คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กนก พรรณรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทหลักทรัพย์จากข่าวเท็จ
โจทก์เป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. ตลอดจนเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารในตำแหน่งประธานกรรมการ และมีหุ้นถืออยู่ร้อยละ 80.93 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ถือได้ว่าโจทก์มีความเกี่ยวพันกับบริษัทดังกล่าวเป็นพิเศษ ความเชื่อถือของประชาชนต่อธุรกิจของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จึงอาศัยชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์เป็นสำคัญ ฉะนั้น เมื่อมีผู้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงที่เป็นผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกิจการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. แล้ว โจทก์ก็ย่อมได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณทางทำมาหาได้ของโจทก์ด้วย แม้ว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ก็ตาม ดังนั้น การที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจากการแถลงข่าวอันเป็นเท็จของจำเลยทั้งสอง เป็นผลให้ประชาชนผู้ฝากเงินเกรงว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จะไม่มีเงินให้ถอนคืนเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงินจึงมารุมถอนเงินมากผิดปกติ อีกทั้งจำเลยได้สั่งให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. หยุดกิจการ และให้โจทก์พ้นจากหน้าที่ การกระทำของจำเลยที่มีผลถึงโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เครื่องชั่งผิดอัตราและลดเครื่องชั่งที่ได้รับการรับรอง
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ทุกประการของ พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 กับฐานมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่งที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้าตาม ป.อ. มาตรา 270 ฐานใช้เครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ทุกประการของ พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 ในกิจการ ต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 กับฐานใช้เครื่องชั่ง ที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้าตาม ป.อ. มาตรา 270 เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ความผิดฐานมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่งที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้าและฐานใช้เครื่องชั่งที่ผิดอัตราเพื่อ เอาเปรียบในการค้า ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานใช้เครื่องชั่งที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้าตาม ป.อ. มาตรา 90 กระทงหนึ่ง และมีความผิดฐานลดเครื่องชั่งซึ่งเจ้าพนักงานตรวจสอบให้คำรับรองแล้วตาม พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสอง ปรับบทลงโทษจำเลยไม่ครบถ้วน และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้เครื่องชั่ง ซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ ทุกประการฯ ว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 32 วรรคสอง อันเป็นบทลงโทษผู้ใช้เครื่องชั่งโดยรู้อยู่ว่าเป็นเครื่องชั่งที่ถูกแก้เปลี่ยน และมิได้พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานลดเครื่องชั่งซึ่ง เจ้าพนักงานตรวจสอบให้คำรับรองแล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ปรับลงโทษและพิพากษาให้ถูกต้องได้ ส่วนโทษที่ลงแก่จำเลยคงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะต้องห้ามเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ให้ยกเลิก พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัดเดิมทุกฉบับ ซึ่งตาม พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติความผิดฐานใช้หรือมีเครื่องชั่งโดยรู้ว่าเครื่องชั่งนั้นมีความเที่ยงผิดอัตราไว้ในมาตรา 79 ฐานกระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงไว้ในมาตรา 75 และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตาม พ.ร.บ. มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 และมาตรา 32 วรรคหนึ่ง จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งรื้อถอนอาคารอันตราย อาศัย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารของโจทก์เป็นอาคารห้องหนึ่งในอาคารพิพาทซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ปลูกสร้างเป็นอาคารเดียวติดต่อกันจำนวนสิบสองห้อง การที่นายช่างของจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบอาคารพิพาทห้องอื่น ถือได้ว่านายช่างได้ตรวจสอบห้องของโจทก์ด้วยแล้วโดยไม่จำต้องตรวจสอบอาคารของโจทก์ซ้ำอีก ก่อนเกิดเหตุคดีนี้อาคารห้องแรกเคยพังลงมาเมื่อนายช่างของจำเลยที่ 1 พบว่าเสาด้านหน้าของอาคารทั้งสองห้องที่ได้ตรวจสอบหักทรุดลงมา และจะดึงโครงสร้างของห้องอื่นพังลงมาด้วย จึงฟังได้ว่าอาคารของโจทก์มีสภาพที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินแล้วเมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขอาคารตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ซึ่งทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาคารทรุดโทรมเป็นภัยต่อความปลอดภัย เทศบาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
อาคารพิพาทปลูกสร้างมานาน 15 ปีแล้ว และเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น เดิมมี 12 ห้อง ปลูกสร้างเป็นอาคารเดียวติดต่อกันทั้งสิบสองห้อง ก่อนเกิดเหตุคดีนี้อาคารห้องแรกเคยพังลงมา เสาด้านหน้าระหว่างห้องเลขที่ 35/39 กับเลขที่ 35/40 หักทรุดลงมา และเสาด้านหน้าของอาคารพาณิชย์ทั้งสิบเอ็ดห้องแตกร้าว 5 ห้อง อาคารดังกล่าวใช้คานร่วมต่อเนื่องกัน เหล็กที่หล่อคานรับน้ำหนักต่อเนื่องกันเป็นโครงสร้างเดียวกัน หากช่วงกลางพังทรุดลงมาก็จะดึงโครงสร้างของห้องอื่นพังลงมาด้วย เมื่อปรากฏว่าอาคารดังกล่าวทั้งสิบเอ็ดห้อง รวมทั้งห้องพิพาทของโจทก์ได้ปลูกสร้างในคราวเดียวกัน วัสดุที่ใช้เป็นชนิดเดียวกัน ทั้งอาคารห้องเลขที่ 35/39 และเลขที่ 35/40 ได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว จึงไม่จำต้องกำหนดให้นายช่างไปตรวจสอบอาคารพิพาทของโจทก์ซ้ำอีก และฟังได้ว่าอาคารพิพาทของโจทก์มีสภาพที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขอาคารตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีก่อนไม่ตัดสิทธิในการฟ้องคดีใหม่ในมูลกรณีเดียวกัน หากยังอยู่ในอายุความ
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไป ก็มีความหมายเพียงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยทั้งสองอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความหรือกำหนดเวลาฟ้องคดีตามที่กฎหมายกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิการฟ้องใหม่ภายในอายุความ
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไป ก็มีความหมายเพียงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยทั้งสองอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความหรือกำหนดเวลาฟ้องคดีตามที่กฎหมายกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องร้องค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าหน้าที่เวนคืนไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ฟ้องคดีต่อศาล โดยไม่ได้ให้สิทธิแก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี จำเลยทั้งสามฎีกาในทำนองไม่เห็นด้วยกับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ หักเอาไว้อันเนื่องจากมีความเห็นว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นแก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับเป็นการฎีกาโต้แย้งเพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของตนเองหรือฝ่ายตนเอง จำเลยทั้งสามหามีสิทธิฎีกาเช่นนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักร จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือและสอดคล้องกัน
แม้ผู้คัดค้านจะไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าผู้ร้องมิได้มีสัญชาติไทยแต่ภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้ย่อมตกแก่ผู้ร้องที่ต้องนำสืบให้ศาลเชื่อได้ว่าผู้ร้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดในประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าสูติบัตรที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องมิได้อยู่ที่ผู้ร้อง แต่เป็นเอกสารที่นายทะเบียนท้องถิ่นรับรองสำเนาถูกต้องเนื่องจากผู้ร้องไปขอคัดมา แสดงว่าพยานหลักฐานดังกล่าวผู้ร้องมาแสวงหาจากในประเทศไทยเท่านั้น ผู้ร้องไม่ได้แสดงสำเนาทะเบียนบ้านที่อ้างว่าได้ไปค้นแต่ไม่พบซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงไม่พบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าว และผู้ร้องไม่ได้แสดงเอกสารหลักฐานที่แสดงการเรียนในโรงเรียนหลายแห่งที่อ้างถึง ส่วนภาพถ่ายที่อ้างว่าถ่ายเมื่ออายุ 13 ปีนั้น ก็ไม่มีการนำสืบทางนิติเวชให้น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลเดียวกัน พยานของผู้ร้องคงมีแต่พยานบุคคลทั้งสิ้น ซึ่งต่างไม่ได้พบผู้ร้องมาเป็นเวลานานและเบิกความถึงข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่แตกต่างกันและขัดกันหลายประเด็น ดังนั้นพยานหลักฐานของผู้ร้องจึงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เกิดในประเทศ ผู้ร้องจึงไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องค่าเวนคืน และการคืนค่าขึ้นศาลเกินจำนวนที่กำหนด
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอา ป.พ.พ.มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: หากรัฐไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีมิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาทให้แก่โจทก์
of 56