องสูงขึ้น เพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะ เพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัว เช่นนี้ ดังนั้นการที่บริษัท อ. ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทน หรือค่าบริการที่บริษัท อ. ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินตายตัวตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้ เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตาม ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่าหากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้วค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดั้งนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้าถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง: แม้มิได้ลงคะแนน แต่หากจำนวนผู้สมัครครบถ้วนตามกฎหมาย ก็ถือเป็นการเลือกตั้งโดยชอบ
จำเลยที่ 1 มีลูกจ้างทั้งหมดประมาณ 110 คน ซึ่งตามกฎหมายจะมีคณะกรรมการลูกจ้างได้ 7 คน การที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างมีมติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีจำนวนเพียง 7 คน และมีโจทก์รวมอยู่ด้วย เป็นคณะกรรมการลูกจ้างโดยมิต้องมีการลงคะแนนเสียง เพราะหากจัดให้มีการลงคะแนนเสียง ผลที่ได้รับก็จะไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปได้ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการตามประกาศกรมแรงงาน ฯ แล้ว โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย