พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8948/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ให้เช่าที่ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน และลักษณะสัญญาเช่าที่ไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ
การให้เช่านั้นผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ เมื่อจำเลยยินยอมทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่าตามสัญญาเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยทำผิดสัญญาเช่า โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยผู้เช่าได้ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
สัญญาเช่าอาคารพิพาทนี้มีกำหนดระยะเวลาการเช่าแน่นอน โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาก่อนกำหนดล่วงหน้า 2 เดือน
เงินกู้ที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมนั้นโจทก์ไม่ได้คิดดอกเบี้ยและเป็นการนำเงินไปบำรุงรักษาเครื่องเรือนเครื่องใช้ของอาคารพิพาทให้มีสภาพดีอยู่เสมอก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ลงทุนในการซ่อมแซมใหญ่อาคารพิพาทและให้ผลประโยชน์แก่โจทก์เป็นอย่างมากอันอาจถือได้ว่าเป็นการตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
สัญญาเช่าอาคารพิพาทนี้มีกำหนดระยะเวลาการเช่าแน่นอน โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาก่อนกำหนดล่วงหน้า 2 เดือน
เงินกู้ที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมนั้นโจทก์ไม่ได้คิดดอกเบี้ยและเป็นการนำเงินไปบำรุงรักษาเครื่องเรือนเครื่องใช้ของอาคารพิพาทให้มีสภาพดีอยู่เสมอก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ลงทุนในการซ่อมแซมใหญ่อาคารพิพาทและให้ผลประโยชน์แก่โจทก์เป็นอย่างมากอันอาจถือได้ว่าเป็นการตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7972/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ใบจองมิใช่กรรมสิทธิ์ ผู้ยึดถือครอบครองมีสิทธิ
ข้อความในใบจองที่ดินระบุไว้ว่า ใบจองฉบับนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่ารัฐได้ยอมให้ น. (โจทก์) เข้าครอบครองที่ดินพิพาทชั่วคราว และตามมาตรา 1 แห่ง ป. ที่ดิน ใบจอง หมายความว่า หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว ใบจองจึงมิใช่เอกสารสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับที่ดิน เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แม้ใบจองจะมีชื่อโจทก์ แต่หากโจทก์มิได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิครองครอง ปัญหาว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยฝ่ายใดมีสิทธิครอบครองต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้ แปรรูปไม้ และครอบครองไม้ผิดกฎหมาย เป็นความผิดต่างกรรมกัน
การทำไม้ การแปรรูปไม้ และมีไม้อันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองต่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง และการกระทำตามที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นความผิดต่างกรรม จึงต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ.มาตรา 91
การแปรรูปไม้ที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48 ไม่ว่าจะแปรรูปไม้จำนวนเท่าใดก็มีความผิด ไม่ใช่ต้องแปรรูปไม้เกินกว่า0.20 ลูกบาศก์เมตร จึงจะมีความผิด
การแปรรูปไม้ที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48 ไม่ว่าจะแปรรูปไม้จำนวนเท่าใดก็มีความผิด ไม่ใช่ต้องแปรรูปไม้เกินกว่า0.20 ลูกบาศก์เมตร จึงจะมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้ แปรรูปไม้ และครอบครองไม้ผิดกฎหมาย ถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน และไม่จำกัดปริมาณไม้
การทำไม้การแปรรูปไม้ และมีไม้อันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองต่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง และการกระทำตามที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมจึงต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
การแปรรูปไม้ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ไม่ว่าจะแปรรูปไม้จำนวนเท่าใดก็มีความผิด ไม่ใช่ต้องแปรรูปไม้เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร จึงจะมีความผิด
การแปรรูปไม้ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ไม่ว่าจะแปรรูปไม้จำนวนเท่าใดก็มีความผิด ไม่ใช่ต้องแปรรูปไม้เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร จึงจะมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำวินิจฉัย คชก. และสิทธิในการฟ้องเรียกซื้อที่ดิน – จำเป็นต้องฟ้องเพิกถอนก่อน
คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด จะต้องฟ้อง คชก.จังหวัด เพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดเสียก่อนตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57วรรคหนึ่ง เพราะตราบใดที่คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอนต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย หากไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในกำหนดเวลา คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 57 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 56
โจทก์เป็นผู้เช่านาพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งขายนาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อนาพิพาท โจทก์จึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรี เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนนทบุรี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรี และมิได้มีการเรียกคชก.จังหวัดนนทบุรีเข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองโดยลำพังให้ขายนาพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนนทบุรีได้
แม้ คชก.จังหวัดนนทบุรีจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลก็ตาม โจทก์ก็ย่อมฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการได้
การยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีของโจทก์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่นั้น สมควรที่จะไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
โจทก์เป็นผู้เช่านาพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งขายนาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อนาพิพาท โจทก์จึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรี เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนนทบุรี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรี และมิได้มีการเรียกคชก.จังหวัดนนทบุรีเข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองโดยลำพังให้ขายนาพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนนทบุรีได้
แม้ คชก.จังหวัดนนทบุรีจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลก็ตาม โจทก์ก็ย่อมฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการได้
การยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีของโจทก์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่นั้น สมควรที่จะไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยโดยไม่ฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก่อน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดจะต้องฟ้อง คชก. จังหวัด เพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดเสียก่อนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่งเพราะตราบใดที่คำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอนต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายหากไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในกำหนดเวลา คำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัด ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 57 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 56 โจทก์เป็นผู้เช่านาพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งขายนาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2 ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดนนทบุรีที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อนาพิพาท โจทก์คชก.จังหวัดนนทบุรี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก. จึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ จังหวัดนนทบุรี และมิได้มีการเรียก คชก.จังหวัดนนทบุรีเข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองโดยลำพังให้ขายนาพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้แม้ คชก. จังหวัดนนทบุรีจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลก็ตาม โจทก์ก็ย่อมฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการได้ การยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีของโจทก์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่นั้น สมควรที่จะไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7704/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแบบปรับราคาได้: การคำนวณราคาค่างานเพิ่มจากสัญญาสัญญาใหม่ที่แก้ไขราคาเดิม
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เดิมระบุค่าก่อสร้าง 18,540,000 บาท และมีสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเดิมอีกสัญญาหนึ่ง โดยทำเป็นข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาดังกล่าวให้มีการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้มาใช้ ต่อมาโจทก์และจำเลยได้มีการทำสัญญาขึ้นอีกฉบับหนึ่งเป็นฉบับที่สามตกลงราคาค่าก่อสร้างเป็น 26,011,005 บาท จึงเป็นสัญญาแก้ไขสัญญาเดิมในเรื่องราคาค่าก่อสร้างเป็นสำคัญ และได้ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวด้วยว่างานตาม สัญญานี้เป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ การคิดคำนวณการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้จึงต้องคิดจากยอดเงินตาม สัญญาฉบับที่สามโดยใช้ดัชนีค่าวัสดุก่อสร้าง ณ วันที่ได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย เปรียบเทียบกับวันที่ได้ เสนอราคาใหม่ เมื่อสัญญาฉบับที่สามเป็นการแก้ไขสัญญาเดิมโดยยกเลิกราคาก่อสร้างจากสัญญาเดิมมาเป็นราคาตามสัญญาใหม่ ซึ่งเป็นราคาที่มากกว่าเดิมถึง 7,000,000 เศษ ราคาใหม่เป็นราคาคิดตามดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ณ เดือนที่ได้เสนอราคาใหม่บวกกำไรไว้ด้วยแล้ว ฉะนั้นเมื่อมีการส่งมอบงานและจะขอให้มีการจ่ายค่างานเพิ่มจึงย่อมหมายถึงจำนวน 26,011,005 บาท ตามสัญญาใหม่ หาใช่จำนวน 18,540,000 บาท ตามสัญญาเดิม ซึ่งคู่สัญญาตกลงยกเลิกไปแล้วไม่ ดังนั้น การคำนวณการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้โดยเปรียบเทียบกับดัชนีค่าวัสดุก่อสร้าง ณ เดือนที่โจทก์ได้เสนอราคาใหม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7605/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ทายาทรับมรดกสิทธิครอบครองเดิม ไม่อาจฟ้องรื้อร้องประเด็นที่เคยถูกตัดสินถึงที่สุดแล้ว
ในคดีก่อน ช. ฝ่ายหนึ่ง และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 กับพวกอีกฝ่ายหนึ่งพิพาทกันในสิทธิครอบครองที่ดินซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ที่ดินพิพาทเฉพาะพื้นที่นอกแนวเขตของพื้นที่ที่ ช. ครอบครองปลูกบ้านเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินเฉพาะส่วนโดย ช. ยกให้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทในคดีก่อน เพียงแต่อ้างจำนวนเนื้อที่มากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นประเด็นเดียวกันกับ ที่ศาลวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมของ ช. และได้เป็นผู้เข้ารับมรดกความแทน จึงเป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ช. ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิรื้อร้องฟ้องเป็นคดีนี้อีก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7605/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สิทธิครอบครอง: ทายาทสืบสิทธิจากคดีเดิมห้ามฟ้องอีก, ผู้ครอบครองเดิมมีสิทธิเหนือผู้รับมรดก
ช. ฝ่ายหนึ่ง และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 กับพวกอีกฝ่ายหนึ่งพิพาทกันในสิทธิครอบครองที่ดิน ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าที่ดินพิพาทเฉพาะพื้นที่นอกแนวเขตของพื้นที่ที่ ช. ครอบครองปลูกบ้านเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินเฉพาะส่วนโดย ช. ยกให้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทในคดีก่อน เพียงแต่อ้างจำนวนเนื้อที่มากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมของ ช. และได้เป็นผู้เข้ารับมรดกความแทน จึงเป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ช. ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิรื้อร้องฟ้องเป็นคดีนี้อีกต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากโรงงานน้ำตาล: ความชอบด้วยกฎหมาย, การผิดนัดชำระหนี้, และดอกเบี้ย
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและวรรคสองกำหนดว่า การกำหนดเบี้ยปรับดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและวรรคสี่ระบุให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับฯ สำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวได้ออกโดยชอบ ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายและไม่ซ้ำซ้อน
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับกำหนดให้คิดเบี้ยปรับกระสอบละ 2,000 บาทแต่ไม่น้อยกว่าครั้งละ 200,000 บาท ไม่ใช่ค่าปรับซึ่งเป็นโทษทางอาญาเพราะเบี้ยปรับเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน จึงเป็นคนละอย่างกับโทษปรับตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท
เบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเบี้ยปรับอันเกิดจากการที่คู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่า ลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ถึงมาตรา 381 มิใช่กรณีของจำเลยซึ่งจะต้องรับผิดเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดโดยกฎหมาย
เบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระ ถือได้ว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์มีอำนาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับกำหนดให้คิดเบี้ยปรับกระสอบละ 2,000 บาทแต่ไม่น้อยกว่าครั้งละ 200,000 บาท ไม่ใช่ค่าปรับซึ่งเป็นโทษทางอาญาเพราะเบี้ยปรับเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน จึงเป็นคนละอย่างกับโทษปรับตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท
เบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเบี้ยปรับอันเกิดจากการที่คู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่า ลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ถึงมาตรา 381 มิใช่กรณีของจำเลยซึ่งจะต้องรับผิดเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดโดยกฎหมาย
เบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระ ถือได้ว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์มีอำนาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22