คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กนก พรรณรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9558/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเตรียมอาวุธและร่วมกันไปก่อเหตุ ถือเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น แม้ไม่ได้ลงมือยิงเอง
จำเลยที่ 2 กับพวกเตรียมอาวุธปืนพกให้จำเลยที่ 1 พาติดตัวไปแล้วเดินทางไปที่เกิดเหตุด้วยกันโดยเจตนาจะไปวิวาทกับผู้เสียหายกับพวก ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีเจตนาใช้อาวุธปืนนั้นในการวิวาทเมื่อพวกของจำเลยทั้งสองเข้าชกต่อยกับผู้เสียหายและพวก จำเลยที่ 2ก็ยืนอยู่กับจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนพกที่เตรียมมายิงผู้เสียหายกับพวกก็อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2ยังหลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และพวก แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ร่วมชกต่อยและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก แต่จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุใกล้ชิดเพียงพอที่จะช่วยเหลือได้ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในการใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาตด้วย
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนพกที่ใช้กระทำผิดมาเป็นของกลาง โจทก์คงนำสืบแต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอาวุธปืนให้มีและใช้อาวุธปืนขนาดใดเลย เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าอาวุธปืนพกที่ใช้กระทำผิดเป็นอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ว่าเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามเท่านั้น และเมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดฐานนี้ จึงเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี กรณีบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
บริษัท น. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาบริษัท น. หยุดประกอบกิจการ เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและได้ประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษาแล้วทำให้บริษัท น. เป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย และเมื่อเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีของบริษัท น. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 เพื่อให้ผู้ชำระบัญชีเข้ามาจัดการงานของบริษัทเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สิน ชำระหนี้คืนทุนแบ่งกำไรหรือขาดทุน และทำการอย่างอื่น ๆ ตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี การที่ผู้ร้องในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท น. ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี จึงมิใช่เป็นการข้ามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6) เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้สั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนบริษัท ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทและการชำระบัญชี: ศาลสั่งตั้งผู้ชำระบัญชีหลังถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
บริษัท น.จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาบริษัท น.หยุดประกอบกิจการ เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและได้ประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทำให้บริษัท น.เป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย และเมื่อเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีของบริษัท น.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 เพื่อให้ผู้ชำระบัญชีเข้ามาจัดการงานของบริษัทเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สิน ชำระหนี้คืนทุนแบ่งกำไรหรือขาดทุน และทำการอย่างอื่น ๆ ตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี การที่ผู้ร้องในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท น.ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี จึงมิใช่เป็นการข้ามขั้นตอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1246 (6) เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้สั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนบริษัท ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี
บริษัท น. ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯ ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษา บริษัท น. จึงเป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย อันเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลายซึ่งต้องมีการชำระบัญชีของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 ผู้ร้องในฐานะกรรมการของบริษัท น. จึงมีอำนาจขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขคำพิพากษา ศาลแก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย หากพิพากษาไม่ตรงตามคำฟ้องจำนวนมาก ถือมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินเพียง 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำขอท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆเมื่อกรณีไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาหากพิพากษาไม่ตรงตามคำฟ้อง แม้จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดเล็กน้อย
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143ศาลย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขคำพิพากษา: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ต่ำกว่าคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ แม้ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินเพียง 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำขอท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ เมื่อกรณีไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9003/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และกระทำชำเรา: การแยกพิจารณาความผิด
เด็กหญิง ว.ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุ 14 ปีเศษ ออกจากบ้านของบิดามารดาตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2538 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538 โดยจำเลยได้พรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ทำให้ปราศจากเสรีภาพ และกระทำชำเราโดยผู้เสียหายมิได้สมัครใจไปกับจำเลย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านญาติจำเลยที่ตำบลทับปริก อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นจำเลยได้ปิดประตูขังผู้เสียหายไว้ในห้อง รุ่งขึ้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปบ้านญาติจำเลยที่บ้านควนพล ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วนำผู้เสียหายเข้าไปขังไว้ในห้องตลอดมา ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม2538 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538 แม้การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ที่บ้านญาติของจำเลยหลายแห่งเป็นเวลานานนับ 10 วัน จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากความประสงค์เดียวกับการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยปิดประตูขังไว้ในห้องตลอดมา ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานกระทำชำเราซึ่งเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว หาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 227วรรคหนึ่ง, 310 วรรคหนึ่ง และ 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9003/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร, กระทำชำเรา, และหน่วงเหนี่ยวกักขัง: ความผิดแยกกระทง
เด็กหญิง ว. ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุ 14 ปีเศษ ออกจากบ้านของบิดามารดาตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2538 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538โดยจำเลยได้พรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ทำให้ปราศจากเสรีภาพและกระทำชำเราโดยผู้เสียหายมิได้สมัครใจไปกับจำเลย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านญาติจำเลยที่ตำบลทับปริกอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ แล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย หลังจากนั้นจำเลยได้ปิดประตูขังผู้เสียหายไว้ในห้อง รุ่งขึ้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปบ้านญาติจำเลยที่บ้านควนพล ตำบลไทรทองอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วนำผู้เสียหายเข้าไปขังไว้ในห้องตลอดมา ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2538 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538แม้การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ที่บ้านญาติของจำเลยหลายแห่งเป็นเวลานานนับ 10 วัน จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากความประสงค์เดียวกับการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยปิดประตูขังไว้ในห้องตลอดมา ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานกระทำชำเราซึ่งเสร็จเด็ดขาดไปแล้วหาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่ง และ 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8948/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ให้เช่าที่ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน และการพิจารณาว่าสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษหรือไม่
การให้เช่านั้นผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยยินยอมทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่าตามสัญญา เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยทำผิดสัญญาเช่า โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยผู้เช่าได้ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์
สัญญาเช่าอาคารพิพาทนี้มีกำหนดระยะเวลาการเช่าแน่นอนโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาก่อนกำหนดล่วงหน้า2 เดือน
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืม โจทก์ไม่ได้คิดดอกเบี้ยและเป็นการนำเงินไปบำรุงรักษาเครื่องเรือนเครื่องใช้ของอาคารพิพาทให้มีสภาพดีอยู่เสมอเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ลงทุนในการซ่อมแซมใหญ่อาคารพิพาทและให้ผลประโยชน์แก่โจทก์เป็นอย่างมากอันอาจถือได้ว่าเป็นการตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาโดยเฉพาะการทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยแต่ละครั้ง หนังสือสัญญาเช่าที่ดินและอาคารพิพาทก็ไม่มีข้อความตอนใดระบุเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่จะให้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปหรือให้ถือการปฏิบัติอย่างไรของผู้เช่าผูกพันผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้รับการต่ออายุสัญญาเช่าเป็นการตอบแทน จึงฟังไม่ได้ว่ามีการตกลงเป็นการตอบแทนให้จำเลยเช่าเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
of 56