พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การติดตั้งสิ่งปลูกสร้างและจอดรถไม่ทำให้ประโยชน์ใช้สอยทางภาระจำยอมลดลงหรือเสื่อมความสะดวก
++ เรื่อง ภาระจำยอม
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 60 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 60 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่ลดหรือเสื่อมความสะดวก แม้มีการติดตั้งสิ่งปลูกสร้างและจอดรถบนทางเดิน
จำเลยจดทะเบียนยอมให้ที่ดินของจำเลยบางส่วน อยู่ในบังคับทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยให้ใช้เป็น ทางเข้าออก ต่อมาจำเลยติดตั้งป้ายโฆษณาใกล้บริเวณทางเข้าออกและปลูกต้นอโศก อินเดียตามแนวยาวของทางภารจำยอม ประมาณ 13 เมตร แต่ต้นอโศก อินเดียเป็นต้นไม้ที่ขึ้นสูงในแนวตรง มีกิ่งและใบลู่ ลงตามลำต้น แม้จะมีบางส่วนล้ำเข้ามาในทางภารจำยอม บ้างก็ไม่เป็นที่กีดขวางทางเข้าออกแต่อย่างใด ส่วนป้ายโฆษณาที่ จำเลยได้ติดตั้งขนานไปกับทางภารจำยอมนั้นก็อยู่ในแนว ใกล้เคียงกับป้ายโฆษณาของโจทก์ แต่อยู่ในระดับที่สูงกว่า ไม่กีดขวางรถยนต์ที่แล่นเข้าหรือออกจากทางภารจำยอม การติดตั้งป้ายโฆษณาและปลูกต้นอโศก อินเดียจึงไม่ทำให้ประโยชน์ในการใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ลดลงหรือเสื่อมความสะดวกไป แม้รถยนต์ที่จอดอยู่ใต้ชายคาอาคารของจำเลยซึ่งอาจล้ำเข้ามา บนทางภารจำยอมบ้าง แต่รถยนต์ก็ยังสามารถแล่นเข้าออก สวนทางกันได้ และจำเลยยังจัดให้มียามรักษาการณ์เพื่อดูแล การจอดรถยนต์บนทางภารจำยอมมิให้กีดขวางหรือเป็นอุปสรรค ในการเข้าออกของรถยนต์ ซึ่งโจทก์ยังสามารถขับรถยนต์แล่น เข้าออกบนทางภารจำยอมได้ตามปกติ การกระทำของจำเลย จึงยังไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดหรือเสื่อมความสะดวก แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งพยานหลักฐานข้ามเขตอำนาจศาล และข้อจำกัดระยะเวลาในการคัดค้าน
บัญชีระบุพยานโจทก์ได้ระบุอ้าง พ.เป็นพยานประเด็นไว้แล้วในการขออนุญาตส่งประเด็นไปสืบ พ.ที่ศาลแพ่ง ทนายโจทก์แถลงว่า หากพยานย้ายไปอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่น ขอให้ศาลแพ่งช่วยส่งประเด็นต่อไปสืบให้ด้วย ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นตั้งให้ศาลแพ่งสืบพยานหลักฐานแทนนั้น ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจที่จะตั้งศาลชั้นต้นอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปได้ด้วย หากปรากฏว่าพ.ได้ย้ายไปประจำที่โรงพยาบาลในศาลชั้นต้นนั้นแล้ว ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 102วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานให้เป็นที่ยุ่งยากเสียเวลาอีก
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อปรากฎว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้วศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อปรากฎว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้วศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการส่งประเด็นไปสืบต่างศาล และข้อจำกัดระยะเวลาคัดค้านการพิจารณาคดี
บัญชีระบุพยานโจทก์ได้ระบุอ้างพ. เป็นพยานประเด็นไว้แล้วในการขออนุญาตส่งประเด็นไปสืบพ.ที่ศาลแพ่งทนายโจทก์แถลงว่า หากพยานย้ายไปอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่นขอให้ศาลแพ่งช่วยส่งประเด็นต่อไปสืบให้ด้วย ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นตั้งให้ศาลแพ่งสืบพยานหลักฐานแทนนั้น ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจที่จะตั้งศาลชั้นต้นอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปได้ด้วย หากปรากฏว่าพ.ได้ย้ายไปประจำที่โรงพยาบาลในศาลชั้นต้นนั้นแล้ว ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 102 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานให้เป็นที่ยุ่งยากเสียเวลาอีก ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความต้องยกขึ้นกล่าว ไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์ อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน เมื่อล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยซ่อมรถแล้วฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ต้องใช้อายุความ 1 ปี
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 56,152 เจ้าของรถยนต์ที่จำเลยขับชนได้รับ ความเสียหายย่อมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56,152 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนเจ้าของรถยนต์ ดังนี้ การที่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จากพ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้พ.ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของพ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของพ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องตามเจ้าของรถจริงหรือไม่
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ พ.เจ้าของรถยนต์ไม่ใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย และข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย พ. เจ้าของรถยนต์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาและถือไม่ได้ว่า พนักงานอัยการฟ้องคดีแทน พ.แม้พ. จะเป็นโจทก์ ฟ้องคดีเองก็ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองต้องใช้อายุความ 1 ปี เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.ได้ซ่อมรถยนต์ให้พ. ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่ พ. มีอยู่ในมูลหนี้ต่อ จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิ ของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปีเช่นกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด และการกระทำละเมิดนั้นเป็นความผิดอาญาด้วยดังนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดจากการกระทำโดยประมาท: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา และอายุความ 1 ปี
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 152 เจ้าของรถยนต์ที่จำเลยขับชนได้รับความเสียหายย่อมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 56, 152 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนเจ้าของรถยนต์ดังนี้ การที่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้ พ.ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้ พ.ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 334 ไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (10) วรรคสาม จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริงคำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2541)
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริงคำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2541)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(10) วรรคสามปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักสัญญาณโทรศัพท์เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ การพิจารณาโทษและการรอการลงโทษ
คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่าโทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลย ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า จำเลยเป็นนักศึกษา อายุยังน้อย ประกอบกับได้ บรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วและเพิ่ง กระทำความผิดครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเห็นควรให้รอการลงโทษ จำเลยไว้ แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นสมควรลงโทษปรับด้วย