คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กนก พรรณรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ โดยไม่แสดงเหตุผลที่สมควร ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตและงดสืบพยาน
++ เรื่อง ประนีประนอมยอมความ ค้ำประกัน ++
++ (ชั้นฎีกาคำสั่งที่ไม่ให้เลื่อนคดี)
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ จำเลยทั้งสามได้ขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยป่วยบ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งจะมาเบิกความเป็นพยานป่วยบ้าง ติดต่อกับพยานที่จะมาเบิกความไม่ได้บ้าง รวมแล้วจำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นอนุญาตมาแล้วถึง 4 ครั้งครั้งสุดท้ายทนายจำเลยขอเลื่อนคดีโดยแถลงรับรองว่าในนัดหน้าจะนำพยานมาสืบให้ได้หากถึงวันนัดไม่มีพยานมาศาลจำเลยทั้งสามไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีโดยได้กำชับทนายจำเลยว่า ถึงวันนัดหากไม่มีพยานมาสืบถือว่าจำเลยทั้งสามไม่ติดใจสืบพยาน แต่ทนายจำเลยก็ขอเลื่อนคดีอีกและไม่ปรากฏว่ามีพยานจำเลยมาศาลที่ทนายจำเลยกล่าวอ้างว่า พยานจำเลยมาศาลนั้นก็ไม่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการไม่นำพาต่อกำหนดนัดของศาล เป็นการประวิงคดี ประกอบกับในคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยป่วยท้องเสียกะทันหัน ไม่สามารถจะมาศาลได้ จึงขอเลื่อนการพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 5 ถึงแม้ทนายโจทก์ไม่ได้คัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ป่วยจริงและปรากฏตามใบรับรองแพทย์ซึ่งยื่นในภายหลังตามเอกสารท้ายคำร้องของจำเลยทั้งสามว่าทนายจำเลยป่วย แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทนายจำเลยป่วยจริงซึ่งเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ แต่คำร้องขอเลื่อนคดีระบุเพียงว่าขอเลื่อนคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งในคำร้องว่าหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไรเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีและมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการไม่นำพาต่อกำหนดนัดของศาล เป็นเหตุให้ศาลสั่งงดสืบพยานได้
จำเลยทั้งสามได้ขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยป่วยบ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งจะมาเบิกความเป็นพยานป่วยบ้าง ติดต่อกับพยานที่จะมาเบิกความไม่ได้บ้าง รวมแล้วจำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นอนุญาตมาแล้วถึง 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายทนายจำเลยขอเลื่อนคดีโดยแถลงรับรองว่าในนัดหน้าจะนำพยานมาสืบให้ได้ หากถึงวันนัดไม่มีพยานมาศาลจำเลยทั้งสามไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีโดยได้กำชับทนายจำเลยว่า ถึงวันนัดหากไม่มีพยานมาสืบถือว่าจำเลยทั้งสามไม่ติดใจสืบพยาน แต่ทนายจำเลยก็ขอเลื่อนคดีอีกและไม่ปรากฏว่ามีพยานจำเลยมาศาลที่ทนายจำเลยกล่าวอ้างว่า พยานจำเลยมาศาลนั้นก็ไม่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการไม่นำพาต่อกำหนดนัดของศาล เป็นการประวิงคดี ประกอบกับในคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยป่วยท้องเสียกะทันหัน ไม่สามารถจะมาศาลได้ จึงขอเลื่อนการพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 5 ถึงแม้ทนายโจทก์ไม่ได้คัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ป่วยจริงและปรากฏตามใบรับรองแพทย์ซึ่งยื่นในภายหลังตามเอกสารท้ายคำร้องของจำเลยทั้งสามว่าทนายจำเลยป่วย แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทนายจำเลยป่วยจริงซึ่งเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ แต่คำร้องขอเลื่อนคดีระบุเพียงว่า ขอเลื่อนคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งในคำร้องว่าหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีและมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย ความรับผิดทางอาญา และการใช้ดุลพินิจของศาล
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในการวิวาทนั้น จำเลยที่ 1 ไม่พอใจที่ผู้ตายเร่งเครื่องรถจักรยานยนต์ ส่งเสียงดังจึงไปนำอาวุธปืนจากบ้านแม่ยายแล้วยิงขึ้นฟ้า 1 นัด จากนั้นก็พกอาวุธปืนไว้กับตนเองเพื่อรอที่จะต่อสู้กับฝ่าย ผู้ตาย การพาอาวุธปืนและยิงปืนของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควร
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางพกติดตัวอยู่ เมื่อผู้ตายมาถึง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมชกต่อยทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้าทำร้ายผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ยิง เป็นการกระทำโดยเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้ปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันทำร้ายผู้ตายดังกล่าวมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงต้องร่วมรับผิดในผล แห่งความตายที่เกิดขึ้นด้วย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: การรับผิดชอบของผู้ร่วมกระทำความผิด แม้ผู้ตายเสียชีวิตจากบาดแผลจากการถูกยิง
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในการวิวาทนั้น จำเลยที่ 1ไม่พอใจที่ผู้ตายเร่งเครื่องรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดัง จึงไปนำอาวุธปืนจากบ้านแม่ยายแล้วยิงปืนขึ้นฟ้า 1 นัด จากนั้นก็พกอาวุธไว้กับตนเองเพื่อรอที่จะต่อสู้กับฝ่ายผู้ตาย การพาอาวุธปืนและยิงปืนของจำเลยที่ 1จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควร
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางพกติดตัวอยู่ เมื่อผู้ตายมาถึง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมชกต่อยทำร้ายผู้ตายส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 5 เข้าทำร้ายผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1ยิง เป็นการกระทำโดยมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้จะปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันทำร้ายผู้ตายดังกล่าวมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งความตายที่เกิดขึ้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: กำหนดเวลาอุทธรณ์ค่าทดแทนและการมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนการขนย้าย
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือถึงโจทก์เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา แต่ส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยจึงออกประกาศ เพื่อแจ้งความเรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา โดยวิธีปิดประกาศแจ้งความไว้ ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ให้โจทก์ทราบ ตามมาตรา 13 วรรคสี่ และวรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศดังกล่าวจึงไม่ใช่หนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แต่เป็นประกาศแจ้งความเกี่ยวกับหนังสือเรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนอันเป็นหนังสือที่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แจ้งให้โจทก์มาทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 ส่วนกรณีของโจทก์คดีนี้ หนังสือที่ถือได้ว่าเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือ หนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนที่ฝ่ายจำเลยได้ปิดประกาศหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฉบับแรกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 และฉบับที่สองวันที่ 6 ธันวาคม 2536 จึงเป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
แม้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (5) โจทก์มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนการขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ โจทก์จะต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามหนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอเงินค่าทดแทนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนการขนย้ายทรัพย์สินออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากการลาออกและคุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118(3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากวุฒิการศึกษาปลอมและการลาออก
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118 (3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินของผู้เช่าทำนาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อมีการโอนสิทธิ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่าโจทก์คดีนี้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาจึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ เมื่อ ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาให้แก่ผู้ร้องสอด (จำเลยที่ 13) ผู้ร้องสอด ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าว คดีถึงที่สุด ดังนั้น คำพิพากษาในคดีดังกล่าวที่วินิจฉัยว่าโจทก์เช่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ทำนาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 13 ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดี ดังกล่าวย่อมต้องผูกพันด้วย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า โจทก์เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา การที่ น. และ ย. โอนขาย ที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาจากเจ้าของเดิมให้แก่ ฉ. และ ธ. ต่อมา ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 13 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 13 ในคดีนี้ขอซื้อที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิในฐานะผู้เช่าที่นา ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: หลักเกณฑ์การประเมินราคา ค่าทดแทนที่เหมาะสม และดอกเบี้ย
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ฎีกา
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่นำสืบโดยมิได้โต้เถียงกันว่า
++ โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่32941, 32942, 32944 และ 89930 ตำบลสวนหลวง (ที่ 8 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 316 ตารางวา พร้อมด้วยอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์สูง 7 ชั้น 1 หลัง ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าว โดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้บริหารกิจการให้เช่าพักอาศัย
++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1โฉนดเลขที่ 32942 เนื้อที่ 15 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตและลานคอนกรีตบางส่วน ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้ และไม้ยืนต้นอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวางเขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533
++ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 10 ตารางวา ตารางวาละ40,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตบางส่วนเป็นเงิน58,864.52 บาท ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิและกระถางต้นไม้ 37,768.41บาท และไม้ยืนต้น 850 บาท ตามเอกสารหมาย ล.5 และ ล.6 โจทก์ที่ 1ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ และแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ทราบเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2537 ตามเอกสารหมาย จ.10
++ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 4 ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 120,000 บาท ค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสี่แปลงอันมีราคาลดลงตารางวาละ 30,000 บาท ค่าทดแทนรายได้ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ 126 ห้อง ที่ต้องลดค่าเช่าลงห้องละ 2,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 15,120,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มอีก 95,717.07 บาท ตามสำเนาอุทธรณ์เอกสารหมายจ.12 แต่จำเลยที่ 4 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือไม่
++
++ ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท นั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 ตารางวาละ 110,000 บาทแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++ ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารงานอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนครั้งนี้
++ การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาแต่เพียงขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฎีกาของโจทก์ที่ 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่
++ เห็นว่า ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 ที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 นั้นไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ต้องกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา21 (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทน โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 ตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ด้วย
++ นายกลยุทธ มณฑาศวิน ซึ่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และเป็นพยานจำเลยทั้งสี่เบิกความว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ นำราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน เป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 แม้นางสาวณัฐนรี คงจันทร์ ซึ่งเคยรับราชการเป็นหัวหน้างานการประเมินราคาทรัพย์สินสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดินและเป็นพยานจำเลยทั้งสี่อีกคนหนึ่งเบิกความว่า ราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงตารางวาละ 40,000 บาท เป็นข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ได้ไปสำรวจเก็บได้ในปี 2535 ข้อมูลนั้นได้จากการสัมภาษณ์ผู้ขาย นายหน้า จากสถาบันการเงินและจากการประกาศขายที่ดิน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับที่ดินที่นำมาประเมินราคาทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงทำเล ที่ตั้ง การเข้าถึงแปลงที่ดิน รูปแปลนที่ดิน และข้อจำกัดการใช้ที่ดิน ซึ่งเรียกว่าการประเมินรายแปลงก็ตาม จากคำเบิกความของพยานจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวก็ยังไม่ได้ความว่าที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ตารางวาละเท่าใด เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ให้เหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา21 (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมได้
++
++ ข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตั้งอยู่ติดซอยซึ่งเป็นถนนคอนกรีตเชื่อมระหว่างซอยรามคำแหง 2 และซอยรามคำแหง 4ห่างจากถนนรามคำแหงประมาณ 100 ถึง 150 เมตร อยู่ในย่านที่มีความเจริญ บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและสถานที่ราชการต่าง ๆ ที่ดินของนางซาฟียะ เปลี่ยนเดชา อยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ประมาณ 200 ถึง 300 เมตร ไม่มีทางรถยนต์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะ มีแต่เพียงทางเท้า อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 90,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.14 และ จ.15 และภาพถ่ายหมาย จ.17
++ จึงเห็นได้ว่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีสภาพและทำเลที่ตั้งดีกว่าที่ดินของนางซาฟียะ นางสาวณัฐนรีเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ทั้งสองว่า ที่ดินใกล้เคียงหากรถยนต์เข้าถึงจะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ดังนั้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่นางซาฟียะตารางวาละ90,000 บาท สูงกว่าที่กำหนดให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 เมื่อคำนึงถึงพยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 1 นำสืบเกี่ยวกับที่ดินแปลงอื่น ๆราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่ฝ่ายจำเลยกำหนด กับสภาพที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเต็มที่เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารสูง 7 ชั้น และที่ตั้งที่ดินของโจทก์ที่ 1ดังกล่าว ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5)แล้ว
++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมคือ ตารางวาละ 110,000 บาท ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด
++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถูกเวนคืน 15 ตารางวา เป็นเงิน 1,650,000บาท จำเลยที่ 1 ได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินแล้วจำนวน 400,000 บาท จึงต้องชำระเพิ่มอีก 1,250,000 บาท
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลงอีก 500,000 บาท ส่วนจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ที่ดินและอาคารของโจทก์ที่ 1ราคาไม่ลดลงนั้น
++ เห็นว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาหรือราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์นั้น โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อจำเลยที่ 4 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
++
++ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ จำนวนเงิน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
++
++ ส่วนเงินค่าทดแทนที่ดินที่เสื่อมราคาหรือมีราคาลดลงนั้น เห็นว่า ตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 4 ซึ่งเป็นแผนผังแสดงที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตรงกับเลขหมาย 287 ถูกเขตทางพิเศษตลอดด้านทิศตะวันออกซึ่งอยู่ติดถนนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีรูปทรงเปลี่ยนไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และเขตทางพิเศษเป็นระบบทางด่วนยกระดับซึ่งโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางดังกล่าวจากหน้าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ การที่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลืออยู่ใต้ทางพิเศษย่อมทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปกระทบถึงสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และถูกทางพิเศษที่อยู่ด้านบนบดบังทัศนียภาพตามปกติ อีกทั้งต้องรับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องเสียงเครื่องยนต์และฝุ่นละอองจากรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาบนทางพิเศษ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลือจึงมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปในทางด้อยลง มูลค่าของที่ดินย่อมลดลงจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคสาม
++ ที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 มีเนื้อที่ 106 ตารางวาจะต้องถูกเวนคืน 15 ตารางวา ทางด้านหน้าซึ่งใช้เป็นทางเข้าออกอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ การใช้ประโยชน์ของที่ดินที่เหลือจึงไม่สะดวกเหมือนเดิม
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลืออันมีราคาลดลง เป็นเงิน1,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ศาลฎีกาได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไปแล้วตารางวาละ 110,000 บาท ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่91 ตารางวา ขณะที่ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนจึงควรมีราคารวมแล้วเป็นเงิน 10,010,000 บาท ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงจำนวน 1,000,000 บาท คิดเป็นอัตราส่วนเพียงประมาณร้อยละสิบของมูลค่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าว นับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมแล้ว จึงเพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็น 1,000,000 บาทตามที่โจทก์ขอ
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนค่าเช่าที่ลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์เดือนละ 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เพราะโจทก์ต้องปรับค่าเช่าลดลง อันเป็นผลประทบโดยตรงต่ออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้น
++ เห็นว่า ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืนจากการที่สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 มีราคาค่าเช่าลดลงได้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนกรณีนี้ได้
++ ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างอันได้แก่รั้วคอนกรีต ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้และไม้ยืนต้น จำนวนเงิน97,482.93 บาท ที่กำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเกินคำฟ้องหรือคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142 ประกอบมาตรา 246 นั้น
++ เห็นว่า จำเลยทั้งสี่มีนายธีระพล ธีรมหานนท์วิศวกร 7 ซึ่งมีหน้าที่ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นที่ถูกเวนคืน เป็นพยานเบิกความว่า สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่ถูกเวนคืนได้ถ่ายรูปไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เข้าทำการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนแล้ว ก็จะนำมาถอดแบบเพื่อคำนวณราคา เมื่อได้ข้อมูลจากการสำรวจแล้วพยานจะนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณตามดัชนีของราคาวัสดุที่เป็นราคากลางของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วจะทำการปรับราคาขึ้นโดยคิดค่าวัสดุ ค่าแรง กำไร ภาษี ค่าดำเนินการเข้าด้วย รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.6 รั้วคอนกรีตมีการหักค่าเสื่อม 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าวัสดุเนื่องจากสร้างมานาน 7 ปีแล้วส่วนลานคอนกรีตสร้างมานานเกือบ 3 ปี ไม่มีการหักค่าเสื่อม เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ตามคำเบิกความของนายธีระพลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้กระทำโดยมีหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ส่วนโจทก์ที่ 1 เบิกความลอย ๆ แต่เพียงว่า สำหรับสิ่งปลูกสร้าง90,000 บาทเศษ หากมีการสร้างจริงไม่สามารถสร้างได้ในราคาดังกล่าวจะต้องใช้ค่าใช้จ่าย 200,000 บาทเศษ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างประเมินราคาและแจ้งรายละเอียดการใช้จ่ายมาให้ พยานให้ผู้รับเหมาก่อสร้างหลายรายประเมินราคา แต่ละรายประเมินไว้เกินกว่า 200,000บาท ทั้งนั้น จึงขอเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง 200,000 บาท โดยโจทก์ที่ 1ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสืบสนับสนุนคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว
++ ดังนั้น พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1
++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้นั้นเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว
++ เมื่อไม่เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ที่ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ที่ 1 เกินคำขอของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ต่อไป เพราะแม้วินิจฉัยไปก็หาทำให้ผลคำวินิจฉัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
++ อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ใช้ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินโดยไม่ได้กำหนดว่าต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10.75 ต่อปีตามที่โจทก์ที่ 1 ขอด้วยนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจจะเกินคำขอของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลฎีกาจึงเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวไว้ด้วยเพื่อไม่ให้เกินคำขอของโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมายเมื่อคู่ความมาศาลแสดงตัว และการอ่านคำพิพากษาต่อหน้าตัวแทนที่ได้รับมอบฉันทะ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น การที่คู่ความมาศาลหมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งเจ้าพนักงานศาล เพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่า มีคู่ความมาศาลหรือไม่ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงตัวต่อศาลการที่ศาลอ่านคำพิพากษาให้เสมียนทนายโจทก์ฟัง ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบจำเลยแสดงตนเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว ศาลอาจให้จำเลยรับทราบการอ่านโดยไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังอีก
of 56