พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานของรัฐเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญา ใช้อาวุธปืนยิง: ยกประโยชน์แห่งความสงสัยเมื่อพยานหลักฐานไม่ชัดเจน
++ เรื่อง ความผิดต่อชีวิต พยายาม ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ++
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายหลายคนร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสัมผัสทองมี ผู้ตาย และนายเฉี้ยง อ่อนนวล ผู้เสียหายหลายนัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
++
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือไม่
++ โจทก์ระบุพยานซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ 2 ปาก คือนายสุภาพ สุวรรณโชติ และผู้เสียหาย สำหรับนายสุภาพมาศาลตามหมายเรียกแล้ว แต่โจทก์ไม่นำเข้าเบิกความ คงอ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของนายสุภาพตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งให้การไว้ว่า คืนเกิดเหตุนายสุภาพซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับไปสูบกัญชากันที่แหลมทวด เมื่อผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับมาถึงที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะสีเข้มจอดปิดไฟหันหน้ารถไปทางตลาดดอนสัก มีคนร้าย 3 ถึง 4 คน เข้ามาขวางและผลักรถจักรยานยนต์ล้มลง มีเสียงปืนดัง 3 นัด นายสุภาพเข้าใจว่าจะถูกยิงจึงวิ่งลัดเลาะเข้าป่าข้างทางถึงถนนสายดอนสัก - ขนอม ปรากฏว่ามีโลหิตไหลที่ศีรษะจึงโดยสารรถยนต์ไปโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ แพทย์แจ้งว่าบาดแผลเกิดจากถูกฟันด้วยของมีคม นายสุภาพรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2 วัน จึงกลับบ้าน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่านายสุภาพเดินทางไปกับผู้ตายจึงสอบปากคำไว้ แต่นายสุภาพอ้างว่าขณะเกิดเหตุกำลังมึนเมาไม่ทันได้สังเกตว่า คนร้ายเป็นใคร ส่วนผู้เสียหายเบิกความว่า คืนเกิดเหตุขับรถจักรยานยนต์จะไปลอยอวนจับปลาที่แหลมทวด ก่อนถึงที่เกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงไป โดยมีชายนั่งซ้อนท้าย 1 คน แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 3 ถึง 4 นัด เห็นจำเลย นายหมีไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุล นายปองไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุลกับพวกอีก 2 คน ยืนอยู่ข้างรถยนต์กระบะซึ่งจอดอยู่ริมถนน ผู้ตายถูกยิงฟุบไปที่พื้นพร้อมรถจักรยานยนต์ จำเลยสั่งให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายจึงจอดรถแล้วลงไปยืน ผู้เสียหายบอกว่าไม่รู้เรื่อง จะไปลอยอวน จำเลยพูดว่าฆ่าให้ตาย แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 1 เมตร นัดแรกถูกด้านหลังทะลุหน้าท้อง นัดที่สองถูกที่คอทะลุปาก ผู้เสียหายล้มหมดสติแล้วมารู้สึกตัวที่โรงพยาบาล ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับมุ่งหน้าไปทางแหลมทวดนั้น ขัดแย้งกับคำให้การของนายสุภาพที่ว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับจากสูบกัญชาที่แหลมทวด หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทำแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.13 ก็พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับไปล้มอยู่ใกล้ศพผู้ตายเพียงคันเดียว ไม่ปรากฏว่าได้พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับและล้มไปพร้อมกับที่ผู้ตายถูกยิงดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายเบิกความและให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.5 ว่า ไม่เคยรู้จักผู้ตายมาก่อน แต่รายงานการสืบสวนของร้อยตำรวตรีสุนิตย์ ไชยหาญ รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนสักเอกสารหมาย จ.15 ระบุว่าจากการสืบสวนหาข่าวทราบว่าเหตุที่ผู้ตายเดินทางผ่านไปที่เกิดเหตุเพราะผู้เสียหายชวนผู้ตายและนายสุภาพไปนอนที่บ้านซึ่งต้องผ่านที่เกิดเหตุ ส่วนเหตุการณ์ขณะคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงในที่เกิดเหตุซึ่งผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่บอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายได้พูดตอบโต้กับจำเลยผู้เสียหายเห็นจำเลยในระยะห่างประมาณ 1 เมตร และเห็นเหตุการณ์ชัดแจ้งถึงขนาดระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร นั้น ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การไว้เพียงว่า เมื่อขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุเห็นว่ามีการชุลมุนกัน จึงจอดรถจักรยานยนต์ริมถนน มีเสียงตะโกนถามว่าจะไปไหนผู้เสียหายบอกว่าจะไปลอยอวน เมื่อสิ้นเสียงก็มีเสียงปืนดังขึ้นในที่ชุลมุนกัน2 นัด มีเสียงพูดว่าต้องเก็บมันด้วย แล้วมีเสียงปืนดังติดกันหลายนัดจนผู้เสียหายถูกกระสุนปืนหมดสติไป ผู้เสียหายมิได้ให้การถึงพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยตลอดจนอาวุธปืนที่จำเลยใช้เหมือนที่เบิกความต่อศาล เห็นว่า คดีนี้โจทก์มีแต่ผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานปากเดียว การที่ผู้เสียหายเบิกความแตกต่างจากคำให้การชั้นสอบสวนและเบิกความขัดแย้งกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ ทำให้น่าสงสัยว่าผู้เสียหายจำคนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายได้แน่นอนว่าเป็นจำเลยหรือไม่ ส่วนที่โจทก์อ้างรายงานการสืบสวนของร้อยตำรวจตรีสุนิตย์เอกสารหมาย จ.15 ระบุว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดคดีนี้ โจทก์ก็มิได้นำร้อยตำรวจตรีสุนิตย์มาเบิกความทำให้จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างแก่ศาลว่าร้อยตำรวจตรีสุนิตย์สืบสวนได้ข้อเท็จจริงมาอย่างไร ทั้งรายงานการสืบสวนดังกล่าวระบุว่าคนร้ายมี 8 คน แตกต่างกับที่ผู้เสียหายเบิกความว่าคนร้ายมี 5 คน อีกด้วย พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบทั้งหมดเมื่อประมวลแล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยอาจจะไม่ใช่คนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายในเวลาเกิดเหตุจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเวลาเกิดเหตุ และไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรในเวลาเกิดเหตุด้วย
++ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังขึ้น
++ สำหรับปลอกกระสุนปืนของกลางซึ่งตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิด จึงเห็นสมควรให้ริบปลอกกระสุนปืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่คงให้ริบของกลาง.
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายหลายคนร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสัมผัสทองมี ผู้ตาย และนายเฉี้ยง อ่อนนวล ผู้เสียหายหลายนัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
++
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือไม่
++ โจทก์ระบุพยานซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ 2 ปาก คือนายสุภาพ สุวรรณโชติ และผู้เสียหาย สำหรับนายสุภาพมาศาลตามหมายเรียกแล้ว แต่โจทก์ไม่นำเข้าเบิกความ คงอ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของนายสุภาพตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งให้การไว้ว่า คืนเกิดเหตุนายสุภาพซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับไปสูบกัญชากันที่แหลมทวด เมื่อผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับมาถึงที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะสีเข้มจอดปิดไฟหันหน้ารถไปทางตลาดดอนสัก มีคนร้าย 3 ถึง 4 คน เข้ามาขวางและผลักรถจักรยานยนต์ล้มลง มีเสียงปืนดัง 3 นัด นายสุภาพเข้าใจว่าจะถูกยิงจึงวิ่งลัดเลาะเข้าป่าข้างทางถึงถนนสายดอนสัก - ขนอม ปรากฏว่ามีโลหิตไหลที่ศีรษะจึงโดยสารรถยนต์ไปโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ แพทย์แจ้งว่าบาดแผลเกิดจากถูกฟันด้วยของมีคม นายสุภาพรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2 วัน จึงกลับบ้าน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่านายสุภาพเดินทางไปกับผู้ตายจึงสอบปากคำไว้ แต่นายสุภาพอ้างว่าขณะเกิดเหตุกำลังมึนเมาไม่ทันได้สังเกตว่า คนร้ายเป็นใคร ส่วนผู้เสียหายเบิกความว่า คืนเกิดเหตุขับรถจักรยานยนต์จะไปลอยอวนจับปลาที่แหลมทวด ก่อนถึงที่เกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงไป โดยมีชายนั่งซ้อนท้าย 1 คน แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 3 ถึง 4 นัด เห็นจำเลย นายหมีไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุล นายปองไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุลกับพวกอีก 2 คน ยืนอยู่ข้างรถยนต์กระบะซึ่งจอดอยู่ริมถนน ผู้ตายถูกยิงฟุบไปที่พื้นพร้อมรถจักรยานยนต์ จำเลยสั่งให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายจึงจอดรถแล้วลงไปยืน ผู้เสียหายบอกว่าไม่รู้เรื่อง จะไปลอยอวน จำเลยพูดว่าฆ่าให้ตาย แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 1 เมตร นัดแรกถูกด้านหลังทะลุหน้าท้อง นัดที่สองถูกที่คอทะลุปาก ผู้เสียหายล้มหมดสติแล้วมารู้สึกตัวที่โรงพยาบาล ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับมุ่งหน้าไปทางแหลมทวดนั้น ขัดแย้งกับคำให้การของนายสุภาพที่ว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับจากสูบกัญชาที่แหลมทวด หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทำแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.13 ก็พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับไปล้มอยู่ใกล้ศพผู้ตายเพียงคันเดียว ไม่ปรากฏว่าได้พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับและล้มไปพร้อมกับที่ผู้ตายถูกยิงดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายเบิกความและให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.5 ว่า ไม่เคยรู้จักผู้ตายมาก่อน แต่รายงานการสืบสวนของร้อยตำรวตรีสุนิตย์ ไชยหาญ รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนสักเอกสารหมาย จ.15 ระบุว่าจากการสืบสวนหาข่าวทราบว่าเหตุที่ผู้ตายเดินทางผ่านไปที่เกิดเหตุเพราะผู้เสียหายชวนผู้ตายและนายสุภาพไปนอนที่บ้านซึ่งต้องผ่านที่เกิดเหตุ ส่วนเหตุการณ์ขณะคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงในที่เกิดเหตุซึ่งผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่บอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายได้พูดตอบโต้กับจำเลยผู้เสียหายเห็นจำเลยในระยะห่างประมาณ 1 เมตร และเห็นเหตุการณ์ชัดแจ้งถึงขนาดระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร นั้น ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การไว้เพียงว่า เมื่อขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุเห็นว่ามีการชุลมุนกัน จึงจอดรถจักรยานยนต์ริมถนน มีเสียงตะโกนถามว่าจะไปไหนผู้เสียหายบอกว่าจะไปลอยอวน เมื่อสิ้นเสียงก็มีเสียงปืนดังขึ้นในที่ชุลมุนกัน2 นัด มีเสียงพูดว่าต้องเก็บมันด้วย แล้วมีเสียงปืนดังติดกันหลายนัดจนผู้เสียหายถูกกระสุนปืนหมดสติไป ผู้เสียหายมิได้ให้การถึงพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยตลอดจนอาวุธปืนที่จำเลยใช้เหมือนที่เบิกความต่อศาล เห็นว่า คดีนี้โจทก์มีแต่ผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานปากเดียว การที่ผู้เสียหายเบิกความแตกต่างจากคำให้การชั้นสอบสวนและเบิกความขัดแย้งกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ ทำให้น่าสงสัยว่าผู้เสียหายจำคนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายได้แน่นอนว่าเป็นจำเลยหรือไม่ ส่วนที่โจทก์อ้างรายงานการสืบสวนของร้อยตำรวจตรีสุนิตย์เอกสารหมาย จ.15 ระบุว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดคดีนี้ โจทก์ก็มิได้นำร้อยตำรวจตรีสุนิตย์มาเบิกความทำให้จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างแก่ศาลว่าร้อยตำรวจตรีสุนิตย์สืบสวนได้ข้อเท็จจริงมาอย่างไร ทั้งรายงานการสืบสวนดังกล่าวระบุว่าคนร้ายมี 8 คน แตกต่างกับที่ผู้เสียหายเบิกความว่าคนร้ายมี 5 คน อีกด้วย พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบทั้งหมดเมื่อประมวลแล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยอาจจะไม่ใช่คนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายในเวลาเกิดเหตุจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเวลาเกิดเหตุ และไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรในเวลาเกิดเหตุด้วย
++ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังขึ้น
++ สำหรับปลอกกระสุนปืนของกลางซึ่งตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิด จึงเห็นสมควรให้ริบปลอกกระสุนปืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่คงให้ริบของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อคำนวณค่าทดแทนที่ดิน: นับแต่วันเริ่มต้น
ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ นั้น บัญญัติให้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้มีกำหนด 4 ปี หากแปลวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเป็นวันใดวันหนึ่งตลอดเวลาที่พระราชกฤษฎีกานั้นมีผลใช้บังคับอยู่ก็จะทำให้วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นไม่อาจถือเอาเป็นที่แน่นอนได้ ดังนั้น ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 21 (1) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงหมายถึงวันเริ่มใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หลังพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และการเลือกนายกฯ
บทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯกำหนดให้สภาจังหวัดเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมิได้บัญญัติให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาขึ้นใหม่ คงให้เลือกเฉพาะนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่านั้นแม้จะมีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ กำหนดให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาขึ้นใหม่ก็ตามแต่เป็นกรณีมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1เรียกประชุมสภาเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานสภาจังหวัดมิได้ทำหน้าที่ดำเนินการประชุมทั้งที่อยู่ในที่ประชุมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยังผลให้ผู้ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในการประชุมครั้งนั้นมิชอบไปด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงยังคงดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ และสามารถเรียกประชุมให้มีการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายได้ การประชุมในครั้งหลังจึงชอบด้วยกฎหมายและหาเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5415/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการขอความช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรับผู้ยากไร้ และผลของการใช้สิทธิอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต่อเนื่องมาจากกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ระบุเหตุผลในการสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่า เมื่อมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา และจำเลยได้ใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นแล้วจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่อีกซึ่งจำเลยเข้าใจถึงเหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นแล้วคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลชั้นต้น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาหากผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ป.วิ.พ.ได้บัญญัติทางแก้เป็นขั้นตอนที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปคือ ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย และจำเลยได้เลือกทางแก้โดยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาหากผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ป.วิ.พ.ได้บัญญัติทางแก้เป็นขั้นตอนที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปคือ ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย และจำเลยได้เลือกทางแก้โดยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5415/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการขอความช่วยเหลือทางศาล (คนอนาถา): สิทธิและการเลือกใช้ทางแก้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต่อเนื่องมาจากกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ระบุเหตุผลในการสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่า เมื่อมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา และจำเลยได้ใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นแล้วจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่อีกซึ่งจำเลยเข้าใจถึงเหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นแล้ว คำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลชั้นต้น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา หากผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติทางแก้เป็นขั้นตอนที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปคือ ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย และจำเลยได้เลือกทางแก้โดยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา หากผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติทางแก้เป็นขั้นตอนที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปคือ ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย และจำเลยได้เลือกทางแก้โดยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตามบัตรรางวัล แม้สลากหาย ผู้มีสิทธิยังคงได้รับรางวัลตามคำมั่น
จำเลยได้ออกสลากรางวัล โดยมีข้อความแสดงคำมั่นจะให้รางวัลแก่ผู้ถูกรางวัล จำเลยจึงต้องผูกพันตาม คำมั่นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 362 เมื่อโจทก์เป็นผู้ถูกรางวัล ถึงแม้โจทก์จะได้ทำสลากดังกล่าวหายไป โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้มีสิทธิได้รับรางวัลตามคำมั่นของจำเลย ส่วนการที่สลากรางวัลดังกล่าว มีข้อความว่า ผู้ถือสลากเท่านั้น จึงจะมีสิทธิรับรางวัลได้ ก็เป็นเพียงเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพื่อให้จำเลยมีหลักฐานในการจ่ายรางวัลให้แก่ผู้ถูกรางวัลเท่านั้น เงื่อนไขดังกล่าวจะนำมาจำกัดตัดสิทธิโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับรางวัลตามกฎหมายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับรางวัลจากจำเลยตามคำมั่นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดี พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบของกลาง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 89จึงต้องริบวัตถุออกฤทธิ์ของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายหรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ศาลลดโทษจำคุกและริบของกลางตามกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบของกลาง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 89 จึงต้องริบวัตถุออกฤทธิ์ของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายหรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลา: ศาลไม่อนุญาตหากทราบข้อเท็จจริงก่อนฟ้อง แม้อ้างเพิ่งทราบผลอุทธรณ์
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดิน) (ชั้นขอแก้ไขคำฟ้อง) ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++