คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กนก พรรณรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมายเมื่อคู่ความมาศาลแสดงตัว และการอ่านคำพิพากษาต่อหน้าตัวแทนที่ได้รับมอบฉันทะ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น การที่คู่ความมาศาลหมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งเจ้าพนักงานศาล เพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่า มีคู่ความมาศาลหรือไม่ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงตัวต่อศาลการที่ศาลอ่านคำพิพากษาให้เสมียนทนายโจทก์ฟัง ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบจำเลยแสดงตนเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว ศาลอาจให้จำเลยรับทราบการอ่านโดยไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาต้องกระทำต่อหน้าคู่ความที่มาศาล การอ่านให้เสมียนทนายความถือว่าชอบแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา มิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าว เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินความจำเป็นและอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องคุ้มครองสิทธิทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินสองแปลงซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของ ส. และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ขายทอดตลาดแล้ว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีคำสั่งให้งดการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวจะต้องมีเหตุอ้างตามกฎหมายการที่จำเลยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำธนาคารท. ของ ส. เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้เสร็จสิ้นแทนการขายทอดตลาดที่ดิน แต่โจทก์ยังโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าโจทก์ไม่ยืนยันว่าเงินในบัญชีส่วนที่เหลือจากการอายัดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและโต้แย้งต่อศาลชั้นต้นว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก หากเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเงินตามคำขอของจำเลยโดยที่โจทก์ยังมีข้อโต้แย้งย่อมเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 283 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่ชอบ
คดีนี้คงเหลือหนี้ตามคำพิพากษา 6,833,057.50 บาทเศษ แต่ที่ดินทั้งสองแปลงที่ประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ 24,856,000 บาท หากขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการบังคับคดีเกินความจำเป็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 หรือหากได้เงินจากบัญชีเงินฝากมาชำระหนี้โจทก์จนครบก็ไม่ต้องขายทอดตลาดที่ดิน แต่การอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ส. ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติว่าการบังคับคดีโดยวิธีใดจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินความจำเป็นและข้อโต้แย้งเรื่องที่มาของเงินชำระหนี้
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินสองแปลง ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของ ส. และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ขายทอดตลาดแล้ว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีคำสั่งให้งดการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวจะต้องมีเหตุอ้างตามกฎหมาย การที่จำเลยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำธนาคาร ท. ของ ส. เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้เสร็จสิ้นแทนการขายทอดตลาดที่ดิน แต่โจทก์ยังโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าโจทก์ไม่ยืนยันว่าเงินในบัญชีส่วนที่เหลือจากการอายัดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโต้แย้งต่อศาลชั้นต้นว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก หากเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเงินตามคำขอของจำเลยโดยที่โจทก์ยังมีข้อโต้แย้งย่อมเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 283 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่ชอบ
คดีนี้คงเหลือหนี้ตามคำพิพากษา 6,833,057.50 บาทเศษ แต่ที่ดินทั้งสองแปลงที่ประกาศขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ 24,856,000 บาท หากขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการบังคับคดีเกินความจำเป็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 หรือหากได้เงินจากบัญชีเงินฝากมาชำระหนี้โจทก์จนครบก็ไม่ต้องขายทอดตลาดที่ดิน แต่การอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ส. ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติว่าการบังคับคดีโดยวิธีใดจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ชอบที่จะไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเบิกความประจักษ์พยานที่ไม่น่าเชื่อถือและมีพิรุธ ทำให้ขาดหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้
การที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยโดยอาศัยเพียงคำเบิกความของประจักษ์พยานเพียงปากเดียวนั้น คำเบิกความของประจักษ์พยานต้องมีน้ำหนักมั่นคง ประกอบด้วยเหตุผลน่าเชื่อถือควรแก่การรับฟังพอจะลงโทษจำเลยได้
คำเบิกความของ น. ประจักษ์พยานโจทก์ปากเดียวที่เบิกความว่า เห็นจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดย ศ. บุตร น. ก็เห็นเหตุการณ์ด้วยแม้การที่โจทก์ไม่นำ ศ. เข้าเบิกความจะไม่เป็นข้อพิรุธ แต่คำเบิกความของ น. มีข้อพิรุธขัดต่อเหตุผลอยู่หลายตอนคือ น. ยืนยันว่า ผู้เสียหายวางกระเป๋าสตางค์ไว้ที่เขียงสับหมูแต่เมื่อน.ตอบคำถามศ. ว่ากระเป๋าสตางค์ดังกล่าวน่าจะเป็นของจำเลย แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในข้อเท็จจริง จึงไม่ตอบว่าเป็นของผู้เสียหาย และเมื่อ น. เห็นจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ไปไม่ได้ทักท้วง ซึ่งเป็นการขัดต่อวิสัยและเหตุผล เพราะผู้เสียหายเป็นลูกค้าประจำ ส่วน น. มีอาชีพค้าขายตามวิสัยย่อมต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า นอกจากนี้ น. เบิกความเกี่ยวกับธนบัตรที่ผู้เสียหายจ่ายเป็นค่าก๋วยเตี๋ยวว่าเป็นธนบัตรฉบับละ 50 บาท แตกต่างกับผู้เสียหายที่เบิกความว่าเป็นธนบัตรฉบับละ 20 บาท 3 ใบ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ส่วนที่ น. บอกผู้เสียหายว่าจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ผู้เสียหายไป หรือพาเจ้าพนักงานตำรวจไปค้นบ้านจำเลย หาเป็นเหตุผลให้รับฟังว่า น. เห็นจำเลยหยิบเอากระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไป และการจับกุมจำเลยไม่พบกระเป๋าสตางค์หรือของกลางใด ๆ จากจำเลย ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด: บิดาตามกฎหมาย vs. บิดาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส
บิดาตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 4 บัญญัติว่า "บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาญาจักรไทย?" และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับ ผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย" ฉะนั้น การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือไม่ ต้องบังคับตามบทกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาญาจักรไทยจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ผู้ร้องต้องเกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งหมายถึงบิดาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติลาวแม้เกิดจากบิดาผู้มีสัญชาติไทยแต่ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ส่วนหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยมีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่าผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่นและบิดามิได้สมรสกับมารดาย่อมได้สัญชาติไทย เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แต่หามีผลลบล้างกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิด: บิดาต้องเป็นบิดาตามกฎหมาย แม้มิได้สมรสกับมารดา ก็ไม่ได้สัญชาติ
ผู้ร้องเกิดในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติลาว แม้เกิดจากบิดาผู้มีสัญชาติไทยแต่ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10
หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่มีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่า ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่น และบิดามิได้สมรสกับมารดาย่อมได้สัญชาติไทย หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่มีผลลบล้างกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำฟ้องหลายข้อหา: พิจารณาจากมูลหนี้แต่ละข้อหาแยกกันได้
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องคดีนั้นเป็นเกณฑ์ โจทก์ฟ้องจำเลยมา 3 ข้อหา คือให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามหนี้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ตามสัญญากู้เงิน และหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งหนี้ในแต่ละข้อหานั้น จำเลยก่อหนี้ขึ้นกับโจทก์ต่างเวลากัน และมีกำหนดเงื่อนไขในการชำระแตกต่างกัน ดังนั้น หนี้ในแต่ละข้อหาจึงแยกจากกันได้แม้จะได้นำที่ดินจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน ก็เป็นเรื่องของหลักประกันซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และโดยสภาพโจทก์อาจฟ้องรวมกัน 3 ข้อหามาในคำฟ้องเดียวกันได้ แต่ค่าขึ้นศาลโจทก์จะรวม 3 ข้อหาแล้วเสียค่าขึ้นศาลมาในอัตราสูงสุดนั้นหาชอบไม่ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มมาในแต่ละข้อหานั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของเจ้าหน้าที่ในการสอบสวนทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการละเมิด
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ให้เงินและหรือทรัพย์สินอื่นจำนวน12,000,000 บาท ของโจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินเท่ากับรับรองว่าการกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดที่สอบสวนดำเนินการแก่โจทก์ เพราะโจทก์ร่ำรวยผิดปกติ จนกระทั่งมีคำสั่งสำนักงานนายกรัฐมนตรีปลดโจทก์ออกจากราชการนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลมีอำนาจพิจารณาขยายเวลาโดยไม่ต้องไต่สวน เหตุผลไม่พิเศษไม่อนุญาตได้
ศาลมีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 253 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงิน และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 (4) เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 253 วรรคสามได้ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลอีกหรือไม่
ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือนเนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว
of 56